Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ
ยารักษาโรคหอบหืด
(Antiasthmatic drugs)
ประเภทยาขยายหลอดลม
Adrenaline
( Epinephrine)
รักษาความผิดปกติของการหายใจ
การออกฤทธิ์ : กระตุ้นตัวรับ α และ β-adrenergic ภายในระบบประสาทซิมซิพาเธติค
ผลข้างเคียง : หากได้รับยาเป็นเวลานานๆ จะทำให้ปฏิกิริยากับหัวใจและการไหลเวียน
ข้อแนะนำ : รายงานแพทย์เมื่อจังหวะการเต้นของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
Aminophylline
บรรเทาอาการหอบหืด
การออกฤทธิ์ : ขยายหลอดลม เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ
ผลข้างเคียง : ความดันโลหิตต่ำ ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ กระสับกระส่าย หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะคั่งค้าง ปวดศีรษะ และอาจเกิดอาการชัก
ข้อแนะนำ : รับประทานยาให้ครบ รับประทานหลังอาหาร ดื่มน้ำมากๆ หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์
Bambuterol
รักษาอาการหอบในผู้ป่วยโรคหืด
การออกฤทธิ์ : β2-adrenergic agonist ที่มีฤทธิ์ยาว
ผลข้างเคียง : อาจเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ มือสั่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อเกร็ง
Fenoterol
ป้องกันการเกิดอาการหอบหืดและการหดเกร็งของหลอดลม
การออกฤทธิ์ : เป็น β2-adrenergic agonist
ผลข้างเคียง : กระสับกระส่าย มึนงง กลัว เหนื่อยล้า หัวใจเต้นเร็ว แสบอก
ข้อแนะนำ : พ่นยาตามแผนการรักษา ระวังยาเข้าตา ยาอาจทำให้ปากแห้ง
Ipratropium
รักษาผู้ป่ผู้ป่วย Chronic bronchitis และ Emphysema
การออกฤทธิ์ : ลดการเกร็งของหลอดลมและขยายหลอดลม
ผลข้างเคียง : อาจพบอาการกล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย
ข้อแนะนำ : เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่มีหลอดลมตีบเฉียบพลัน
Procaterol
ขยายหลอดลม รักษาอาการหอบในผู้ป่วยโรคหืด
การออกฤทธิ์ : เป็น β2- adrenergic agonist ที่มีฤทธิ์ยาว
ผลข้างเคียง : อาจเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ มือสั่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อเกร็ง
ข้อแนะนำ : ระวังในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
Salbutamol
บรรเทาอาการหดเกร็งของหลอดลมโรคหอบหืดทุกชนิด หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง
การออกฤทธิ์ : ยาจะกระตุ้นที่ β2-adrenocepter ในขนาดที่ใช้รักษาจะออกฤทธิ์ที่ β2-adrenocepter ของกล้ามเนื้อหลอดลม หากใช้ในขนาดสูง กระตุ้นβ2-adrenocepter ของหัวใจออกฤทธิ์เร็ว
ผลข้างเคียง : มีน้อย โดยเฉพาะยาที่ให้โดยการพ่นและการสูดดม หากใช้รับประทานอาจพบอาการมือสั่น ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว
ข้อแนะนำ : ดื่มน้ำมากๆ
Theophylline
บรรเทาอาการหอบหืด
การออกฤทธิ์ : ยับยั้ง Phosphodiesterase และช่วยสร้าง Cyclic adrenosine monophosphate, CAMP จะมีผลให้หลอดลมขยายตัว มีการกระตุ้นหัวใจ ระบบประสาท อยากอาหารมากขึ้น
ผลข้างเคียง : หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะคั่งค้าง กังวล นอนไม่หลับ
ข้อแนะนำ : ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด และห้ามเคี้ยวหรือบดเม็ดยาให้แตก
ยาขับเสมหะ และยาระงับการไอ
Acetylcysteine
ยาลดความหนืดข้นของเสมหะ
รักษา Chronic emphysema, Chronic
asthmatic bronchitis, Tuberculosis, Bron chiectasis, Bronchitis, Pneumonia, Tracheobronchitis
การออกฤทธิ์ : ช่วยให้เสมหะเหนียวเหลวขึ้น ขับพวกมูก
ผลข้างเคียง : ซึม ง่วงนอน เยื่อบุปากอักเสบ น้ำมูกใสๆไหล คลื่นไส้ อาเจียน ควรระวังในผู้ป่วยโรคหอบหืด
ข้อแนะนำ : หายใจลึกๆเพื่อบริหารปอด
Ambroxol
รักษาโรคทางเดินหายใจที่มีเสมหะผอดปกติ
การออกฤทธิ์ : เพิ่มการสร้างและหลั่งSurfactant
และการกระจายของ Surfactant
ผลข้างเคียง : หากได้รับขนาดสูงๆ อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ
ข้อแนะนำ : ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับยาลดกรด
Ammonium Chloride
ยาขับเสมหะ รักษาผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ และผู้ป่วยหลอดลมโปร่งพอง
การออกฤทธิ์ : ขับเสมหะอย่างอ่อน การดูดซึมของยาจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ใน 3-6 ชั่วโมง
ผลข้างเคียง : ซึมเศร้า ง่วงหลับ กระตุก ชีพจรช้าจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ มีผ่นแดงที่ผิวหนัง
ข้อแนะนำ : ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้เสมหะเหลวขับออกง่าย
Bromhexine
ยาลดความหนืดของเสมหะ รักษาผู้ป่วยหลอดลมอักเสบอย่างเฉียบพลันและเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียวมากๆ
การออกฤทธิ์ : ช่วยให้เสมหะเหนียวเหลวขึ้น ขับพวกมูก โดยไปทำลาย Disulfide bond ของ Muea protein
ผลข้างเคียง : ผื่นลมพิษ ซึม ง่วงนอน เยื่อบุปากอักเสบ ควรระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด
ข้อแนะนำ : ระมักระวังสำหรับผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
Codeine
ยาแก้ไอชนิดเสพติด บรรเทาอาการเจ็บปวดปานกลาง แก้ไอ ใช้ร่วมกับ Aspirinหรือ Paracetamol เพื่อลดอาการปวด
การออกฤทธิ์ : กดศูนย์อาการไอ มีประสิทธิภาพในการระงับการไอ
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มึนศีระษะ หากได้ยาเกินขนาดจะมีอาการชัก เป็นลม
Dextromethorphan
ยาแก้ไอ ยานี้ไม่ทำให้เสพติดและไม่มีฤทธิ์ระงับปวด
ระงับอาการไอเนื่องจากความเย็นหรือการสูดดมสิ่งที่ระคายเคือง
การออกฤทธิ์ : มีผลโดยตรงกับการไอ ยาจะดูดซึมอย่างรวดเร็วในระบบทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียง : หากให้ขนาดสูงๆ จะมีอาการซึม มึนงง ทำให้ง่วง คลื่นไส้
ข้อแนะนำ : ดื่มน้ำมากๆ
Diphenhydramine
ยากลุ่มต้านฮีสตามีน ระงับการไอที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการคัดจมูกและจาม ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการหวัด แพ้อากาศ แก้สารพิษ แก้แพ้
การออกฤทธิ์ : ต้านฮีสตามีนร่วมกับยาต้าน Cholinergic ปิดกั้นฮีสตามีนตรงตำแหน่ง
ผลข้างเคียง : ง่วงนอน ซึม ปวดศีรษะ ปากแห้ง ท้องผูก อ่อนเพลีย ใจสั่น
ข้อแนะนำ : ควรรับประทานก่อนเดินทาง 30 นาที เพื่อป้องกันการเมารถ
Glyceryl guaiacolate/ Guaifenesin
ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอเนื่องจากหวัด หลอดลมอักเสบ และการติดเชื้อที่ปอด
การออกฤทธิ์ : ลดความหนืดของเสมหะ โดยเพิ่มความชุมชื้นให้กับทางเดินหายใจ
ผลข้างเคียง : พบน้อย คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ผื่นแพ้ ท้องเสีย ปวดท้อง
ข้อแนะนำ : ดื่มน้ำมากๆหลังรับประทานยา
ยารักษาโรคปอด
Tiotropium
รักษาโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคปอดอื่นๆ
การใช้ยา : ใช้ยาตามฉลาก ใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณการใช้ยา : ผู้ใหญ่ ใช้เครื่องสูดพ่นยาชนิดผงให้ได้ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 1 ครัง
ผลข้างเคียง : ปากเเห้ง วิงเวียน มองเห็นเป็นภาพเบลอ
คำเตือน : แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีประวัติแพ้ยา ต้องผ่าตัดขณะใช้ยา ห้ามใช้ยาในเด็กต่ำกว่า 6 ปี
Isoniazid
รักษาวัณโรค
การใช้ยา : รับประทานยาขณะท้องว่าง
ปริมาณการใช้ยา : ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับลักษณะการติดเชื้อ
คำเตือน : หลีกเลี่ยงการใช้ยาหากกำลังป่วยเป็นโรคตับ มีประวัติการแพ้ยาชนิดนี้ เคยเป็นโรคตับอักเสบบี
ผลข้างเคียง : ปวดท้องบน เบื่ออาหาร คลื่นไส้
Rifampicin
ป้องกันหรือรักษาวัณโรค รักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในระยะยังไม่แสดงอาการ
ปริมาณการใช้ยา : ยารับประทาน น้ำหนักน้อยกว่า 50 กก. รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 450 มก. น้ำหนักมากกว่า 50 กก. รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 600 มก.
ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 10 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ไม่เกิน 600 มก./วัน
คำเตือน : หากมีประวัติการแพ้ไรแฟมพิซิน ยา อาหาร หรือสารอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ
ผลข้างเคียง : มีอาการแพ้ มีเลือดออก มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
Pyrazinamide
รักษาวัณโรค
การใช้ยา : สามารถรับประทานยาพร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้
ปริมาณการใช้ยา : ผู้ใหญ่ น้ำหนักตัวน้อยกว่า 50 กก.
รับประทานครั้งละ 1.5 กรัม/วัน น้ำหนักตัว 50 กก.ขึ้นไป รับประทานครั้งละ 2 กรัม/วัน เด็ก รับประทานยาครั้งละ 35 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.
ผลข้างเคียง : ปวดข้อ ข้อบวม ตับผิดปกติ
คำเตือน : แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีประวัติโรคเก๊าท์ โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน
Ethambutol
รักษาวัณโรคปอด และ วัณโรคนอกปอด
การใช้ยา : หากลืมใช้ยาตามเวลาที่กำหนด ให้ใช้ยาทันทีที่นึกขึ้นได้
ปริมาณการใช้ยา : ผู้ใหญ่ 15-25 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. วันละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เด็กทานเป็นเวลา 60 วัน หลังจากนั้นรับประทานครั้ง 15 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.
ผลข้างเคียง : ปวดข้อ ข้อบวม ตับผิดปกติ
คำเตือน : แจ้งแพทย์ พยาบาล เภสัช ทันตแทพย์ หากกำลังใช้ยานี้
ยาบรรเทาอาการหวัด
Antihistamines
ลมพิษ คัดจมูก จาม ตาแดง ไอ เจ็บคอ คอแห้ง
ชนิดง่วงซึม
Chlorpheniramine
Diphenhydramine
Dimenhydrinate
Hydroxyzine
Brompheniramine
ชนิดไม่ง่วง
Cetirizine
Levocetirizine
Loratadine
Desloratadine
Fexofenadine
อ่านฉลากยาก่อนใช้และใช้ตามที่แพทย์สั่ง
Nasal decongestant
บรรเทาอาการคัดจมูก
ข้อห้าม : ห้ามใช้ในผู้แพ้ยาที่มีผล
กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ใช้ยาตามฉลาก
ห้ามใช้ยามากกว่า1 ชนิด
อาการไม่พึงประสงค์ : มีผลต่อระบบประสาท หัวใจ อวัยวะตา ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร
Expectorants
ยาขับเสมหะ
ยาขับเสมหะในไทย
Ammonium Chloride
Guafenesin
Terpin hydrate
ผลข้างเคียง : วิงเวียน ง่วงซึม มีผื่น หายใจไม่ออก
หน้าบวม คลื่นไส้
Mucolytics
ทำให้ความข้นเหนียวของเสมหะลดลง
ประเภทของยาละลายเสมหะ
ยาน้ำละลายเสมหะ
เม็ดฟู่ละลายเสมหะ
ยาพ่นละลายเสมหะ
ยาสมุนไพรละลายเสมหะ
ผลข้างเคียง : เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
Antitussives
รักษาอาการไอแห้งๆ
วิธีใช้ยา : ก่อนใช้ยา ผู้ป่วยต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนเสมอหากเคยแพ้ยาระงับอาการไอตัวใดมาก่อน
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ง่วงซึม ท้องผูก