Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ, 12CF1F26-B6C0-4E86-B0EE-3667BE70ACE5,…
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ
ยารักษาโรคหอบหืด
(Antiasthmatic drugs)
ประเภทยาขยายหลอดลม
Adrenaline
(Epinephrine)
การออกฤทธิ์ : กระตุ้นตัวรับ α และ β-adrenergic ภายในระบบประสาทซิมพาเธติค ใช้รักษาภาวะหดเกร็ง ของหลอดลมและการแพ้ยาชนิด Anaphylaxis
ผลข้างเคียง : หากได้รับยาเป็นเวลานานๆ จะทําให้เกิดปฏิกิริยากับหัวใจและการไหลเวียน เช่น เกิดความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นเร็ว หัวใจเต้นไม่ เป็นจังหวะ ใจสั่น ปวดศีรษะ
ข้อแนะนำการใช้ยา : รายงานแพทย์เมื่อจังหวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ
ข้อบ่งใช้ : รักษาความผิดปกติของการหายใจ เช่น ภาวะหอบหืด
Aminophylline
การออกฤทธิ์ : ขยายหลอดลม เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ทําให้หลอดเลือดขยายตัวและมีฤทธิ์ในนการขับปัสสาวะด้วย
ผลข้างเคียง : ความดันโลหิตต่ำ ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน
ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการหอบหืด
ข้อแนะนำการใช้ยา : รับประทานยาอย่างถูกต้อง ครบ ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
Bambuterol
การออกฤทธิ์ : เป็น β2-adrenergic agonist ที่มีฤทธิ์ยาว
ผลข้างเคียง : อาจเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ มือสั่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ เกร็ง
ข้อบ่งใช้ : รักษาอาการหอบในผู้ป่วยโรคหืด
Fenoterol
การออกฤทธิ์ : เป็น β2-adrenergic agonist
ผลข้างเคียง : กระสับกระส่าย มึนงง กลัว เหสื่อยล้า หัวใจเต้นเร็ว
ข้อบ่งใช้ : ป้องกันการเกิดอาการหอบหืด และการหดเกร็งของหลอดลม
ข้อแนะนำการใช้ยา : พ่นยาตามแผนการรักษา หากพ่น 2 Puff ให้พ่นห่างกัน 1 นาที หรือพ่นให้ห่างจากยาอื่น 5 นาที
Ipratropium
การออกฤทธิ์ : ยาประกอบด้วย Ipratropium bromide ซึ่งเป็นยาประเภท Anticholinergic ออกฤทธิ์ลดการเกร็งของหลอดลม และ Fenoterol hydrochloride ซึ่งเป็น ยา β2-adrenergic ออกฤทธิ์ขยายหลอดลม
ผลข้างเคียง : อาจพบอาการกล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย
ข้อบ่งใช้ : รักษาผู้ป่วย Chronicbronchitis และ Emphysema
ข้อแนะนำการใช้ยา : เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่มีหลอดลมตีบเฉียบพลัน เช่น โรคหืด
Procaterol
การออกฤทธิ์ : เป็น β2- adrenergic agonist ที่มีฤทธิ์ยาว
ผลข้างเคียง : อาจเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ มือสั่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อเกร็ง
ข้อบ่ใช้ : ขยายหลอดลม รักษาอาการหอบในผู้ป่วยโรคหืด
ข้อแนะนำการใช้ยา : ระวังในผู้ป่วยโรคหืด ที่มีโรคหัวใจ และหลอดเลือด
Salbutamol
การออกฤทธิ์ : ยาจะกระตุ้นที่ β2-adrenocepter ในขณะที่ใช้รักษาจะออกฤทธิ์ที่ β2-adrenocepter ของกล้ามเนื้อหลอดลม หากใช้ในขนาดสูงกระตุ้น β1 -adrenocepter ของหัวใจ การออกฤทธิ์เร็ว
ผลข้างเคียง : มีน้อยโดยเฉพาะยาที่ให้โดยการพ่น หรือสูดดม หากใช้รับประทานอาจพบอาการมือสั่น ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว
ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการหดเกร็งของหลอดลมในโรคหอบหืดทุกชนิดหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง
ข้อแนะนำการใช้ยา : ดื่มน้ำมากๆ และให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
Theophylline
การออกฤทธิ์ : ยับยั้ง Phosphodiesterase และช่วยสร้าง Cyclic adrenosine monophosphate,CAMP ซึ่งการเพิ่ม CAMP นี้จะมีผลให้หลอดลมขยายตัว
ผลข้างเคียง : หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ กระสับกระส่าย หงุดหงิด คลื่นไส้อาเจียน
ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการหอบหืด
ข้อแนะนำการใช้ยา : ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
ยาขับเสมหะ และยาระงับอาการไอ
Acetylcysteine
การออกฤทธิ์ : ช่วยให้เสมหะที่เหนียวเหลวขึ้น ขับพวกมูกโดยไปทำลาย Disulfide bond ของ Muco protein
ผลข้างเคียง : ซึม ง่วงนอน เยื่อบุปากอักเสบ น้ำมูกใสๆไหล
ข้อบ่งใช้ : รักษา Chronicemphysema,Chronic asthmatic bronchitis, Tuberculosis, Bron chiectasis, Bronchitis, Pneumonia, Tracheobronchitis
ข้อแนะนำของการใช้ยา : สังเกตอาการข้างเคียงของยา
ประเภท : ยาลดความหนืดข้นของเสมหะ
Ambroxol
การออกฤทธิ์ : เพิ่มการสร้างและหลั่ง Surfactant และการกระขายของ Surfactant ยังมีผลทำให้ Mucus ลดความหนืดลงทำให้ Cilia ถูหลกกระตุ้นทำงานได้ดีขึ้น การขับเสมหะจึงสะดวก
ผลข้างเคียง : พบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ
ข้อบ่งใช้ : รักษาโรคทางเดินหายใจที่มีเสมหะผิดปกติ
ข้อแนะนำการใช้ยา : หากมีอาการผิดปกติหลังจากใช้ยาให้ไปพบแพทย์
ประเภท : ยาละลายเสมหะตัวใหม่ ซึ่งเก็น Metabolite ตัวหนึ่งของ Brorhexine
Ammonium Chloride
การออกฤทธิ์ : ขับเสมหะอย่างอ่อน การดูดซึมของยาจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ใน 3-6 ชั่วโมง
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ ซึมเศร้า ง่วงหลับ มีผื่นแดงที่ผิวหนัง
การบ่งใช้ : รักษาผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ และผู้ป่วยหลอดลมโปร่งพอง
ข้อแนะนำการใช้ยา : รับประทานยานี้ทันทีหลังอาหาร และดื่มน้ำมากๆ
ประเภท : ยาขับเสมหะ
Bromhexine
การออกฤทธิ์ : ช่วยให้เสมหะที่เหนียวเหลวขึ้น ขับพวกมูกโดยไปทําลาย Disulfide bond ของ Muea protein ซึ่งเป็น ตัวทําให้มูกหร่อเสมหะที่เป็น หนองเหนียวอ่อนตัวลงและขับออกได้ง่าย
ผลข้างเคียง : ซึม ง่วงนอน เยื่อบุปากอักเสบ น้ำมูกใสๆไหล คลื่นไส้อาเจียน ผื่นลมพิษ
ข้อบ่งใช้ : รักษาผู้ป่วยหลอดลมอักเสบอย่างเฉียบพลันและเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียวมากๆ
ข้อแนะนำการใช้ยา : ระมัดระวังสำหรับผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพราะอาหาร
ประเภทยา : ยาลดความหนืดข้นของเสมหะ
Codeine
การออกฤทธิ์ : กดศูนย์การไอ มีประสิทธิภาพในการระงับอาการไอประมาณครึ่งหนึ่ง ของ Morphine และทําให้เสพติดน้อยกว่า Morphine โอกาศติดยาน้อยกว่า
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มึนศีรษะ ใจสั่น ง่วงนอน
ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการเจ็บปวดปานกลาง แก้ไอ
ข้อแนะนำการใช้ยา : กระตุ้นการขับเสมหะ
ประเภท : ยาแก้ไอชนิดเสพติด
Dextromethorphan
การออกฤทธิ์ : กดการไอ มีผลโดยตรงกับศูนย์กลางการไอที่ Medulla ยาจะดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ในระบบทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียง : หากให้ขนาดสูงๆ จะมีอาการซึม มึนงง ทําให้ง่วง คลื่นไส้และมึนศีรษะ
ข้อบ่งใช้ : ระงับอาการไอเนื่องจากความเย็นหรือการสูดดมสิ่งที่ ระคายเคือง
ข้อแนะนำการใช้ยา : ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อย 1,500-2,000 มิลลิลิตร เพื่อให้เสมหะอ่อนตัวลง
ประเภท : ยาแก้ไอ ยานี้ไ ม่ทำให้เสพติด และไม่มีฤทธิ์ ระงับปวด
Diphenhydramine
การออกฤทธิ์ : ต้านฮีสตามีนร่วมกับยาต้าน Cholinergic ปิดกั้นฮีสตามีนตรงตำแหน่ง H1 receptor
ผลข้างเคียง :ทำให้ง่วงนอน ซึม ปวดศรีษะ ปากแห้ง ท้องผูกเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสั่น ชีพจรเร็ว
ข้อบ่งใช้ : ระงับอาการไอที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการคัดจมูกและจาม
ข้อแนะนำการใช้ยา : ควรรับประทานก่อนเดินทาง 30 นาที เพื่อป้องกันการเมารถ
ประเภท : ยากลุ่มต้านฮีสตามีน
Glyceryl guaiacolate/Guaifenesin
การออกฤทธิ์ : ลดความหนืดของเสมหะ ช่วยทำให้เสมหะเหลวลง โดยเพิ่มความชุ่มชื่นในทางเดินหายใจ ขับออกได้ง่ายด้วยการไอออกมา
ผลข้างเคียง : พบน้อย คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ปวดศีรษะ ผื่นแพ้ ท้องเสีย ปวดท้อง
ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการไอเนื่องจากหวัด หลอดลมอักเสบ และการติดเชื้อที่ปอด
ข้อแนะนำการใช้ยา : ดื่มน้ำมากๆ หลังรับประทานยา และดื่มน้ำไม่น้อยกว่า 1,500-2,000 มิลลิลิตรต่อวัน
ประเภท : ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ
ยารักษาโรคปอด
TIOTROPIUM
กล่มุยา=ยากลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก(Anticholinergic)
ประเภทยา=ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคุณ =รักษาโรคหืดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคปอดอื่นๆ
กล่มผู้ป่วย=ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา=ยาสูดพ่น
ปริมาณการใช้ยา Tiotropium
ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาข้ึนอยู่กับดุลยพินิจ ของแพทย์ผู้รักษา
ผู้ใหญ่หากใช้เครื่องสูดพ่นยาชนิดผงให้ใช้ครั้ง ละ 1 แคปซูล หรือปริมาณ 18 ไมโครกรัม วันละ 1 ครั้งโดยใช้ในเวลาเดียวกันของทุก ๆ วัน หากใช้เครื่องสูดพ่นยาชนิดละอองใช้วันละ2 ครั้ง ประมาณ 5 ไมโครกรัม
วันละ1 ครั้ง ใช้เวลาเดียวกันทุก ๆ วัน
การใช้ยา Tiotropium
ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาข้ึนอยู่กับดุลยพินิจ ของแพทย์ผู้รักษา ใช้ยาตามฉลากและตามคําสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ห้ามใช้ยานี้ใน ปริมาณมากกว่า น้อยกว่า หรือติดต่อกันนานกว่าที่แพทย์แนะนํา หากมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
หากใช้ยาแล้วอาการไม่ดีข้ึนหรือแย่ลง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ทันที
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Tiotropium
ปากแห้งเวียนศีรษะ มองเห็นเป็นภาพเบลอ ท้องผูก เจ็บขณะปัสสาวะ ท้องไส้ปั่นป่วน เจ็บหน้าอก หัวใจเต้น
เร็ว และมีอาการหวัด มีน้ํามูกไหลหรือเจ็บคอ
คําเตือนในการใช้ยา Tiotropium
ไม่อนุญาตให้ใช้ยา Tiotropium ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี แจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีประวัติแพ้ยาหรือส่วนประกอบของ ยา Tiotropium
ISONIAZID
กล่มุยา=ยารักษาวัณโรค
ประเภทยา=ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคุณ =รักษาวัณโรค
กลุ่มผู้ป่วย=ผู้ใหญ่ เด็ก
รูปแบบของยา=ยาฉีด ยารับประทาน
การใช้ยา Isoniazid
รับประทานยาในขณะท่ีท้องว่าง อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนอาหาร หรือ 2 ชั่วโมง หลังอาหาร
ห้ามให้ผู้อื่นใช้ยานี้ และห้ามใช้ยาของผู้อื่น
ระหว่างท่ีใช้ยานี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานวิตามิน บี 6 เสริมตามท่ีแพทย์สั่ง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Isoniazid
ปวดท้องส่วนบน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายหรืออ่อนเพลียกะทันหัน
มีไข้ติดต่อกัน 3 วัน ข้ึนไป ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด ดีซ่าน
คําเตือนในการใช้ยา Isoniazid
หลีกเลี่ยงการใช้ยา Isoniazid หากกําลังป่วยเป็นโรคตับ มีประวัติแพ้ยา ชนิดนี้อย่างรุนแรง เคยเป็นโรคตับอักเสบหรือตับผิดปกติจากการใช้ยานี้ หรือมีประวัติเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้ เช่น มีไข้หนาวสั่นปวดข้อ ข้อบวม
RIFAMPICIN
กล่มุยา=ยาปฏิชีวนะ
ประเภทยา=ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคุณ =ป้องกันหรือรักษาวัณโรค รักษาโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบในระยะยังไม่แสดงอาการ
กลุ่มผู้ป่วย=เด็ก ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา=รับประทานฉีดเข้าเส้นเลือด
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาRifampicin
มีอาการแพ้ เช่น หายใจลําบาก เป็นลมพิษ ใบหน้า คอ ริมฝีปาก หรือลิ้นบวม
มีเลือดออก เช่น เลือดกําเดาไหล เลือดออกตาม ไรฟัน มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้หนาวสั่น
ปวดตามร่างกาย ปวดศรีษะ รู้สึกมึนงง
PYRAZINAMIDE
กล่มุยา=ยารักษาวัณโรค
สรรพคุณ =รักษาวัณโรค
กลุ่มผู้ป่วย=ผู้ใหญ่ เด็ก
รูปแบบของยา=รับประทาน
คําเตือนในการใช้ยาPyrazinamide
แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา Pyrazinamide หากมีประวัติเป็นโรคเก๊าท์ โรคตับ โรคไต โรค เบาหวาน มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง โรคพอร์ฟีเรียชนิดฉับพลัน หรือเป็นผู้ท่ีดื่ม แอลกอฮอล์
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Pyrazinamide
ปวดข้อหรือข้อบวม
ตับผิดปกติ ทําให้มีอาการ เช่น ไม่อยากอาหาร
อาเจียน อ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลือง ท้องไส้ ปั่นป่วน ปวดท้อง ปัสสาวะมีสีเข้ม
ETHAMBUTOL
กล่มุยา=ยารักษาวัณโรค
ประเภทยา=ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคณุ =รักษาวัณโรคปอด
กลุ่มผู้ป่วย=เด็ก ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา=ยารับประทาน
คําเตือนในการใช้ยาEthambutol
แจ้งให้แพทย์พยาบาล เภสัชกร และทันตแพทย์ ทราบว่ากําลังใช้ยานี้ก่อนเข้ารับการรักษาใด ๆ
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Ethambutol
ปวดข้อหรือข้อบวม
ตับผิดปกติ ทําให้มีอาการ เช่น ไม่อยากอาหาร
อาเจียน อ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลือง ท้องไส้ ปั่นป่วน ปวดท้อง ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีสีซีด
การใช้ยาEthambutol
หากลืมใช้ยาตามเวลาที่กําหนด ให้ใช้ยาทันทีท่ีนึกข้ึนได้แต่หากใกล้ถึงเวลาใช้ยาในรอบถัดไป ให้ข้ามไปใช้ยารอบต่อไป และไม่เพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาบรรเทาอาการหวัด
ANTIHISTAMINES
ใช้รักษาอาการ ผื่นแดง คัน ลมพิษ คัดจมูก น้ํามูกไหล จาม ตาแดง คันตา น้ําตาไหล ไอ เจ็บคอ คอแห้ง อาการบวมตามผิวหนัง เปลือกตา
ชนิดของยาต้านฮีสตามีน
1.ยาต้านฮีสตามีนชนิดง่วงซึม ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ยาไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ยาไฮดรอไซซีน (Hydroxyzine) ยาบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine)
ยาต้านฮิสตามินชนิดไม่ง่วง ยาเซทิริซีน (Cetirizine) ยาเลโวเซทิริซีน (Levocetirizine) ยาลอราทาดีน (Loratadine) ยาเดสลอราทาดีน (Desloratadine)
ยาเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)
วิธีใช้ยาต้านฮีสตามีน
อ่านฉลากยาก่อนใช้และใช้ยาตามที่แพทย์และเภสัชกรเสมอ เพราะยาแก้แพ้มีหลายชนิดและหลายขนาด จึงควรใช้ตามคําแนะนำที่ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ การใช้ยา ควรถามแพทย์ หรือเภสัชกร
NASAL DECONGESTANT
บรรเทาอาการคัดจมูกอัน เนื่องจากโรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบ และอาการแพ้สิ่งอื่นๆ โดย ตัวยาจะช่วยให้ทางเดิน หายใจโล่ง
ข้อห้ามการใช้ยาแก้คัดจมูก
ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุไว้ในฉลากยาอย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยานี้ในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ
และไม่ควรหยุดการใช้ยานี้เอง
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานั้นๆหรือแพ้ยาอื่นๆ ที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ
(Sympathomi metic drugs)
อาการไม่พึงประสงค์จาก การใช้ยาแก้คัดจมูก
ผลต่อระบบประสาท: เช่น ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย วิตกกังวล มือสั่นอนไม่หลับ
ผลต่อหัวใจ: เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ: เช่น ปัสสาวะไม่ออก/ปัสสาวะขัด ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น คลื่นไส้
EXPECTORANTS
กลไกการออกฤทธิ์ กลุ่มยาขับเสมหะนี้จะไป ช่วยกระตุ้นนให้มีการ พัดโบกของขน (celia) ในทางเดินหายใจ เพื่อช่วยให้ไอและขับเอามูกออกมาได้
ยาขับเสมหะในประเทศไทย
1.แอมโมเนียม คลอไรด์ (Ammonium Chloride)
2.กัวฟีนีซีน (Guafenesin หรือ Glycerol Guaicolate)
3.เทอร์พีน ไฮเดรต (Terpin hydrate)
ผลข้างเคียงของยาขับเสมหะ
เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
ง่วงนอน
มีผื่นข้ึนในผู้ที่มีอาการแพ้ยากลุ่มนี้ หายใจไม่ออกในผู้ที่มีอาการแพ้ ยากลุ่มนี้
หน้าบวม ปากบวม
MUCOLYTICS
กลไกการออกฤทธิ์ การไปทําให้การเกาะกันของ พันธะไดซัลไฟด์ของเสมหะลดลง เสมหะจึงมีความข้นเหนียวลดลง
ประเภทของยาละลายเสมหะ 1. ยาน้ำละลายเสมหะ 2. เม็ดฟู่ละลายเสมหะ 3. ยาพ่นละลายเสมหะ 4. ยาสมุนไพรละลายเสมหะ
ผลข้างเคียงของ ยาละลายเสมหะ
ปวด หรือเวียนศีรษะ
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และอาจ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
ควรระวังการใช้ในเด็กสําหรับยา ทุกตัวในกลุ่มมนี้
ANTYTUSSIVES
กลไกการออกฤทธิ์ ยาชนิดนี้อาจทํางานโดยการ ยับยั้งการทํางานของสมอง ส่วนที่ตอบสนองต่อสิ่ง กระตุ้นนจนทําให้เกิดการไอ แต่กลไกที่แท้จริงในการออกฤทธิ์ของกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด
วิธีการใช้ยา
ก่อนใช้ยา ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเสมอหากเคยแพ้ยาระงับ อาการไอตัวใดมาก่อน หรือมีอาการแพ้ยาและสารชนิดใด
ผลข้างเคียงของยา
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว กระสับกระส่าย เวียนหัว ง่วงซึม ท้องผูก ท้องไส้ปั่นป่วน