Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อมูลผู้ป่วย ชายไทย วัยสูงอายุ อายุ 84 ปี - Coggle Diagram
ข้อมูลผู้ป่วย ชายไทย วัยสูงอายุ อายุ 84 ปี
Dx. UTI with pneumonia with sepsis
Pneumonia
ปอดอักเสบ
พยาธิสภาพ
ระยะบวมคั่ง (Stage of congestion or edema)
เมื่อเชื้อเข้าสู่ปอดจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองมีเลือดมาคั่งบริเวณที่มีการอักเสบหลอดเลือดขยายตัว มีแบคทีเรีย เม็ดเลือดแดง
ไฟบริน และเม็ดเลือดขาวออกมากินแบคทีเรีย
ระยะนี้ใช้เวลา 24-46 ชั่วโมงหลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ปอด
ระยะเนื้อปอดแข็ง (Stage of consolidation)
ระยะแรกจะพบว่ามีเม็ดเลือดแดงและไฟบรินอยู่ในถุงลมปอดเป็นส่วนใหญ่
หลอดเลือดที่ผนังถุงลมปอดขยายตัวมากขึ้น
ทำให้เนื้อปอดสีแดงจัดคล้ายตับสด (Red heptization)
ระยะปอดฟื้นตัว (Stage of resolution)
เมื่อร่างกายสามารถต้านทานโรคได้ เม็ดเลือดขาวสามารถทำลายแบคทีเรียที่อยู่ในถุงลมปอดได้หมด จะมีเอนไซม์ออกมาละลายไฟบริน เม็ดเลือดขาวและหนองจะถูกขับออกมาเป็นเสมหะลักษณะเป็นสีสนิมเหล็ก
สาเหตุ
ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
ติดเชื้อแบคทีเรีย
เช่น Streptococcus pneumoniae,
Haemophilus influenzae type B,
Chlamydia pneumoniae,
Legionella spp.,
Mycoplasma pneumoniae
ติดเชื้อไวรัส
เช่น Respiratory Syncytial Virus (RSV),
Influenza หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่
ติดเชื้อราจากมูลนกหรือซากพืชซากสัตว์
ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
เกิดจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
ต่อระบบทางเดินหายใจ
ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้ การใช้ยาปฏิชีวนะ
ยาเคมีบำบัด และยาควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิด
อาการ
ทฤษฎี
ไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบเหนื่อย อาจมีอาการไอแห้งในระยะแรก
ต่อมาไอมีเสมหะขุ่นข้นออกมาเป็นสีเหลือง/สีเขียว/สีสนิมเหล็ก
หรือมีเลือดปน อาจมีอาการเจ็บแปลบบริเวณหน้าอกเวลาหายใจเข้า/
เวลาไอแรงๆ บางครั้ง หรืออาจมีอาการปวดร้าวที่หัวไหล่/สีข้าง/ท้อง
กรณีศึกษา
last admit 23-30 เมษายน 2565 มีไข้หนาวสั่น สะอึกมากขึ้น ซึมลง ไอมีเสมหะ
การวินิจฉัย
ทฤษฎี
Chest X-rays : พบน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion)
หรือเกิดฝ้าขาวในปอด (Infiltrate)
Lab : การย้อมสีเสมหะและการส่งเสมหะเพาะเชื้อ
การตรวจเลือด
การตรวจร่างกาย : ฟังเสียงหายใจได้ยินเสียง fine/ crepitation/ rhonchi/ wheezing พบอาการซึม หยุดหายใจเป็นพักๆ หายใจลำบาก อกบุ๋มเวลาหายใจเข้า หายใจเร็วผิดปกติ มีไข้สูง
กรณีศึกษา
Lab Sputum พบเชื้อ Escherichia coli ESBL pneumonia 4+
ตรวจร่างกาย : ฟังเสียงหายใจเข้าได้ยินเสียง crepitation
การรักษา
ทฤษฎี
พิจารณาให้ออกซิเจน ยาขับเสมหะ ยาปฏิชีวนะ
กรณีศึกษา
ได้รับยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Meropenem 1 g V q 8 hr
และ Amoxicillin 500 mg 2X3 po pc
Sepsis
ติดเชื้อในกระแสเลือด
พยาธิสภาพ
การติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย โดยติดเชื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จากนั้นเชื้อแบคทีเรียซึมเข้าสู่กระแสเลือด หากไม่ได้รับการรักษาทันที
อาจเกิดการอักเสบทั่วร่างกายซึ่งทำให้ลิ่มเลือดอุดตันการลำเลียงออกซิเจนไปยัง
อวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำให้อวัยวะส่วนนั้นล้มเหลวได้
สาเหตุ
ติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Gram-negative bacilli, Escherichia coli, H.influenzae, Neisseria meningitidis, Streptococcus pyrogenes, S.pneumoniae, Gram-negative bacteria,
Gram-positive bacteria
เกิดจากเชื้อรา
อาการ
ทฤษฎี
หายใจเร็วเหนื่อยหอบ ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกหนาว
มือเท้าเย็น มีไข้สูง
กรณีศึกษา
แรกรับมีไข้หนาวสั่น สัญญาณชีพแรกรับ T= 37.1 ๐C, PR = 102 bpm, RR = 18 bpm, BP= 80/38 mmHg
การวินิจฉัย
ทฤษฎี
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ปัสสาวะ ติดเชื้อแบคทีเรีย
เสมหะ ติดเชื้อแบคทีเรีย
MRI, X-rays, Ultrasound, CT-scan
กรณีศึกษา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ปัสสาวะ : พบ WBC 10-20 cell/HPF แพทย์วินิจฉัย UTI
Sputum : e.coli ESBL pneumonia แพทย์วินิจฉัย pneumonia
Stool : salmonella AGE
การรักษา
ทฤษฎี
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มระดับความดันโลหิตให้คงที่
ยาปฏิชีวนะ
ยาเพิ่มความดันโลหิต ทำให้หลอดเลือดตีบลงและเพิ่มความดันโลหิต
กรณีศึกษา
ได้รับยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Meropenem 1 g V q 8 hr
และ Amoxicillin 500 mg 2X3 po pc
UTI : Urinary tract infection
ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
พยาธิสภาพ
Upper Urinary tract infection : ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน
หมายถึง การติดเชื้อที่ไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กรวยไต (pyelonephritis) โดยแบ่งเป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (acute pyelonephritis) และกรวยไตอักเสบเรื้อรัง (Chronic pyelonephritis)
Lower Urinary tract infection : ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
โดยมีกลุ่มของอาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปวดเบ่ง ปัสสาวะบ่อย หรืออาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
ซึ่งจะสังเกตพบว่าปัสสาวะมีสีเหลืองสีน้ำล้างเนื้อผ
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Escherichia, Staphylococci, Pseudomonas species, Streptococci,Gram-negative bacteria อาจเกิดจากการใส่สายสวนปัสสาวะ
การส่องกล้องทางท่อปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่หมด มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
มีการอักเสบของเยื่อบุท่อไต โรคเบาหวาน
อาการ
ทฤษฎี
ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปัสสาวะไม่สุด ปวดบริเวณท้องน้อย
ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด ปัสสาวะขุ่นมีตะกอน ปัสสาวะปนเลือด ตรวจพบเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรียในปัสสาวะ
กรณีศึกษา
ปัสสาวะสีแดงเข้มขุ่น
Lab Urinalysis : WBC 10-20 cell/HPF(ปกติ0-5)
RBC มากกว่า 100 cell/HPF(ปกติ 0-5)
การวินิจฉัย
ทฤษฎี
การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะพบ Bacteriuria,
Pyuria (WBC >10 cell/HPF),
Nitrite-positive urine (with nitrite reducer),
Leukocyte esterase-positive urine,
Antibody-coated bacteria (Upper UTI)
กรณีศึกษา
Lab Urinalysis : WBC 10-20 cell/HPF(ปกติ0-5)
RBC มากกว่า 100 cell/HPF(ปกติ 0-5)
การรักษา
ทฤษฎี
ให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ
กรณีศึกษา
ได้รับยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Meropenem 1 g V q 8 hr
และ Amoxicillin 500 mg 2X3 po pc
Chief complaint
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ปัสสาวะสีแดงเข้มขุ่น มีไข้วัดได้ 38 องศาเซลเซียส ไอมีเสมหะ
Present illness
2 วันก่อนมาโรงพยาบาล เริ่มมีไข้ วัดได้ 38 องศาเซลเซียส
ได้รับยาพาราเซตามอลไข้ลดลง
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ปัสสาวะสีแดงเข้มขุ่น มีไข้ ไอมีเสมหะ อาการไม่ดีขึ้นจึงนำส่งโรงพยาบาล
3 วันก่อนมาโรงพยาบาล ปัสสาวะสีแดงเข้มขุ่นตลอดเวลา
Past illness
Hypertension และ Dyslipidemia รักษาที่สถาบันบำราศนราดูร