Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 ไม้ก่อสร้างและเกณฑ์การออกแบบ - Coggle Diagram
บทที่ 2
ไม้ก่อสร้างและเกณฑ์การออกแบบ
ส่วนต่าง ๆ ของอาคารไม้
ระแนง (roof batter)
สะพานหนู (tilting piece)
แป (purlin)
จันทัน
จันทันใหญ่ (principle rafter)
จันทันพราง (common rafter)
ตะเฆ่สัน (hip rafter)
ตะเฆ่ราง (vallet rafter)
อกไก่ (ridge)
สะพานรับจันทัน (bridge)
ขื่อคัด (collar beam)
ดั้ง (king post)
ตุ๊กตา (queen post)
ค้ำยัน (strut)
ขื่อ (tie beam)
อะเส (girt)
พื้นไม้ (floor plank)
ตงไม้ (floor joist)
คานไม้ (beam)
เสาไม้ (column)
การแปรรูปไม้
การเลื่อยขนาน
เป็นการเลื่อยผ่าขนานกับแกนของลําต้นและมีระนาบค่อนข้างขนานกับเส้นรัศมี ซึ่งมักเรียกว่า ไม้ผ่าสี่
การเลื่อยสัมผัส
เป็นการเลื่อยผ่าขนานกับแกนของลำต้นแต่ระนาบของการเลื่อยค่อนข้างตั้งฉากกับเส้นรัศมี ซึ่งมักเรียกว่าไม้ผ่าแบบธรรมดา
ชั้นคุณภาพของไม้แปรรูป
มาตรฐานไม้ก่อสร้างชั้น 2
ตาไม้ ต้องเป็นขนาดเฉลี่ยของเส้นผ่านศูนย์กลางของตาทั้งหมดที่อยู่บนช่วง 1/4 ของความยาวคานและต้องไม่เกินความกว้างของไม้ที่มีตานั้น
รอยแตกร้าว ความกว้างของรอยแตกร้าว วัดที่ปลายไม้ตามแนวดิ่ง
เสี้ยนขวาง มุมของเสี้ยนขวางต้องไม่ชันกว่า 1 ใน 15 กับแนวขอบไม้ทางยาว
กระพี้ ต้องมีเนื้อที่บนไม้ทั้ง 4 หน้าไม่เกิน 15% หรือต้องอาบน้ำยากันผุก่อนใช้
ไม้ก่อสร้างชั้น 1
ยอมให้มีตำหนิได้ครึ่งหนึ่งของไม้ก่อสร้างชั้น 2
ไม้ก่อสร้างชั้น 3
มรตำหนิได้หนึ่งเท่าครึ่งของไม้ก่อสร้างชั้น 2
การเลือกใช้ไม้สำหรับงานก่อสร้าง
กำลังแข็งแรง ทนทาน
ทนทานต่อดินฟ้าอากาศและต่อแมลง
ตำหนิตามธรรมชาติ เช่น ตาไม้ กระพี้
ความสวยงามทั้งลวดลายและสี
ความยากง่ายต่อการทำงาน
การยืดหรือหดตัว และไม่บิดห่อตัว
การรักษาเนื้อไม้ วิธีการใช้สารมี 2 วิธี
แบบให้ซึมผ่านเข้าเนื้อไม้ตามธรรมชาติ
แบบใช้ความดัน
การทำให้ไม้ทนไฟ
ทาหรืออัดน้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ชนิดการป้องกันไฟ
ขนาดของไม้แปรรูป
ขนาดเดิมหรือขนาดใช้เรียก
ขนาดของไม้ที่ยังไม่ได้ไส เป็นขนาดที่รวมทั้งสวนที่หายไป
ขนาดแต่งไสเรียบร้อยแล้ว
เป็นขนาดมาตรฐานที่กำหนดว่า ถ้าหน้าไม้ของไม้ขนาดที่ ใช้เรียก ไม่เกินกว่า 6'' แสดงว่าไม้แต่งไสเรียบร้อยแล้ว มีขนาดเล็กลงได้ไม่เกิน 3/8''
ไม้ประกบ
การประกับไม้ทำได้ 2 แบบ
ประกับทางนอน นำไม้กระดานมาวางเรียงซ้อนกันขึ้นไป
ประกับทางตั้ง นำไม้กระดานมาวางเรียงชิดติดกัน
ข้อดีของไม้ประกับ
แข็งแรงกว่าไม้จริง
มีขนาดและรูปร่างไม่จำกัด
ควบคุมปริมาณความชื้นในไม้ได้
มีความทนไฟมากขึ้น
สามารถเลือกใช้ไม้ให้เหมาะสมกับแรงกระทำได้
ขั้นตอนของการออกแบบ
ศึกษาประเภทของโครงสร้าง
ศึกษารูปตั้ง รูปตัดและรูปแปลนชั้นต่างๆ
เลือกวิธีการออกแบบโครงสร้าง
เลือกชนิดของไม้ให้เหมาะสม
วิเคราะห์ส่วนของโครงสร้าง
ออกแบบโครงสร้างส่วนนั้น
ออกแบบรอยต่อต่างๆ
หน่วยแรงที่ยอมให้สำหรับไม้ก่อสร้าง
หน่วยแรงอัดขนานเสี้ยนที่ยอมให้ = 0.75 (หน่วยแรงดัดที่ยอมให้)
หน่วยแรงอัดขวางเสี้ยนที่ยอมให้ = 0.20 (หน่วยแรงดัดที่ยอมให้)
หน่วยแรงเฉือนขนานเสี้ยนที่ยอมให้ < 0.10 (หน่วยแรงดัดที่ยอมให้)
หลักเกณฑ์การออกแบบโครงสร้างไม้
มาตรฐานหรือข้อบัญญัติ
วิศวกรผู้ออกแบบต้องออกแบบส่วนของโครงสร้างให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้
มาตรฐาน NDS ของสหรัฐอเมริกา
มาตรฐานอาคารไม้ของว.ส.ท. ของประเทศไทย
การออกแบบโดยวิธี ASD
คือ หน่วยแรงที่เกิดขึ้นบนรูปตัดของโครงสร้างเมื่อรับน้ำหนักบรรทุกใช้งาน (actual stress : f) ต้องมีค่าไม่เกินกว่าค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ (allowable stress : F)
น้ำหนักบรรทุกในโครงอาคาร
น้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead Load) เป็นน้ำหนักของส่วนโครงสร้างเองที่ประกอบรวมเป็นโครงอาคาร
น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load) ประกอบด้วยน้ำหนักบรรทุกที่กระทำในแนวดิ่งและกระทำทางด้านข้างของอาคาร
น้ำหนักบรรทุกกระแทก เกิดจากน้ำหนักบรรทุกจรที่กระทำต่อโครงสร้างอย่างทันทีทันใด