Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis), ภาพ, ภาพ, ภาพ,…
โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute cholecystitis)
ข้อมูลกรณีศึกษา
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 60 ปี
อาการสำคัญ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ไม่คลื่นไส้อาเจียนและไม่ถ่ายเหลว 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน 4 วันก่อน ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ไม่มีอาการอาเจียนและไม่ถ่ายเหลว 1 วันก่อนปวดมากขึ้น
ไม่มีโรคประจำตัว
พยาธิสภาพ
Acute Cholecystitis ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน การอักเสบเกิดขึ้น เนื่องจากมีการระคายเคืองจากน้ำดีที่เข้มข้น ทำให้เกิดถุงน้ำดีอักเสบจากการระคายเคืองของสารเคมีในน้ำดี เนื่องจากมีนิ่วมาอุดกั้นหรือติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยผนังถุงน้ำดีอักเสบจะหนาตัวขึ้นและบวม ผนังท่อน้ำดีบวม ทำให้เกิดอาการปวดตื้อๆและรุนแรงขึ้นเรื่อยมีไข้ เม็ดเลือดขาวสูงขึ้น อาการตัวตาเหลือง กดเจ็บบริเวณท้องส่งบน และคลำได้ก้อนของถึงน้ำดีที่อักเสบบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา รู้สึกถุงน้ำดีโป่งตึง จากการมีสิ่งขับหลั่ง exudate จากการอักเสบและน้ำดีออกมา การอักเสบอาจลุกลามไปถึงอวัยวใกล้เคียง โดยเฉพาะเยื่อบุท้อง ถ้ายังปล่อยทิ้งไว้ ถุงน้ำดีจะเต็มไปด้วยหนอง empyrean of the gallbldder และจะแตกออก หนองเข้าไปในช่องท้องได้ประมาณ 95% ของผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันมักเกิดจากนิ่ว ที่เหลือสัมพันธ์กับโรคไข้ไทฟอยด์หรือการติดเชื้อจากการมีไข้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด
เพศหญิง , พันธุกรรม , เชื้อชาติ , ผู้สูงอายุ , อาหาร , ภาวะอ้วน , การกินยาลดไขมันในเลือดบางชนิด , การอักเสบเรื้อรังของถุงน้ำดี , โรคเบาหวาน , ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ
ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง เป็นผู้สูงอายุ ชอบรับประทานอาหารรสเค็ม น้ำหนัก 54 กิโลกรัม ส่วนสูง 154 เซนติเมตร BMI = 24.00 อยู่ในเกณฑ์อ้วนระดับที่ 1
อาการและอาการแสดง
ปวดท้องข้างขวา ปวดร้าวไปข้างหลัง ท้องผูก มีไข้ขึ้นๆลงๆ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
ผู้ป่วยปวดท้องใต้ชายโครงขวา ท้องผูก ปัสสาวะสีเหลืองเข้มและไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
การวินิจฉัยโรค
ผล CT scan
Acute cholecystitis with few gallstones at gallbladder neck and body, size 0.4-1.0 cm. No evidence ofgallbladder perforation or collection formation.
No dilatation of CBD or IHDs. No radiopaque CBD stone.
Few tiny hypodense lesions at hepatic segment 4a and 2/3, too small to characterizefavored liver cysts, size 0.3-0.5 cm.
ซักประวัติ การตรวจหน้าท้องและก้อนในท้องโดยการดูและคลำ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับอ่อนและการทำงานของตับ อัลตราซาวด์ เพื่อดูว่าภายในถุงน้ำดีมีก้อนนิ่ว เยื่อบุหนาที่ถุงน้ำดี ปริมาณน้ำดีที่มากเกินไป
สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี พบได้สูงประมาณ 90-95% อาจเกิดเนื่องจากก้อนนิ่วที่ไปอุดตันท่อน้ำดีจนส่งผลให้น้ำดีไหลออกจากถุงน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ไม่ได้ ทำให้ถุงน้ำดีมีแรงดันเพิ่มและมีการขยายตัวมากขึ้นจนไปกดเบียดหลอดเลือดต่างๆ เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการอักเสบขึ้นตามมา
สาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี พบได้เพียงประมาณ 5-10% โดยอาจเกิดจากถุงน้ำดีติดเชื้อแบคทีเรีย, เกิดจากเนื้องอกของถุงน้ำดีหรือของท่อน้ำดี, เกิดจากท่อน้ำดีตีบตันจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ไม่ใช่จากนิ่ว , เกิดจากโรคไทฟอยด์ , เกิดจากถุงน้ำดีได้รับอุบัติเหตุและเกิดการฉีกขาด
การรักษา
การรักษาด้วยการผ่าตัด Cholecystectomy
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy)
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)
การรักษาด้วยยา
การให้ยาปฏิชีวนะ โดยการให้ยาที่ครอบคลุมเชื้อทั้งชนิดกรัมบวกและกรัมลบ เพื่อรักษาการติดเชื้อ
ผู้ป่วยรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะโดยให้เป็น ceftriaxone และ meropenem และการให้งดน้ำงดอาหารเพื่อให้ถุงน้ำดีได้พักในระยะที่มีอาการปวดมาก
ข้อวิจฉัยการพยาบาล
ไม่สุขสบายจากปวดท้อง
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากงดน้ำงดอาหาร
แบบแผนการขับถ่ายเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีภาวะท้องผูก
กิจกรรมพยาบาล
ระยะก่อนผ่าตัด
ประเมินลักษณะการปวดท้อง การเคลื่อนไหวของลําไส้ท้องแข็งเกร็ง กดเจ็บทั่วท้อง ลําไส้มีการเคลื่อนไหวลดลง อาจมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องต้องรีบรายงานแพทย์
ดูแลการได้รับสารน้ําและอิเล็กโทรไลต์ตามแผนการรักษา
ประเมินภาวะขาดน้ํา และการเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ รวมทั้งการติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ดูแลให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ําก่อนไปตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาก่อนไปห้องผ่าตัดตามแผนการรักษา เช่น ยาโรคประจําตัว
การให้คําแนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด
ระยะหลังผ่าตัด
ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเมื่อแรกรับ
2.ตรวจวัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที่ 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมง 4 ครั้ง รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ ได้แก่ ชีพจรเต้าเบาเร็ว ความดันโลหิตตก หายใจไม่สม่ำเสมอ
ดูแลอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับปกติด้วยการห่มผ้าให้ความอบอุ่น
ดูแลระบบทางเดินหายใจ
ดูแลเพื่อบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา
ดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและความไม่สุขสบาย
7.ช่วยในการพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง กระตุ้นให้ลุกนั่งลงจากเตียงหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง
นางสาวสิตานัน พงษ์งาม เลขมี่ 77 รหัสนักศึกษา 63124301077