Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงในระบบหายใจในผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงในระบบหายใจในผู้สูงอายุ
สรีระวิทยาของระบบหายใจ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ (respiratory muscle strength)
ผลจากการถดถอยของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุ ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบหายใจ
ท่อลมส่วนปลาย(peripheral airways)และถุงลม(alveoli)
พบการเสื่อมสภาพของเส้นใยอิลาสติก (elastic fibers) บริเวณท่อลมส่วนปลายและถุงลมโดยเฉพาะบริเวณท่อถุงลม (alveolar duct) โดยไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากความไม่สมดุลของเอนไซม์และตัวยับยั้งเอนไซม์ ทำลายโปรตีน (protease-antiprotease) หรือการลดลงของ เส้นใยคอลลาเจนชนิด cross-linked ที่เป็นโปรตีนโครงสร้างหลักของเน้ือเยื่อเกี่ยวพัน เป็นเหตุให้โครงสร้างดังกล่าวถูกยืดให้โป่ง ขยาย (hyperinflation) และสูญเสียความสามารถในการหดกลับ (elastic recoil) คล้ายกับพยาธิสภาพท่ีเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคถุงลม โป่งพอง (emphysema) เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นกับผู้ สูงอายุน้ีจะไม่พบการทำลายผนังถุงลมและการอักเสบของท่อลม
หลอดเลือดปอด (Pulmonary vessels)
พบการหนาตัว (thickness) และสูญเสียความยืดหยุ่น (distensibility) ของหลอดเลือดแดงในปอด (pulmonary artery) จากการสะสมเส้นใยคอลลาเจนท่ีมีความยืดหยุ่นต�่าบริเวณ ผนังหลอดเลือดช้ันกลาง (tunica media) การเพ่ิมขึ้นของพังพืด (fibrosis) และการสะสมพลาค (atheromatous plaques) ภายใน ผนังหลอดเลือดชั้นใน (tunica intima) ท�าให้เกิดภาวะหลอดเลือด แดงในปอดแข็งตัว (pulmonary arterial stiffness) มีแรงต้าน (pulmonary arterial resistance) และความดันภายในหลอด เลือด (pulmonary arterial pressure) เพิ่มสูงข้ึนได้ง่าย
กล้ามเนื้อหายใจ (respiratory muscles)
พบการลดลงของพื้นที่หน้าตัด (cross sectional areas) ของ
กลุ่มกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครง (in tercostal muscles) โดยเฉพาะ
กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงชั้นในและชั้นในสุด (internal and
innermost intercostal muscles) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อช่วยในการ
หายใจออกแรง (accessory expiratory muscles) ในขณะที่
กล้ามเนื้อกะบังลม (diaphragm) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหลักของการ
หายใจ กลับไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดของพื้นที่หน้า
ตัด แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของผนังทรวงอกจะมีผลต่อรูปร่างโค้ง
(dome shape) และแรงดันสูงสุด (maximal transdiaphrag-
matic pressure) ของกล้ามเนื้อดังกล่าวก็ตาม" สาเหตุของภาวะ
ถดถอยของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุนั้น อาจเกิดได้จากการฝอ
ลีบและสูญเสียใยกล้ามเนื้อชนิดหดตัวเร็ว (fast twitch muscle
fiber) การเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มไมอีลินของเส้นประสาทฟรีนิก
(phrenic nerve)' หรือการเสื่อมของรอยต่อระหว่างปลายประสาท
สั่งการและเซลล์กล้ามเนื้อ (degeneration of junctional folds)
ซึ่งล้วนทำให้การเหนี่ยวนำกระแสประสาทสั่งการของกล้ามเนื้อหายใจ