Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การออกแบบกราฟิกเพื่อการเรียนการสอน - Coggle Diagram
การออกแบบกราฟิกเพื่อการเรียนการสอน
บทที่ 4 อินโฟกราฟิก (Infographic)
4.1 ความหมายเเละองค์ประของอินโฟกราฟิก
การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศ ในลักษณะของข้อมูลและกราฟิกที่อาจเป็นลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ ฯลฯ ที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลารวดเร็วและชัดเจน
4.2 รูปแบบของอินโฟกราฟิก
รูปแบบของ อินโฟกราฟิกมีทั้งหมด 9 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 รูปแบบแรกอินโฟกราฟฟิคแบบอธิบายข้อมูล
เหมาะ สำหรับการนำเสนอบทความ งานเขียนมาเล่าผ่านอินโฟกราฟฟิค
เช่นถ้ามีตัวเลขก็ควร นำเสนอผ่านกราฟแบบต่างๆ หรือถ้ามีตัว หนังสือก็สามารถสื่อสารด้วยภาพประกอบ หรือไอคอน
เป็นต้น
รูปแบบที่ 2 อินโฟกราฟฟิคแบบแจกแจงข้อมูล
เป็นอินโฟกราฟิกที่เน้นการนำเสนอข้อมูล โดยแยกย่อยออกเป็นส่วนๆหรือเป็นข้อ ๆ อินโฟกราฟิกแบบนี้เหมาะกับการใช้อธิบายส่วนประกอบของบางสิ่งบางอย่าง
รูปแบบที่ 3 อินโฟกราฟฟิคแบบเทียบข้อมูล
เป็นอินโฟกราฟิกที่แสดงการเปรียบเทียบข้อมูล 2 ชุดข้อมูล หรือของสิ่งหนึ่งกับของอีกสิ่งหนึ่ง หรือมากกว่านั้นก็ได้
เพื่อให้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
รูปแบบที่ 4 อินโฟกราฟฟิคแบบแสดงสถิติหรือผลสำรวจ
อินโฟกราฟิกประเภทนี้มักจะแสดงผลสถิติหรือผลสำรวจอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา และมักจะมีตัวเลขในการแสดงข้อมูลจำนวนมากๆหรือ เปอร์เซ็นต์เป็นส่วนประกอบของข้อมูลอยู่ด้วย
รูปแบบที่ 5 อินโฟกราฟฟิคแบบแสดงลำดับขั้นตอนของข้อมูล
อินโฟกราฟิกรูปแบบนี้เป็นการอธิบายข้อมูลทีละขั้นตอนเหมาะกับการเล่ากระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานบางอย่างที่ต่อเนื่องกัน
ปแบบที่ 6 อินโฟกราฟฟิคแบบแสดงความเชื่อมโยงของข้อมูล
อินโฟกราฟิกรูปแบบนี้นะคะเป็นอินโฟกราฟิกที่ใช้แสดงข้อมูล ซึ่งเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน แต่ไม่ได้มีลักษณะเป็นลำดับขั้นตอน
รูปแบบที่ 7 อินโฟกราฟฟิคแบบแสดงข้อมูลตามลำดับเวลา
อินโฟกราฟิกรูปแบบนี้เหมาะกับการสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับของเวลาส่วนใหญ่มักจะใช้แสดงพัฒนาการของสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของบุคคลก็ได้ อย่างเช่นประวัติของบุคคล สำคัญต่าง ๆ
รูปแบบที่ 8 อินโฟกราฟฟิคแบบแสดงข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์
อินโฟกราฟิกในรูปแบบนี้เป็นอินโฟกราฟิกที่แสดงข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอิงกับสภาพภูมิศาสตร์หรือพื้นที่ ต่างๆอินโฟกราฟิกลักษณะแบบนี้มักจะมีการนำภาพกราฟิกที่เป็นแผนที่ หรือกราฟิกที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์
4.3 ขุมทรัพย์ไอเดียสำหรับการออกแบบอินโฟกราฟิก
ขุมทรัพย์ไอเดียนั้น จะช่วยให้การออกแบบอินโฟกราฟฟิกมีความสวยงามดึงดูดใจ และช่วยให้งานสามารถเสร็จได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยขุมทรัพย์แรกก็คือ Freepik เว็บไซต์ Freepik นับว่าเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่มีทั้งภาพ ไอคอน ฟอนต์ เวกเตอร์ หรือแม้กระทั่งอินโฟกราฟฟิก ซึ่งขุมทรัพย์เหล่านี้ จะช่วยให้ทุกคนสามารถออกแบบอินโฟกราฟฟิก เพื่อนำเสนอข้อมูลให้มีความน่าสนใจ สวยงาม และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย และแน่นอนยังช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย
บทที่ 5 กราฟิกสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์
5.1 ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
ขุมทรัพย์ไอเดียนั้น จะช่วยให้การออกแบบอินโฟกราฟฟิกมีความสวยงามดึงดูดใจ และช่วยให้งานสามารถเสร็จได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยขุมทรัพย์แรกก็คือ Freepik เว็บไซต์ Freepik นับว่าเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่มีทั้งภาพ ไอคอน ฟอนต์ เวกเตอร์ หรือแม้กระทั่งอินโฟกราฟฟิก ซึ่งขุมทรัพย์เหล่านี้ จะช่วยให้ทุกคนสามารถออกแบบอินโฟกราฟฟิก เพื่อนำเสนอข้อมูลให้มีความน่าสนใจ สวยงาม และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย และแน่นอนยังช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย
5.2 การออกแบบแผ่นพับ
แผ่นผับเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์ข้อความ ภาพ กราฟิก และองค์ประกอบอื่น ๆ อาจจะพิมพ์ 1 ด้านหรือ 2 ด้านและมีการพับ เป็นสื่อที่ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่าน จัดเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงมีลักษณะคล้ายใบปลิวที่เป็นแผ่นกระดาษที่ใช้พิมพ์ข้อความประกาศ หรือโฆษณาต่างๆ ขนาดของแผ่นพับที่เป็นที่นิยมมีขนาดเท่ากับกระดาษ A4 นิยมใช้กระดาษ A4 พับเป็นสามตอนปกหน้าวิธีการพับแผ่นพับสามารถพับได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลที่จะใส่ลงไปการพับแบบ 1 ทบ คือ การพับครึ่งกระดาษเป็นแบ่งกระดาษออกเป็น 2 ส่วนพับแบบจดหมาย พับแบบจดหมาย คือ การพับ 2 ครั้งและแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน
5.4 การออกแบบโปสเตอร์
กราฟิกที่อาจจะอยู่ในรูปแบบของกระดาษแผ่นเล็กไปจนถึงกระดาษแผ่นใหญ่ติดตามตึกหรือกำแพงต่าง ๆ ไว้ใช้สำหรับงานประชาสัมพันธ์ให้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นสิ่งนี้เราเรียกว่า โปสเตอร์แต่การจะออกแบบโปสเตอร์ให้ดูน่าสนใจและดึงดูดผู้คนจะต้องรู้ความหมายและองค์ประกอบของโปสเตอร์ โปสเตอร์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มักจะจัดพิมพ์บนกระดาษ ใช้ติดเพื่อประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาข่าวสาร เพราะฉะนั้นตัวโปสเตอร์จะต้องมีความสวยงามเพื่อดึงดูดสายตาผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาข้อความหรือภาพประกอบต้องโดดเด่นกระทัดรัด อ่านง่ายและสามารถเข้าใจได้ง่ายจากการอ่านผ่าน ๆ
5.3 การออกแบบหนังสือ
การออกแบบหนังสือต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ ศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาของสิ่งพิมพ์และประเภท กำหนดขนาดและรูปแบบ กำหนดรูปแบบของปกหน้าและปกหลัง กำหนดรูปแบบของเนื้อหาด้านใน การวางเนื้อหาและโครงร่าง กำหนดรูปแบบของฟอนต์ตัวอักษร ขนาด และสี พิจารณาภาพประกอบที่ต้องใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการพิมพ์ และลำดับสุดท้าย ขนาดที่เป็นที่นิยม 5x7 นิ้ว หรือ 5x8 นิ้ว โดยการออกแบบและจัดทำหนังสือนั้นต้องมีโครงสร้างที่ดีแน่นอนรอบคอบ และสมบูรณ์แบบเพื่อนำเสนอข้อมูลปริมาณมากให้ง่ายแก่การอ่าน และสามารถติดตามได้หาได้
5.5 การออกแบบป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณาหรือแบนเนอร์มีจุดประสงค์ในการจัดทำขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ในระดับกว้างกว่าโปสเตอร์ อาจจัดทำโดยใช้ไม้อัดหรือพิมพ์บนผ้าไวนิลซึ่งป้ายไวนิลมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็ก 1x1 เมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่เป็น 10 เมตรเลยก็ได้แต่ขนาดยอดนิยม คือ 1.2 x 2.4 เมตร กรณีที่ต้องการป้ายไวนิลขนาดใหญ่มาก ๆนักออกแบบควรจะกำหนดสัดส่วนของไวนิลด้วยตัวเองไว้ก่อน เมื่อส่งให้โรงพิมพ์แล้วค่อยแจ้งขณะที่จะพิมพ์จริง
5.6 การออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ที่พบเห็นโดยทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญหลายอย่าง ได้แก่ ตัวอักษรหรือข้อความ ภาพประกอบ เนื้อที่ว่าง และส่วนประกอบอื่น ๆ ซึ่งการออกแบบกราฟิกสำหรับสิ่งพิมพ์นั้น จะต้องเป็นไปตามหลักการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยใช้โจทย์ในการออกแบบเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ว่าองค์ประกอบใดเหมาะสมและสอดคล้อง ซึ่งนักออกแบบกราฟิกจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจหลักการออกแบบเบื้องต้น ก็จำเป็นต้องมีความรู้ระบบตารางหรือระบบกริด (Grids System) อีกด้วย เพราะในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ระบบกริดจะเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์ในการสานสัมพันธ์องค์ประกอบต่างๆ
บทที่ 6 กราฟิกสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และงานมัลติมีเดีย
6.5 การออกแบบงานด้านมัลติมีเดีย
การออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อมัลติมีเดียให้สามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์ของการที่ตั้งไว้ และเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น นักออกแบบกราฟิกจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานมัลติมีเดีย เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการออกแบบสื่อมัลติมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้อย่างแท้จริง
6.1 เกริ่นนำกราฟิกสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และงานมัลติมีเดีย
งานออกแบบกราฟิกสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์และงานมัลติมีเดีย (Multimedia Graphics) เป็นงานออกแบบกราฟิกที่ประกอบสื่อหลากหลายสื่อ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ตัวอักษร การโต้ตอบ (Interactive) ถือได้ว่าเป็นการนำเสนอหรือสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากและช่วยให้ผู้รับสารมีความสะดวกอย่างมาก ในปัจจุบันมีการใช้งานออกแบบกราฟิกด้านมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้กับงาน ต่างๆ มากมาย เช่น ไตเติ้ลภาพยนตร์ การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบแอปพลิเคชั่น หนังสืออิเล้กทรอนิกส์บุ๊ค บทเรีนยมัลติมีเดีย เป็นต้น
6.2 การออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าในทุกรูปแบบหนังสือ ที่ถือว่าเป็นสื่อสำคัญที่ถูกใช้ในการเรียนการสอนมาตั้งแต่อดีตจึง ต้องได้รับการพัฒนาให้เข้ากับสังคมการ เรียนรู้ในปัจจุบันให้มากยิ่งขึ้น การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ ebookเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้มีความน่าสนใจและเข้ากับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น ebook มักนำเสนอข้อมูลหนังสือที่พร้อมเป็นสื่อมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียง ซึ่งทำให้แตกต่างจากหนังสือธรรมดาทั่วไปส่วนมากจะพบเจอในรูปแบบของไฟล์เอกสารหรือ pdfที่ซึ่งสามารถดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถเปิดอ่าน ได้จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมไปถึง Smart Phone ที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันมีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะด้านการศึกษาเป็นสื่อการเรียนการสอนที่สามารถช่วยสอนในสิ่งที่เราจะยากให้ง่ายขึ้นปัจจุบันเริ่มมีผู้นำพัฒนาสร้างเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปไม่ว่าจะเป็น Desktop AuthorFlip Albumหรือ Flash เป็นต้น
6.4 การออกแบบเว็บไซต์
สื่อเว็บไซต์ทางการศึกษาเป็นหนึ่งในการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถใช้เพื่อทำ การหาความรู้เรียนรู้ด้วยตนเองและระหว่างผู้สอนโดยการเรียนการสอนในลักษณะนี้จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้เป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริมในการเรียนการสอนทั้งแบบออนไลน์และแบบผสมผสานก็จะมีสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงอยู่นั่นก็คือ
1.กลุ่มเป้าหมาย
2.ความสะดวกในการใช้งาน
3.ความสวยงามที่มีสุนทรียภาพประกอบอยู่ด้วย
ดังนั้นเราควรที่จะมีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการออกแบบเว็บไซต์
เพื่อประกอบการออกแบบ
โดยสิ่งที่ผู้ออกแบบเว็บไซต์ควรจะพิจารณามีดังนี้
1.การเน้นข้อความสำคัญ
2.ความตรงกันข้าม
3.ความสมดุล
4.การวางแนว
5.การทำซ้ำ
6.การเลือกใช้สี
7.เลือกใช้ภาพ
6.3 การออกแบบบทเรียนออนไลน์
ในยุคปัจจุบันการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบและมีบทบาทในการเรียนการสอนเป็นอย่างมากการสร้างบทเรียนออนไลน์ที่ดีจึงต้องมีความเหมาะสมในการเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอนที่อยู่ห่างไกลกันทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาหรือเรียกว่า กระบวนการเรียนการสอนผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์