Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา - Coggle Diagram
การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา หมายถึง การดําเนินงานให้ได้มาซึ่งทรัพยากรทั้งระดับนโยบาย และระดับสถานศึกษา ทั้งที่เป็นเงิน และที่ไม่ใช่เงิน ได้แก่ บุคคล/ภูมิปัญญา องค์ความรู้วิชาการ แรงงาน วัสดุครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น ที่สนับสนุนการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ เกิดกับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
การจัดประเภทของทรัพยากรการศึกษาตามแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อการดําเนินกิจกรรม ทางด้านเศรษฐกิจ แบ่งทรัพยากรการศึกษาออกเป็น ๔ ประเภท (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๗) ได้แก่
๑) ทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกระดับ
๒) ทรัพยากรทางกายภาพ ได้แก่ ที่ดิน (Land) เครื่องอํานวยความสะดวก (Facilities) เครื่องมือ (Equipment) วัสดุ หรือพลังงาน (Materials and/or energy)
๓) ทรัพยากรการเงิน ได้แก่ เงิน และสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถใช้แทนเงินได้
๔) ข้อสนเทศ ได้แก่ ข้อมูล (Data) ความรู้(Knowledge) ละมุนภัณฑ์ (Software) อุปกรณ์
ความสําคัญของทรัพยากรทางการศึกษา
๑.ทําให้สถานศึกษาดําเนินการเรียนการสอนหรือพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และได้ผลตามความ มุ่ง หมายของการจัดการศึกษา
๒. เป็นการช่วยส่งเสริมงานวิชาการให้มีคุณภาพ
๓. เป็นการช่วยส่งเสริมการดําเนินงานด้านอื่นๆในสถานศึกษา
๔. เป็นตัวกลางหรือตัวกระตุ้นที่ทําให้กิจกรรมของสถานศึกษาดําเนินไปได้
๕. มีบทบาทต่อกิจกรรมหรือการดําเนินภารกิจของสถานศึกษาทั้งด้านของปริมาณและคุณภาพ
วิธีการ/ขั้นตอนการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
ขั้นตอนและวิธีการระดมทรัพยากร แบ่งเป็น
๑) ขั้นก่อนดําเนินการ เป็นการวางแผนและเตรียมการทั้งด้านโครงสร้างภายในผู้รับผิดชอบ การจัดทํา โครงการ ประชาสัมพันธ์และประสานการดําเนินงาน
๒) ขั้นการดําเนินงาน เป็นการดําเนินการแผนงาน โครงการและกิจกรรมที่กําหนด เช่น การจัด ทอดผ้าป่า การจัดแสดงผลงานของนักเรียน การจัดแสดงดนตรี การแข่งขันกีฬา การขอรับบริจาคโดยตรง ฯลฯ ๓) ขั้นหลังการดําเนินการ เป็นการยกย่องประกาศเกียรติเกียรติคุณ สรุป รายงานและเผยแพร่ผลงานการ ระดมทรัพยากรให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทราบในวงกว้าง
วิธีการจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา สถานศึกษาควรมีวิธีการจัดการดังนี้
๑) แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทํางานรับผิดชอบแบบมีส่วนร่วมทั้งบุคลากรภายในโรงเรียน และ บุคคลภายนอกผู้ร่วมระดมทรัพยากร เช่น ผู้แทนสมาคมครูและผู้ปกครอง ตัวแทนชมรมศิษย์เก่า หรือ ผู้แทนเครือข่ายการระดมทรัพยากร
๒) จัดทําทะเบียน และบัญชีทรัพยากรเพื่อการศึกษา หากทรัพยากรเป็นเงิน ให้มีการนําฝาก ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน
๓) กําหนดวิธีการรับ – จ่าย โดยยึดระเบียบการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณของรัฐ เพื่อความ โปร่งใสและตรวจสอบได้
๔) จัดสรรการใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของการระดมทรัพยากร เช่น ทุนการศึกษา การจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ การปรับปรุงหรือจัดสร้างอาคารสถานที่ การสนับสนุนกิจกรรมกีฬา การสนับสนุนโครงการอาหาร กลางวัน ฯลฯ ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการ/คณะทํางาน
๕) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์อย่างต่อเนื่อง โดย
คณะกรรมการ/คณะทํางาน และผู้บริหารสถานศึกษา
๖) จัดทําสรุปและรายงานผลการใช้จ่ายทรัพยากรเพื่อการศึกษาแก่คณะกรรมการสถานศึกษา และ ผู้สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นทางการและไม่เป็นทางการ