Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ, นางสาวอมรรัตน์ สุวะมาตย์ A6380047 - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 1
(พ.ศ.2504-2509)
ปัญหาสุขภาพ
เด็กป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ไอกรน โปลิโอ
ป่วยด้วยโรคจากปัญหาสุขาภิบาล
สิ่งแวดล้อม
ป่วยและตายด้วยโรคติดต่อจากความยากจนและความไม่รู้
ไข้ทรพิษ
อหิวาตกโรค
อัตราตายของมาดาและทารกสูง
ประชาชนในชนบทได้รับการดูแลสุขภาพไม่ทั่วถึง
นโยบายสำคัญ
ปรับปรุงสถานบริการ
เพิ่มบุคลากรเพื่อให้การบำบัดที่คลอบคลุมทั่วถึงยิ่งขึ้น
แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 2
(พ.ศ.2510-2514
)
ปัญหาสุขภาพ
มีลักษณะคล้ายกับแผนฯ 1
ป่วยและตายด้วยโรคติดต่อจากความยากจนและความไม่รู้
นโยบายสำคัญ
เร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณะสุข
ขยายการบริการสู่ประชาชนในชนบท
แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 3
(พ.ศ.2515-2519)
ปัญหาสุขภาพ
ประชากรเพิ่มอย่างรวดเร็ว
โรคติดต่อต่างๆและโรคจากพฤติกรรมไม่ถูกต้อง
อัตราตายของมารดาและทารกยังคงสูงอยู่
พ.ศ. 2518 มีนโยบายการให้บริการรักษาพยาบาลฟรี แก่ผู้รายได้น้อยเป็นครั้งแรก
พ.ศ 2517 มีการกระจายอำนาจออกไปสู่ส่วนภูมิภาคแทนการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง
นโยบายสำคัญ
มุ่งเน้นการอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว ปรับปรุงและขยายการบริการรักษา
รักษาพยาบาลฟรีแก่ผู้มีรายได้น้อย
มีการพัฒนาความร่วมมือของประชาชนในเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายการ
มีความแตกต่างจากสองแผนแรกอย่างเห็นได้ชัด
แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 4
(พ.ศ.2520-2524)
ปัญหาสุขภาพ
มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค
ประชาชนในชนบทยังมีสุขภาพไม่ดีเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
นโยบายสำคัญ
เริ่มมีโรงพยาบาลประจำอำเภอ
มีโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2521
พ.ศ. 2520 มีการอบรม ผสส. และ อสม. เป็นครั้งแรกใน
แผนการพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 5
(พ.ศ. 2525-2529)
อาศัยแนวคิดการพัฒนาสาธารณสุขที่มีจุดเด่น 5 ประการ
ยึดจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุ “สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543”
การใช้สาธารณสุขมูลฐานเป็นมาตรการหลักในการพัฒนาสาธารณสุข
การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
การมุ่งดำเนินงานแบบผสมผสานระหว่างสาขามากขึ้น
การให้ความสำคัญแก่พื้นที่เป้าหมายและประชากรกลุ่มอายุที่มีปัญหาสาธารณสุข หรือมีอัตราการ
เสี่ยงต่อโรคสูงกว่ากลุ่มอื่น
ปัญหาสุขภาพ
อัตราป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและโรคระบาดลดลง
โรคที่สอดคล้องกับการขยายตัวของการคมนาคมและการย้ายถิ่นเพิ่มขึ้น
โรคจากสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชุมชนแออัดเขตเมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ขาดการศึกษาวิจัย
นโยบายสำคัญ
เน้นความเป็นธรรมของการบริการสาธารณสุขแก่ประชาชนเร่งดำเนินการสาธารณสุขมูลฐาน
ยกฐานะสำนักงานผดุงครรภ์ให้เป็นสถานีอนามัย
ใช้เป้าหมาย “สุขภาพดีถ้วนหน้า 2543
แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 6
(พ.ศ.2530-2534)
เริ่มแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพ
ให้ความสำคัญกับปัญหาสาธารณสุขใหม่คือเอดส์ อุบัติเหตุ หัวใจ มะเร็ง สุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพ
โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีแนวโน้มลดลง
โรคของประเทศที่พัฒนาแล้วในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเริ่มมีมากขึ้น
โรคจากการประกอบอาชีพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสถานประกอบการ
มีการระบาดของโรคเอดส์เนื่องจากความเบี่ยงเบนในพฤติกรรมทางเพศ
นโยบายสำคัญ
ขยายสถานบริการสาธารณสุขให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย
ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการสาธารณสุข
การรณรงค์ควบคุมโรคเอดส์
เริ่มแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพ
แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 7
(พ.ศ.2535-2539)
มีโครงการเร่งรัดเพื่อบรรลุเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าก่อนสิ้น พ.ศ. 2543
ปัญหาสุขภาพ
ปัญหาโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานเพิ่มมากขึ้น
โรคเอดส์แพร่กระจายมากขึ้นและเกิดกับประชาชนทุกกลุ่ม
โรคไม่ติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้องมีแนวโน้มสูงขึ้น
โรคเรื้อรัง โรคจิตประสาท ความเครียด มีอัตราสูงขึ้น
นโยบายสำคัญ
เน้นการพัฒนาสถานีอนามัยให้เป็นจุดเริ่มของงานสุขภาพดีถ้วนหน้า
เน้นความพยายามในการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับคนไทยทุกคน
แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 8
(พ.ศ.2540-2544)
เน้น “คน” เป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา
ปัญหาสุขภาพ
ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น
การบริโภค
การออกกำลังกาย
การขับขี่ยานพาหนะ
ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มของโรคที่เกิดจากความเสื่อมและโรคเรื้อรังต่างๆเพิ่มขึ้น
สถานบริการไม่เพียงพอต่อการรับผู้ป่วยใน
โรคเอดส์ สารเสพติด
นโยบายสำคัญ
เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนในด้านสุขภาพโดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพ
เน้นความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพด้วยบริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
เน้นการพัฒนาสุขภาพในการประกอบอาชีพโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม
นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมแก้ปัญหาสาธารณสุข
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9
(พ.ศ. 2545-2549)
เน้นสุขภาพคือสุขภาพวะ
พัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ
ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับสุขภาพ เป็น “ระบบสุขภาพพอเพียง”
ภาพลักษณ์ของสังคมและระบบสุขภาพที่พึงประสงค์เริ่มกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ
ปัญหาสุขภาพ
.ปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อ
ปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคที่มีสาเหตุทางพฤติกรรม
ปัญหาสุขภาพจิต สารเสพติด อาหารเสริมผลิตภัณฑ์ความงามที่ขาดคุณภาพ
ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
การกระจายบุคลากรด้านสุขภาพไม่เท่าเทียม
นโยบายสำคัญ
สร้างสุขภาพเชิงรุก ให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ในการพัฒนาสุขภาพ (สร้างนำซ่อม)
พ.ศ.2545 ได้มีการประกาศใช้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อขยายบริการสุขภาพให้ครอบคลุม
เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรวมพลังสร้างสุขภาพ โดยการรณรงค์ 5 อ ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อโรคยา
พ.ศ.2547 มีการประกาศนโยบายและเป้าหมายเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) ภายในปี2550
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10
(พ.ศ.2550-พ.ศ.2554)
ปัญหาสุขภาพ
ยังคงมีปัญหาเหมือนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
มีความทุกข์ในระบบบริการทางการแพทย์
ปัญหาด้านการเงิน การคลังด้านสุขภาพ
ขาดแคลนกำลังคนด้านสาธารณสุข
เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารการแพทย์ยังไม่ทันสมัย
นโยบายสำคัญ
ปรัชญานำทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” ยึดทางสายกลาง มีความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ การมีเหตุมีผล มีระบบภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโลก
วิสัยทัศน์ระบบสุขภาพไทย “มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง”
สร้างสุขภาพดีตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11
(พ.ศ.2555-พ.ศ.2559)
ปัญหาสุขภาพ
โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุมากขึ้น วัยเด็ก และวัยแรงงานลดลง
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก
ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานเปลี่ยนแปลงไป
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
การก่อการร้าย ความไม่สงบทางการเมือง
นโยบายสำคัญ
มุ่งพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี
สร้างหลักประกันและจัดบริการที่ครอบคลุมเป็นธรรม สร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยคุกคาม ให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น
มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560 – 2564)
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วของประเทศไทยอันเนื่องมาจากการลดลงของภาวะเจริญพันธ์หรือการเกิดน้อยลง
และภาวการณ์ตายลดลง
เป้าประสงค์ (Goals)
ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเจ็บป่วยและตายจากโรคที่ป้องกันได้ลดลง
คนไทยทุกกลุ่มวัยมีสุขภาวะที่ดีลดการตายก่อนวัยอันควร
เพิ่มขีดความสามารถของระบบบริการสุขภาพทุกระดับ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ อย่างสะดวก เหมาะสม
มีบุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแลประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม
มีกลไกการอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ 4 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1: เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาและสร้างคสามเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ
นางสาวอมรรัตน์ สุวะมาตย์ A6380047