Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
closed fracture both bone left leg (กระดูกขาซ้ายหัก), ภาพ, ภาพ, ภาพ, ภาพ,…
closed fracture both bone left leg
(กระดูกขาซ้ายหัก)
ข้อมูลกรณีศึกษา
-ผู้ป่วยชายไทย อายุ 37 ปี
-อาการสำคัญ refer มาจากโรงพยาบาลด่านช้าง จากการประสบอุบัติเหตุ หน้าแข้งขาซ้ายบวมผิดรูป ปวด ก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง
-ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน 4 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ขับรถจักรยานยนต์ชนกับรถพ่วงข้าง ไม่สลบ หน้าแข้งขาซ้าย บวมผิดรูป รถกู้ภัยนำส่งโรงพยาบาลด่านช้าง และตรวจ x-ray พบว่ากระดูกขาซ้ายแตกหัก จึงนำส่งมา-รักษาตัวที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช-ไม่มีโรคประจำตัว
การรักษากระดูกหัก
การรักษาทั่วไป
ได้แก่ การรักษาภาวะช็อกการเสียเลือดกระดูกหักอาจเกิดร่วมกับการบาดเจ็บของอวัยวะอื่นๆ ต้องรักษาภาวะอื่¬นๆ
ทีคุกคามต่อชีวิต
การรักษาเฉพาะที่
2.Reduction
จัดกระดูกทีหักให้เข้าที มี 2 แบบ
Closed reduction คือจัดกระดูกให้เข้าทีโดยไม่ผ่าตัด
Open reduction คือการผ่าตัดเข้าไปถึงบริเวณที่กระดูกหักแล้วจัดให้กระดูกให้เข้าที่
Recognition
คือการวินิจฉัยให้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนจากอาการและอาการแสดงและการเอกซเรย์จะทําให้เห็นลักษณะการหักของกระดูกได้ชัด
3.Retention (immobilization)คือการดามหรือการตรึงกระดูกที่จัดการให้เข้าที่แล้วให้อยู่เช่นนั้นต่อไปจนกว่ากระดูกที่หักติดกัน
การดามหรือการยึดตรึงกระดูกทีหักจากภายนอก (External fixation)
การเข้าเฝือกปูน (cast) การใส่เฝือกกาบ
(slab) การใส่เครืองดึง (traction)
การดามหรือการยึดตรึงกระดูกที่หักไว้ภายในร่างกาย (Internal fixation of fracture) ด้วยโลหะชนิดต่างๆ
การผ่าตัดเข้าไปจัดกระดูกที่หักให้เข้าที่แล้วยึดหรือตรึงกระดูกหักด้วยวัสดุต่างๆ
ไว้ภายในร่างกายเรียกว่า Open reductionand internal fixation (ORIF)
ผู้ป่วยไม่ได้ทำการผ่าตัด ทำการรักษาโดยเข้าเฝือก long leg slap ที่ขาข้างซ้าย แทนการผ่าตัด
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะวินิจฉัยกระดูกหัก โดยตรวจบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บและเอกซเรย์กระดูกผู้ ป่วย อาจต้องใส่เฝือกอ่อนดามกระดูกไว้ก่อนประมาณ 10-14 วัน แล้วมาเข้ารับการเอกซเรย์อีกครัง เพื่อตรวจดูว่ามีกระดูกหักหรือไม่ ผู้ที่เกิดกระดูกหักบริเวณข้อมือ สะโพก หรือประสบภาวะกระดูกหักล้า อาจต้องเข้ารับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (CT scan) หรือตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) หรือสแกนกระดูก เพื่อดูว่าเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบกระดูกนั้นเกิดความเสียหายหรือไม่
ผลตรวจทางห้อง x-ray
อาการและอาการแสดงของกระดูก
อาการแสดงทั่วไป
ที่สำคัญคือการเสียเลือดอาจเกิดภาวะช็อก (shock) ได้หรือเจ็บปวด
2.อาการแสดงเฉพาะที่บริเวณกระดูกหัก
Tenderness กดเจ็บตรงตําแหน่งที่กระดูกหัก
Swelling หรือ hematoma บวมและช้ำเลือด
Loss of functionไม่สามารถใช้งานได้
ผู้ป่วยมีหน้าแข็งขาซ้ายผิดรูป ปวด บวมแดง กดเจ็บ ไม่สามารถขยับขาได้หลังจากประสบอุบัติเหตุ
สาเหตุของการเกิด
ประสบอุบัติเหตุ เช่น รถชน ส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส
ถูกตีหรือได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง
ตกลงมาจากที่สูง
ตกลงมากระแทกพื้นที่แข็งมาก
ได้รับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหว เช่น เล่นกีฬาที่ต้องลงน้ำหนักมากเกินไป ซึ่งทำให้เท้า ข้อเท้า หน้าแข้ง หรือสะโพก เกิดกระดูกปริได้
ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนหรือมะเร็งบางชนิด ส่งผลให้มวลกระดูกเสื่อมลงและหักได้ง่าย หากได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยจากการท้ากิจกรรมหรือประสบอุบัติเหตุ ก็สามารถประสบภาวะกระดูกหักที่ร้ายแรงได้
ในกรณีของเด็กที่กระดูกหัก อาจเกิดจากการถูกทารุณกรรม
ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุจากการบับรถจักรยานยนต์ชนกับรถพ่วงข้าง
พยาธิสภาพ
ภาวะที่กระดูกได้รับแรงกระทำมากเกินกว่าที่กระดูกจะรับได้ และก่อให้เกิดการหักขึ้น โดยการหักอาจเป็นเพียงรอยร้าว (crack) หรือหักเคลื่อนออกจากกันก็ได้ (displacement) ทั้งนี้ ขึ้นกับความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม และมีรอยช้ำบริเวณที่มีกระดูกหัก ในกรณีที่มีกระดูกหักเคลื่อนออกจากกันอาจสังเกตุเห็นการวิกลรูปในบริเวณดังกล่าวได้ ลักษณะการวิกลรูปจะขึ้นกับทิศทางของแรงที่มากระทำ และแรงดึงของกล้ามเนื้อโดยรอบ (deforming force) เช่น กระดูกต้นขาหักบริเวณ sub-trochanteric จะมีลักษณะการวิกลรูปของกระดูกเหนือรอยหักแบบ flexion กับ external rotationจากกล้ามเนื้อ iliopsoas และ abduction จากกล้ามเนื้อGluteus medius เป็นต้น
ข้อวิจฉัยการพยาบาล
อาจเกิดภาวะแผลกดทับเนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
อาจเกิดภาวะการติดเชื้อทางเดินปัสสาวรเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางเดินปัสสาวะ
ปวดเนื่องจากมีอาการกระดูกขาซ้ายหัก
เสี่ยงต่อพลัดตกหกล้มเนื่องจากเคลื่อนร่างกานได้น้อยและจากการดื่มสุรา
พร่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเนื่องจากสามารถช่วยเหลือตนเองได้น้อย
Compartment syndrome
การประเมิน Neurovascular Status7Ps & Blanching test
Pain ปวด : Ischemic pain
Pallor ซีด
Puffiness บวม ตึง
Paresthesia ชา
Polar เย็น/ อุณหภูมิ
Paralysis อ่อนแรง
Pulselessness คลำชีพจรไม่ได้
เป็นภาวะที่มีความดันภายในช่องใดๆของร่างกายสูงกว่าปกติ ซึ่งมีผลทำให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ ขัดขวางเลือดดำไม่ให้ไหลกลับได้ดีทำให้อวัยวะนั้นๆ บวมมากขึ้น เกิดความดันสูงมากขึ้น จนกระทั่งขัดขวางเลือดแดงไม่ให้มาเลี้ยงอวัยวะนั้นๆ จึงทำให้อวัยวะนั้นๆขาดเลือด และเน่าตาย
อาการและการแสดง
-Severe Pain โดยเฉพาะเวลาถูกสัมผัส เคลื่อนไหว
-อาการปวดไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดกลุ่ม Opioid
-ชีพจรเบา หรือทั้งสองข้างไม่เท่ากัน-Pallor ซีด หรือคล้ำ
-Edema/ tight บวม / ตึง
-Loss of sensation (paresthesia) ชา อ่อนแรง
การพยาบาล
การพยาบาลเมื่อสงสัย Compartment syndrome
-รีบคลายอุปกรณ์ที่มีการบีบรัดออก: คลาย Elastic bandage, ถ้าใส่เฝือกให้ split เฝือก หรือ Bivalve เฝือก (ลด compartment pressure 50-85%)
-วางอวัยวะนั้นให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
-งดน้ำงดอาหาร, ดูแลให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
-เตรียมผ่าตัดเพื่อทำ Fasciotomy