Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไข้ออกผื่นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (bacterial infection) - Coggle Diagram
ไข้ออกผื่นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (bacterial infection)
ไข้ดำแดง (Scarlet fever)
• พบมากในเด็กวัยเรียน ปัจจุบันพบโรคนี้น้อยลง
• สาเหตุเกิดจากเชื้อ Streptococcus group A
• ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ ภายในปากแดง ลิ้นเป็นฝ้าขาว เห็น papillary บวมแดง เรียก white strawberry tongue หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็น red strawberry tongue ผื่นปรากฏภายใน 1-2 วันหลังจากมีไข้ ลักษณะเป็นผื่นแดงคล้ายกระดาษทราย (sand-paper like) หน้าแดง แต่บริเวณรอบปากซีด (circumoral pallor) บริเวณข้อพับเห็นเป็นจุดเลือดออกเรียบเป็นเส้น (pastia’s lines) หลังจากผื่นหายจะมีการลอกของผิวหนังเป็นแผ่นใหญ่ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นชัดบริเวณมือ เท้า ลอกเป็นแผ่น แต่ตามตัวลอกเป็นขุย ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของโรค
• การวินิจฉัย จะอาศัยอาการทางคลินิกร่วมกับผลเพาะเชื้อในคอได้เชื้อ Streptococci group A
• การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ Streptococcus ได้แก่ amoxicillin 25-50 mg/kg/day นาน 10 วัน หรือ benzathine penicillin 25,000 unit/kg ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว
• โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ rheumatic fever และ acute glomerulonephritis
Leptospirosis
• เกิดจากการติดเชื้อ Leptospira
• มีประวัติผู้ป่วยไปเล่นน้ำ ซึ่งสัมผัสกับอุจจาระและปัสสาวะหนูที่มีเชื้อนี้
• อาการสำคัญ คือ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อมาก ตาแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการของ aseptic meningitis หรือตัวเหลืองร่วมด้วย ลักษณะผื่นเป็นแบบ erythematus maculopapular rash
• การวินิจฉัย อาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือดหา titer ของ Leptospira
• การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ penicillin หรือ tetracycline นาน 7-10 วัน
ไข้กาฬหลังแอ่น (meningococcemia)
• เกิดจากการติดเชื้อ Niesseria meningitides
• อาการทางผิวหนัง พบประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ที่ติดเชื้อ ลักษณะผื่นเป็น maculopapular rash หรือพบเป็น petechiae หรือ stellate purpura บริเวณแขน ขา ฝ่าเท้า ฝ่ามือ ร่วมกับมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ช็อก หรืออาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
• การวินิจฉัยที่ยืนยัน คือ ทำ gram strain จากบริเวณ hemorrhagic pustules ถ้าพบ gram negative diplococci อยู่เป็นคู่ จะช่วยการวินิจฉัยโรค และควรยืนยันการวินิจฉัยโดยการเพาะเชื้อจากเลือดหรือน้ำไขสันหลัง
• การรักษา ในรายที่สงสัยการติดเชื้อ meningococcus ต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะ เช่น cefotaxime หรือ penicillin ขนาดสูงฉีดทางหลอดเลือดดำนาน 7-10 วัน
Toxic shock syndrome
• พบไม่บ่อยในเด็ก เป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีอัตราตายสูงถ้าไม่ได้รับการรักษา
• เกิดจาก toxin ของเชื้อ Staphylococcus (toxic shock syndrome-1 และ toxic shock syndrome-2)
• อาการแสดงเริ่มด้วยไข้สูง อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ และมีความดันโลหิตต่ำ หรือในรายรุนแรงอาจมีอาการช็อกร่วมด้วย ลักษณะผื่นเป็นแบบ diffuse macular erythroderma rash หรือ sunburn rash ซึ่งต่อมา 1-2 สัปดาห์หลัง มีไข้ ผื่นจะลอกทั้งตัว โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าจะลอกเห็นได้ชัด นอกจากผื่นอาจพบอาการของระบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน การทำงานของตับ ไต ระบบประสาท ระบบเลือด ผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
• การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดครอบคลุมเชื้อ Staphylococcus และรักษาภาวะช็อก
Staphylococcus scalded skin syndrome (SSSS)
• พบในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
• เป็นโรคที่มีอาการรุนแรง เกิดจาก epidermolytic toxin หรือ exfoliative exotoxin A และ B (ETA & ETB) ของ Staphylococcus aureus group 2 phage type 55,71 จากการติดเชื้อของ Staphylococcus aureus ที่ nasopharynx สะดือ นัยน์ตา และผิวหนัง
• ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ร้องกวน ผื่นแดงทั้งตัว (erythroderma) เจ็บบริเวณผิวหนัง (cutaneous tenderness) บริเวณหน้าเห็นเป็นผื่นสะเก็ดรอบปากและตา (periorificial crusting) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค ต่อมา 24-48 ชั่วโมง ผิวหนังพองเป็นตุ่มน้ำ การตรวจ Nikosky’s sign ให้ผลบวก
• การวินิจฉัย ต้องแยกจาก toxic epidermal necrolysis (TEN) ซึ่งเกิดจากการแพ้ยา และทำให้เกิดผิวหนังลอกเช่นกัน ในรายที่มีปัญหาในการวินิจฉัยโรค การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา (skin biopsy) จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค
• การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ครอบคลุมเชื้อ Staphylococcus เช่น cloxacillin 100 mg/kg/day นาน 7-10 วัน ระวังปัญหาการสุญเสียน้ำและเกลือแร่ทางผิวหนัง ถ้าเป็นตุ่มน้ำใสให้ wet dressing ด้วยน้ำเกลือ ในระยะที่ผิวลอกควรใช้ยาทาเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
• การพยากรณ์โรค ในรายที่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผื่นจะหายภายใน 10-14 วัน โรคแทรกซ้อนที่พบได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรีย อัตราการตายร้อยละ 3-5