Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครรำ - Coggle Diagram
ละครรำ
ปรุงขึ้นใหม่
ละครเสภา
-
-
-
-
-
ลักษณะวิธีการแสดง
เสภาทรงเครื่อง คือ การขับเสภาแล้วมีร้องส่งให้ปี่พาทย์รับต่อไม่มีกำหนดเพลงจนจวนจะหมดเวลาจึงส่งเพลงส่งท้ายอีกเพลงหนึ่ง
เสภารำ กระบวนการเล่นมีการขับเสภา และเครื่องปี่พาทย์ บางครั้งก็ใช้มโหรีแทน มีตัวละครออกแสดงบทตามคำขับเสภา และมีเจรจาตามเนื้อร้อง
ที่มา
กำเนิดมาจากการเล่านิทาน เมื่อการเล่านิทานเป็นที่นิยมแพร่หลาย ทำให้เกิดการปรับปรุงแข่งขันกันขึ้น ผู้เล่าบางท่านจึงคิดแต่งเป็นกลอน ใส่ทำนองมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ "กรับ" จนกลายเป็นขับเสภาขึ้น
-
-
-
ละครดึกดำบรรพ์
ดนตรี
ใช้ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เพื่อความไพเราะนุ่มนวล มีการผสมวงดนตรีขึ้นใหม่เอาสิ่งที่มีเสียงแหลมเล็กออกเหลือไว้แต่เสียงทุ้มต่อมาเรียก “วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์”
-
เรื่องที่แสดง
ที่เป็นบทละครบางเรื่องบางตอนพระนิพนธ์ ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง คาวีตอนสามหึง อิเหนาตอนไหว้พระ สังข์ศิลป์ชัยภาคต้นกรุงพานชมทวีป รามเกียรติ์ อุณรุฑ มณีพิชัย
เพลงร้อง
เพลงร้อง จากบทละครโดยปรับปรุงตัดคำว่า"เมื่อนั้น" "บัดนั้น" ออกโดยให้ตัวละครรำใช้บทเพื่อให้เข้าใจว่าใครเป็นผู้พูดและคัดบทเจรจามาร้องให้ตัวละครร้องตอบโต้กันเอง
ที่มา
เป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 กำเนิดขึ้น ณ บ้านเจ้าพระยาเทเวศร์ลงศ์วิวัฒน์ โดยแสดง ณ โรงละครที่ตั้งชื่อว่า “โรงละครดึกดำบรรพ์” เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ได้เดินทางไปยุโรป และมีโอกาสได้ชมละครโอเปร่าซึ่งท่านชื่นชอบมาก เมื่อกลับมาจึงคิดทำละครโอเปร่าให้เป็นแบบไทย จึงเล่าถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ก็โปรดเห็นว่าดีในการสร้างละครดึกดำบรรพ์
ผู้แสดง
ใช้ผู้หญิงล้วน ผู้ที่จะได้รับคัดเลือกให้แสดงละครดึกดำบรรพ์จะต้องมีความสามารถพิเศษด้วยคุณสมบัติ 2 ประการคือ มีเสียงไพเราะและรูปร่างงดงาม
การแต่งกาย
เหมือนอยางละครในที่เรียกว่า “ยืนเครื่อง” นอกจากบางเรื่องที่ดัดแปลงเพื่อความเหมาะสม และให้ตรงกับความเป็นจริง
ลักษณะวิธีการแสดง
ผู้แสดงต้องร้องเองรำเองไม่มีบรรยายกิริยาของตัวละครได้มีการปรับปรุงการแสดงความเป็นไปในเนื้อเรื่องมักแสดงตอนสั้นๆ ให้ผู้ชมละครชมแล้วอยากชนต่ออีก
-
-
ละครพันทาง
-
-
การแต่งกาย
แต่งกายตามลักษณะเชื้อชาติ เช่น แสดงเกี่ยวกับเรื่องมอญ ก็จะแต่งแบบมอญ แสดงเกี่ยวกับเรื่องพม่า ก็จะแต่งแบบพม่า
-
-
ลักษณะวิธีการแสดง
ดำเนินเรื่องด้วยคำร้อง เนื่องจากเป็นละครแบบผสม ดังนั้นบางแบบเหมือนละครนอก ละครใน บางแบบส่วนบทที่เป็นคำพูดตัวละครจะร้องเองเหมือนละครร้อง ส่วนท่าทีการร่ายรำมีทั้งดัดแปลงมาจากชาติต่างๆผสมเข้ากับท่ารำของไทย
เพลงร้อง
ใช้เพลงภาษา นำสำเนียงของภาษาต่างๆมาแทรกไว้เพื่อให้ผู้ฟังทราบว่า เป็นเพลงสำเนียงอะไร และตั้งชื่อเพลงบอกภาษานั้นๆ เช่น มอญดูดาว จีนเก็บบุปผา ลาวชมดง
ที่มา
แต่เดิมเป็นละครนอก ละครใน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธำรงไปยุโรปจึงนำแบบละครยุโรปมาปรับปรุงละครนอกให้มีแนวทางที่แปลกออกไป ละครได้รับความนิยมมากในปลายรัชกาลที่ ๕ และสิ่งที่ท่านได้สร้างทำให้เกิดละครพันทางในวงการละครของไทย
-
-
ดั้งเดิม
ละครใน
-
เพลงร้อง
ปรับปรุงให้มีทำนอง และจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียง และลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง
ดนตรี
ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก แต่เสียงไม่เหมือนกันจะต้องบรรเลงให้เหมาะสมกับเสียงผู้หญิงที่เรียกว่า "ทางใน"
ที่มา
เกิดจากการฝึกหัดนางในให้เป็นผู้แสดงในพระราชพิธีในพระราชวังเป้นเครื่องราชูปโภคของกษัตริย์ เรียกว่า ละครผู้หญิงของหลวง หรือละครใน ราชสำนัก
-
-
-
ผู้แสดง
เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครในจนถึง ร.4 ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย
-
-
-
-
-