Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนวอเอ๊ะๆ - Coggle Diagram
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนวอเอ๊ะๆ
ประเทศเมียนมาร์
ศิลปะการแสดงถือเป็นส่วนสำคัญในงานบุญของพม่าที่สร้างความบันเทิงแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งศิลปะการแสดงต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการแสดงที่เป็นลักษณะประเพณีนิยม โดยได้รับการพัฒนาปรับเปลี่ยนมาจากการแสดงในราชสำนักพม่าในอดีต ก่อนหน้านั้น ศิลปะการแสดงหลายประเภทได้หยิบยืมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมใกล้เคียง นอกจากนั้นยังมีเรื่องราวนิทานชาดกทางพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อมโยงถ่ายถอดกันมาในภูมิภาคนี้
ตัวอย่างการแสดง
ตัวอย่างการแสดง
โย่วเต หุ่นชักพม่าเป็นศิลปะที่นิยมในราชสำนักพม่า เป็นการแสดงที่สื่อถึงนัยยะสำคัญทางการเมือง เรื่องราวต่างๆ ในราชสำนักที่ไม่สามารถพูดถึงอย่างตรงไปตรงมาได้ ในอดีตผู้ชักหุ่นต้องเป็นชายเท่านั้น นักเล่นหุ่นชักหลายคนได้รับการยกย่องให้เป็นถึงขุนนาง แต่ต่อมาในภายหลังเริ่มมีการถ่ายทอดความรู้หุ่นชักพม่าให้แก่ผู้หญิง เพื่อสืบทอดวิธีการชักหุ่นพม่าตามรูปแบบที่มีมาแต่โบราณ นอกจากผู้ชักหุ่นแล้วยังมีนักร้องและนักดนตรีวงปี่พาทย์ เสียงและคารมของนักร้องนับเป็นจุดเด่นและปัจจัยวัดความสำเร็จของคณะหุ่นชัก การแสดงหุ่นชักได้แพร่กระจายจากราชสำนักในช่วงปลายสมัยราชวงศ์คองบองไปสู่พม่าตอนล่าง หลังจากที่อังกฤษยึดครอง
สมัยพระเจ้าจิงกูจา (พ.ศ. ๒๓๑๙–๒๓๒๔) ทรงเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมการแสดงรามเกียรติ์ ซึ่งในภาษาพม่าเรียกกันว่า “ชาดก” (Yama Zatdaw) และยังเป็นผู้นำเพลงของพม่าที่แต่งขึ้นใหม่มาประกอบการแสดงแทนของเดิมของชาวกรุงศรีอยุธยาที่เริ่มเสื่อมความนิยม ไม่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงในเพลง เชื่อว่าการแต่งกายก็เริ่มเปลี่ยนแปลงในสมัยนี้ด้วย
นางสาวนิศวรา งดงาม เลขที่15 ม.4/14
ประเทศกัมพูชา
ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดังกล่าว คือ ละครยี่เก
ตัวอย่างการแสดงพื้นบ้าน
ละครยี่เก เป็นการแสดงที่เก่าแกมาแต่โบราณของกัมพูชา ซึ่งต้นกำเนิดของละครยี่เก ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ครูบาอาจารย์ด้านนาฎศิลป์ของกัมพูชาว่า มีต้นกำเนิดมาจากแหล่งใดกันแน่ ซึ่งแบ่งข้อสันนิษฐานถึงแหล่งกำเนิด ไว้สามแห่ง
สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของ สมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ชาวกัมพูชายกย่องให้เปรียบ เสมือนพระราชมารดาด้านนาฏศิลป์ ดังข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ระบ่าขแมร์ ซึ่งแปลมาจากภาษาเขมรโดยตรง ⠀ ⠀ ⠀ ⠀ ⠀ ⠀
นางสาวพิมพ์นารา อรรถานุรักษ์ เลขที่13 ม.4/14
ประเทศบรูไน
การแสดงของบรูไนมีมากมาย ทั้งในส่วนที่เป็นของชาวมลายู ซึ่ง
คล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย และการที่เป็นของชนพื้นเมือง
ตัวอย่างการแสดงพื้นบ้าน อาลุส ญูวา ดินดัง เป็นการฟ้อนรำของชาวบรูไนตามแบบประเพณีโบราณ โดยมีเพลงประกอบ และมักแสดงในพิธีมงคลสมรส โดยนักเต้นรำทั้งชายและหญิงเป็นผู้แสดงการฟ้อนรำและร้องเพลงประกอบไปด้วย
มาเรีย” หรือ เมเรีย ไอเรส วัย 24 ปี เธอเป็นเจ้าของ รางวัลมากมาย รวมถึงนักร้องหญิงยอดเยี่ยม Pelangi Awards เป็นเจ้าของหลายเพลงดังรวมถึง Bisik Hati ซึ่งติดอันดับหนึ่งในหลายชาร์ด เนิด จากเวทีคริสตัล ไอดอล ซึ่งเป็นการประกวดร้องเพลง ในพิธีเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพของสุลต่านแห่ง บรูไนดารุสซาลาม ตอนนั้นเธอยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม แต่ความสามารถของเธอนั้นยิ่งใหญ่เกินตัว หลังจาก นั้น มาเรีย ก็มีงานชุดแรก ในปี 2005 ก่อนจะส่งเพลง ดังออกมาให้แฟนๆ ได้ฟังอย่างต่อเนื่อง โดย แนวทางที่เธอถนัดคืออาร์แอนด์บีและบัลลาด
นางสาวปิยธิดา ชูฤทธิ์ เลขที่23 ม.4/14
ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซียนับได้ว่าเป็นดินแดนพหุวัฒนธรรม เนื่องจากความหลากหลายหลายทางชาติพันธุ์ อันประกอบไปด้วย 3 กลุ่มหลัก คือ มลายู จีน และอินเดีย ดังนั้นศิลปะการแสดงในมาเลเซียจึงมีความหลากหลายไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และเรื่องราวในการแสดงเป็นของตนเอง
ตัวอย่างการแสดง
การเต้นรำยอเก็ต (Joget ) เป็นการแสดงที่มีความนิยมในมาเลเซีย ลักษณะการเต้นมีชีวิตชีวาเคลื่อนไหวไปพร้อมกับจังหวะดนตรีที่สนุกสนาน ศิลปะการแสดงประเภทนี้มีต้นกำเนิดจากการเต้นรำพื้นเมืองของชาวโปรตุเกส ที่กล่าวถึงรัฐมะละกาเมืองท่าการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนการรำมะหยง (Mak Yong) เป็นการแสดงที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวของความรัก ร้องเพลงละคร และละครตลก เป็นการแสดงขึ้นชื่อของรัฐกลันตัน
บุคคลสำคัญ
นักร้องหญิง Rosario Ninih Bianis ปัจจุบันอายุ 25 ปี เกิดและเติบโตที่เมืองตัมบูนัน รัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย เธอเริ่มเข้าสู่วงการนี้อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2014 จากการเข้าร่วมการประกวดร้องเพลง Sugandoi สำหรับนักร้องรุ่นใหม่ที่รัฐซาบะฮ์ แล้วคว้ารางวัลอันดับ 1
นายชุติภาส วัยวัฒน์ เลขที่1 ม.4/14
ประเทศลาว
การแสดงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ซึ่งพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วย และการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆมีทั้งนาฏศิลป์ในราชสำนัก และนาฏศิลป์พื้นบ้าน เช่นหมอลำ หนังตะลุง หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ เป็นแหล่งของนาฏศิลป์แบบดั้งเดิมในราชสำนักและนาฏศิลป์ที่ได้รับอิทธิพล
ตัวอย่างการแสดงพื้นบ้าน ลำลาวหรือหมอลำ เป็นการแสดงดนตรีพื้นบ้านของลาวและอีสานของไทย มีนักร้องหรือผู้เล่าเรื่องและแคนเป็นองค์ประกอบเป็นการโต้ตอบกันผ่านโคลงกลอน หรือการร้องที่มีสัมผัสคล้องจองระหว่างนักร้องชายและหญิง การแสดงดำเนินไปด้วยท่ารำที่หลากหลายผสมกับมุขตลกต่างๆ อันเกิดจากปฏิภาณไหวพริบของผู้ร้อง และการหยอกเย้ากันระหว่างผู้แสดงและผู้ชม
บุคคลสำคัญ ดาวเวียง บุตรนาโค เป็นนักเขียน กวี และนักแต่งเพลงลูกทุ่งลาวอันโด่งดัง และยังเป็นศิลปินแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย ตัวอย่างผลงานการประพันธ์เพลงของเขาที่ทำให้ศิลปินเหล่านี้มีชื่อเสียงได้แก่ สาวดงโดก, สาวตะเกียวน้อย, สาวศรีเมือง, หญิงคนนั้นแม่นไผ, ผู้ชายปลายแถว,กำแพงเงิน, น้ำตาลูกผู้ชาย, โดยสารสายใต้ ฯลฯ บางครั้งดาวเวียงถูกเรียกว่าเป็น ครูสลาเมืองลาว ⠀ ⠀ ⠀
นางสาวปิยธิดา ชูฤทธิ์ เลขที่23 ม.4/14
อินโดนีเชีย
อินโดนีเซียเป็น ประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางการแสดงอันเก่าแก่และมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยมีพื้นฐานของ วัฒนธรรมมุสลิมและฮินดูปรากฏอยู่เด่นชัดในศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ เด่นชัดของอินโดนีเซียและยังคงเป็นศิลปะประจาชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นภาษาชวา
ตัวอย่างการแสดง
วาหยัง (Wayang) คือการเชิดหนัง ทั้งนี้การแสดงหนังของอินโดนีเซียมีอยู่หลายประเภท เรียกรวมๆ ว่า "Wayang Kulit" คำว่า Wayang มาจากศัพท์ชวาว่า Baying แปลว่า เงา ส่วนคำว่า Kulit แปลว่า หนัง การแสดงหนังที่เก่าแก่และมีมาแต่เดิมเรียกว่า วาหยังปูรวะ (Wayang Perwa) นิยมแสดงเรื่องมหาภารตะและรามายณะ แต่เนื้อเรื่องมีความแตกต่างจากของอินเดีย มีโครงเรื่องซับซ้อนและตัวละครเพิ่มขึ้นเช่น ปะนะกะวัน หรือ ตัวตลก จะเป็นผู้ช่วยของตัวเอกให้กระทำการสำเร็จ เนื้อหาการแสดงมักอ้างอิงข้อธรรมะหรือแสดงให้เห็นว่าธรรมะย่อมชนะอธรรม
บุคคลสําคัญ: อาติกาห์ ฮาซิโฮลิน (อังกฤษ: Atiqah Hasiholan; เกิด 3 สิงหาคม ค.ศ. 1982) เป็นนักแสดงชาวอินโดนีเซีย เธอได้ยกย่องแม่ของเธอ รัตนา ซารัมพีท นักเขียนบท ละคร ศิลปินผู้ทรงอิทธิพลและผู้กำกับ Satu Merah Panggung (One Red Stage) ว่า เป็นผู้ที่ทำให้เธอรู้จักโลกละครเวทีตั้งแต่ยังเด็กๆ เธอเริ่มต้นอาชีพนักแสดงหลังจากสำเร็จ การศึกษาจากมหาวิทยาลัย ในปีค.ศ.2006
นายชุติภาส วัยวัฒน์ เลขที่1 ม.4/14
ประเทศไทย
การแสดงพื้นบ้าน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และรักในคุณค่าในศิลปะไทยในแขนงนี้ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และพร้อมที่จะช่วยสืบทอด จรรโลง และธำรงไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
แบ่งเป็นภูมิภาคดังนี้ ๑.การแสดงพื้นบ้านของภาคเหนือ จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น
๒.การแสดงพื้นบ้านของภาคกลาง โดยธรรมชาติภูมิประเทศเป็นที่ราบ เหมาะสำหรับอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพ เช่น เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลิเก ลำตัด กลองยาว เถิดเทิง เป็นต้น
๓.การแสดงพื้นบ้านของอีสาน ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติ ผี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น
๔.การแสดงพื้นบ้านของใต้ ประชากรมีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้ การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น
คุณครูเฉลย ศุขะวณิช เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๗ เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและออกแบบนาฏศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ซึ่งมีความรู้ความสามารถสูงในกระบวนท่ารำทุกประเภท ทางราชการได้มอบหมายให้เป็นผู้วางรากฐานจัดสร้างหลักสูตรการเรียนนางเฉลย ศุขะวณิช สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำและระบำ ระบำกินนร ระบำโบราณคดี ๔ ชุด คือ ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี และเชียงแสน ฟ้อนแคน เซิ้งสัมพันธ์ ระบำฉิ่งธิเบต ระบำกรับ รำกิ่งไม้เงินทองถวาย (บทประพันธ์ของ น.ส. ปราณี สำราญวงศ์) เซิ้งสราญ ระบำสวัสดิรักษา ระบำมิตรไมตรีซีเกมส์ ระบำศรีชัยสิงห์ ระบำขอม
นางสาวนิศวรา งดงาม เลขที่15 ม.4/14
ประเทศเวียดนาม
ศิลปวัฒนธรรม ของเวียดนามส่วนใหญ่มีอิทธิพลของจีนและฝรั่งเศสผสมผสาน โดยมีเทศกาลที่สำคัญๆ ได้แก่ เทศกาลเต็ด หรือ ตรุษญวน เป็นเทศกาลสำคัญทางศาสนา เรียกว่า "เต็ดเหวียนดาน" หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และศาสนาพุทธ
ตัวอการแสดงพื้นบ้าน"ฮัตบอย" (Hat Boi) หรืออุปรากรจีนตามแบบฉบับเวียดนาม ฮัต-ร้องเพลง และ บอย-การแสดงท่าทาง หมายถึงการแสดงที่มีการขับร้องและลีลาท่าทางที่เป็นแบบแผนมาแต่โบราณ ฮัตบอยพัฒนารูปแบบเป็นของเวียดนามมากขึ้น เช่น คำร้องแปลเป็นภาษาเวียดนาม ประพันธ์เพลงและทำนองขึ้นใหม่ หรือผสมผสานประวัติศาสตร์เวียดนามมาแสดง แต่ส่วนประกอบอื่นๆ ยังคงลักษณะของจีนไว้ด้วย
นาย Hoa Prox หรือ Nguyen Thai Hoa เป็นนักร้องแถวหน้าของวงการเพลงอิเล็กทรอนิกส์ประเทศเวียดนาม ที่มีความพยายามในการโปรโมทวัฒนธรรมเวียดนามผ่านโครงการที่ทำร่วมกับศิลปินต่างชาติ ร่วมกับการตามอัพ เดทเทรนด์ใหม่ของวงการดนตรีโลก
นางสาวพลอยพรรณ จิตร์บรรจง เลขที่42 ม.4/14
ประเทศสิงคโปร์
เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนาวัฒนธรรมที่มีมากที่สุดคือวัฒนธรรมจีนเช่นเชิดสิงโต,งิ้วหุ่นกระบอกและมีมลายูมาผสมเช่นบังสาวัน
ตัวอย่างการแสดง ที่สุดของ การแสดง เชิดสิงโตสิงคโปร์ Lion Dance นำเสนอการแสดงเชิดสิงโตแบบฉบับ สิงคโปร์แท้ๆ ด้วยการโชว์ชุด “ค่ายกล” เป็นศิลปะการแสดงจีนขนานแท้ ผสมผสานกึ่งกายกรรม นักแสดงสวมบทบาทเสมือนสิงโตต้องเป็นผู้ฟันฝ่าด่านอุปสรรคต่างๆ เพื่อนำความสำเร็จและชัยชนะ มามอบให้กับผู้ชม เป็นนัยยะแอบแฝงคติ และหลักธรรมถึงความสำเร็จได้ดี รังสรรค์ผ่านทักษะลีลาของนักแสดง ผสมกับอรรถรสของเสียงกลองและฉาบ อันตื่นเต้น เร้าใจ อีกหนึ่งการแสดงคุณภาพใน สังกัดที่สุดโชว์
บุคคลสำคัญ: ซุนเขียนจือ ราชินีเพลงสิงคโปร์ ซุนเยียนจือ เกิดวันที่ 23 ก.ค. 1978 เป็นชาว สิงคโปร์โดยกำเนิด จีนกลางก็พูดคล่อง ภาษา อังกฤษก็เก่งกาจ ความสามารถด้านดนตรีโดดเด้ง ตั้งแต่เด็ก พรสวรรค์เรื่องการใช้เสียงมาฉายตอน เธอเรียนมหาวิทยาลัยนันยาง เทคโนโลจิคอล เธอมี โอกาสได้รู้จักกับอาจารย์สอนดนตรี “ลีเวยซอง” ที่ ประสิทธิ์ประสาทวิชาดนตรีให้เธอแบบไม่มีกั๊ก
นางสาวพลอยพรรณ จิตร์บรรจง เลขที่42 ม.4/14
ประเทศฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมที่แตกต่างของชาติตะวัน
ออกและตะวันตกได้อย่างลงตัว เนื่องจากมีความผูกพันกับวัฒนธรรมตะวันตกได้รับถ่ายทอดมาจากสเปนและสหัฐอเมริกา ศิลปะการแสดง การละเล่น และเทศกาลงานประเพณีของฟิลิปปินส์จึงมีทั้งแบบพื้นบ้านพื้นถิ่นของชาวมลายู ผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและความเชื่อทางคริสต์ศาสนา
ตัวอย่างการแสดง คาริโนซา(Carinosa) เป็นระบำพื้นเมืองที่ได้อิทธิพลมาจากสเปน คาริโนซา แปลว่า คู่รัก หรือที่รัก เวลาเต้นจะจับคู่หญิง – ชาย ผู้หญิงจะใส่ชุด Maria Clara และถือพัด หรือผ้าเช็ดหน้า ร่ายรำแสดงท่าทางเขินอาย บทเพลงมรเนื้อหาชมความงามของหญิงสาว
บุคคลสำคัญ เลอา ซาลองกา' (Lea Salonga) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวฟิลิปปินส์ มีชื่อเสียงจากการ รับบทเป็น คิม หญิงสาวชาวเวียดนามจากละครเวที เวสต์เอนด์ ของ คลอดด์-มิเชล โชนเบิร์ก, อัลเลน บูบลิล และ ริชาร์ด มอลต์บี เรื่อง มิสไซง่อน ในปี 1989 ซึ่งในเวลาต่อมา เธอได้รับบทเดียวกันนี้ใน ละครบรอดเวย์ที่นิวยอร์ก คู่กับโจนาทาน ไพรซ์ บทบาทในละครเวทีเรื่องนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลโทนี และรางวัล โอลิเวียร์
นางสาวพิมพ์นารา อรรถานุรักษ์ เลขที่13 ม.4/14
ความหมายของการแสดงพื้นบ้าน
การแสดงพื้นบ้าน เป็นการแสดงที่แสดงออกถึงการสืบทอดทางศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบทอดกันต่อ ๆ มาอย่างช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน การแสดงจะออกมาในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม อาชีพ และความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอุปนิสัยของประชาชนในท้องถิ่น จึงทำให้การแสดงพื้นเมือง มีลีลาท่าทางที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และพักผ่อนหย่อนใจ
นางสาวพิมพ์นารา อรรถานุรักษ์ เลขที่13 ม.4/14