Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม Social learning theory ของ Bandura - Coggle…
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
Social learning theory
ของ Bandura
ประวัติ ศาสตราจารย์ เเบนดูรา
เกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศเเคนาดา
ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมลัยบริติช โคลัมเบีย
ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตเเละปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ทางจิตวิทยาคลินิกจากมหาวิทยาลัยไอโอวา
เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
รับตำเเหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสเเตมฟอร์ด
การทดลอง เเบนดูราได้เเบ่งเด็กออกเป็น ๓ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๒ มีตัวเเบบที่ไม่เเสดงพฤติกรรมก้าวร้าว โดยให้เด็กเล่นตุ๊กตาใกล้ ๆ กับตัวเเบบ เเต่ตัวเเบบไม่เเสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
กลุ่มที่ ๓ ไม่มีตัวเเบบเเสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง
กลุ่มที่ ๑ ให้เห็นตัวอย่างความก้าวร้าวจากตัวเเบบที่มีชีวิต โดยให้เด็กเเละตัวเเบบเล่นตุ๊กตาประมาณ ๑-๑๐ นาที เเล้วตัวเเบบลุกขึ้นต่อย เตะ ทุบ นั่งทับ ฯลฯ ตุ๊กตาที่ทำด้วยยางเเล้วเป่าลม
ผลการทดลองพบว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวเเบบเเสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะเเสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เด็กจะเเสดงพฤติกรรมเหมือนกับที่สังเกตจากตัวเเบบการทดลอง
สรุป
เน้นความสำคัญของการเรียนรู้เเบบสังเกตหรือเลียนเเบบจากตัวเเบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น คุณครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ การ์ตูน การเรียนรู้
โดยการสังเกตประกอบด้วย ๒ ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา เเละขั้นการกระทำ ตัวเเบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล มีทั้งตัวเเบบในชีวิตจริงเเละ
ตัวเเบบที่เป็นสัญลักษณ์
เเนวคิดเเละทฤษฎี
เเบนดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดย การสังเกตหรือการเลียนเเบบ
เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนเเบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร เเละจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย
เเบนดูรา จึงสรุปว่าการเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมในการเรียนการสอน
๓.ตัวเเบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเเบบที่ดีได้ในบางกรณี ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจเเละเลียนเเบบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ดีมากกว่าเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ไม่ดี เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณเเละโทษของการเลียนเเบบพฤติกรรมดังกล่าว
๔.การใช้สื่อต่าง ๆ เป็นตัวเเบบในการจูงใจให้นักเรียนได้ใช้ปัญญาในการคิดพิจารณา
๒.ใช้การสอนเเบบสาธิต เป็นการเเสดงให้นักเรียนเห็นเเละปฏิบัติตาม โดยใช้หลักการเเละขั้นตอนของทฤษฎีทางปัญญาสังคมทั้งสิ้น
๕.การให้ตัวอย่างเพื่อการฝึกพูดเเละเขียนด้วยสำนวนหรือคำคม ด้วยตัวเเบบช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการพูดเเละเขียนได้
๑.ครูจะเป็นต้นเเบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด จึงต้องคำนึงอยู่เสมอการเรียนรู้โดยการสังเกตเเละเลียนเเบบจะเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้นครูจึงต้องเเสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อเป็นเเบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน
๖.เเหล่งการเรียนรู้ ด้วยการเลียนเเบบมีจำนวนมากมายที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวเเบบ มี ๔ กระบวนการ
๒. การเก็บจำ (Retention) ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตเเละไปเลียนเเบบได้ถึงเเม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม
๓. การกระทำ (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถเเสดงออกมาเป็นการกระทำหรือเเสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวเเบบ
๑.การตั้งใจ (Attention) ความตั้งใจเเละใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มีความตั้งใจเเละใส่ใจการเรียนรู้ก็จะไม่เกิดขึ้น
๔. การจูงใจ (Motivation) เเรงจูงใจของผู้เรียนที่จะเเสดงพฤติกรรม เหมือนตัว เเบบที่ตนสังเกต เนื่องจากความคาดหวังว่า การเลียนเเบบจะนำประโยชน์มาให้
คุณสมบัติของผู้เรียน
สามารถสร้างรหัสหรือกำหนดสัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บไว้ในความจำระยะยาว
ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า
สามารถเรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการเเสดงพฤติกรรมเหมือนตัวเเบบ
ตัวเเบบ เเบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑.ตัวเเบบที่เป็นบุคคล ( Live Model ) เป็นตัวเเบบที่บุคคลได้มีโอกาสสังเกตเเละปฏิสัมพันธ์โดยตรง เช่น บุคคลในอาชีพที่ชื่นชอบ
๒.ตัวเเบบที่เป็นสัญลักษณ์ ( Symbolic Model ) เป็นตัวเเบบที่เสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ ได้เเก่ การ์ตูน ตัวละคร คติประจำใจ ฯลฯ