Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ การรักษาโรคเบื้องต้น, นศพต.สุปรียา พงษ์สวรรค์ เลขที่ 68 -…
แนวคิด หลักการ
การรักษาโรคเบื้องต้น
(Problem-Oriented Medical Record : POMR)
การเขียนบันทึกรายงานแบบวิธีแก้ปัญหา
Data base ข้อมูล
Problem list รายการปัญหา
Initial plan การวางแผนขั้นต้น
Process note บันทึกความก้าวหน้า : SOAP note
Summary การประมวลข้อมูลสรุป
ความหมาย
คือ การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดรักษาเบื้องต้น
เพื่อแก้ปัญหาการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย บรรเทา
ความรุนแรง ให้ผู้ป่วยพ้นภาวะความเจ็บป่วย
วิกฤตรวมถึงการปะเมินผลการรักษาโรคเบื้องต้น
ข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้น
12 สิงหาคม 2544 จัดทำ
ข้อกำหนดการรักษาเบื้องต้น การทำหัตถการ การให้ภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐาน และ
การให้บริการวางแผนครอบครัว และ
คู่มือใช้ยาที่จำเป็นในการปฏิบัติโดยความร่วมมือจากวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
22 พฤษภาคม 2545
สภาการพยาบาล ได้ดำเนินการเสนอร่างข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคฯ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และได้ปรับปรุงร่างข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมภาคีวิชาชีพได้ร่วมลงนามให้ความเห็นชอบทั้ง 4 สภาวิชาชีพ
31 ตุลาคม 2545
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตาม ข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2545
7 มิถุนายน 2550
สภาการพยาบาลได้ออกข้อบังคับว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การทำหัตฤการ และการรักษาโรคเบื้องต้น
26 มิถุนายน 2550
สภาการพยาบาล ปรับปรุงแนวทางการจัดการฝึกอบรมให้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและจัดสัมมนาสถาบันผู้ผลิตผู้ใช้และผู้ปฏิบัติ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการพัฒนาคู่มือข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2551 ใช้เป็นแนวปฏิบัติเผยแพร่ทั่วประเทศ
27 มกราคม 2564 (Finally)
สภาการพยาบาลได้ออกข้อบังคับว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การทำหัตฤการ และการรักษาโรคเบื้องต้น
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยแยกโรค
ใช้ข้อมูลจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย ที่ได้
นำไปวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีข้อมูลสนับสนุนและมีหลักฐานทางการแพทย์ นำมาพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นข้อวินิจฉัย กระบวนการวินิจฉัยแยกโรคในเบื้องต้น จะต้องทราบ
อาการ (symptoms) คือ ความผิดปกติที่ผู้ป่วยรู้สึก/บอก และ
อาการแสดง (signs) คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
และสามารถตรวจพบอาการผิดปกติของผู้ป่วย
ระยะเวลาของโรค + ลักษณะจำเพาะของโรค + อวัยวะที่เกิดโรค + สาเหตุของโรค
การรักษาโรคเบื้องต้น
การรักษาตามอาการ (symptomatic treatment)
เช่น ปวดศีรษะ ให้ยาแก้ปวด น้ำมูกใส ให้ยาลดน้ำมูก
การรักษาเพื่อประคับประคอง (supportive treatment)
เป็นการรักษาเพื่อให้รอดปลอดภัยก่อนค้นหาคำวินิจฉัย เช่น ถ้ามาด้วยช็อก วัด BP ไม่ได้ ต้องให้ IV ก่อนเพื่อให้ BP ขึ้น
การรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment) เป็นการรักษที่
จำเพาะกับสาเหตุและทราบแน่ชัดว่าป่วยจากสาเหตุอะไร มีแนวทาง
(quideline) ที่กำหนดการรักษาเป็นมาตรฐานแน่นอน การรักษาสาเหตุของโรค การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรค การรักษา precipitating factor ที่ทำให้ปัญหานั้นเพิ่มมากขึ้น
การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ (palliative treatment) เป็นการรักษา เพื่อไม่ให้ทุกข์ทรมนและมีความสุขก่อนที่จะเสียชีวิต
ความเป็นมา
การรักษาโรคเบื้องต้น เริ่มในปี พ.ศ. 2513
เน้นการกระจายบริการสาธารณสุขให้ถึงประชากร ที่อยู่ในชนบท มุ่งเน้นความเป็นธรรมทางสังคม ให้บริการสาธารณสุข ทั้งด้านการรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค พร้อมทั้งส่งเสริมสุขภาพ
การบันทึกรายงานกรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุ
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลการบาดเจ็บ
ข้อมูลการตรวจรักษา
การวินิจฉัย
วาดภาพตามตำแหน่งที่บาดเจ็บ
ชื่อผู้รักษา : เขียนให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการติดตาม
วัตถุประสงค์ของการรักษาโรคเบื้องต้น
ผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคอย่างถูกต้องเหมาะสม
ลดความรุนแรงของอาการ/โรค ป้องกันความพิการ และการเสียชีวิต
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทาง
นศพต.สุปรียา พงษ์สวรรค์ เลขที่ 68