Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พื้นฐานการสื่อสารข้อมูล และประเภทของเครือข่าย - Coggle Diagram
พื้นฐานการสื่อสารข้อมูล และประเภทของเครือข่าย
ความหมาย/แนวคิดของการสื่อสารข้อมูล คือกระบวนการรูปแบบหนึ่งในการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ (Transmission) หรือ เรียกว่าต้นทางกับปลายทางก็ได้ ผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจ
เทคโนโลยีโทรคมนาคมหมายถึงการสื่อสารระยะใกล้และไกล โดยการรับส่งสัญญาณเสียง ข้อความและภาพ ผ่านสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นไฟฟ้า แสง หรือวิธีอื่นใดที่ทำงานร่วมกัน เช่น โทรสาร ววิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต วิทยุกระจายและโทรทัศน์ Remote Control เป็นต้น
การสื่อสารข้อมูลจะมีคุณภาพพื้นฐาน 3 ประการด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย
การส่งมอบข้อมูล
คือระบบจะต้องสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับปลายทางได้อย่างถูกต้อง
ความถูกต้องและแน่นอน
คือระบบจะต้องส่งข้อมูลได้ถูกต้องและมีความแน่นอน หากข้อมูลที่ส่งเกิดการเสียหาย จะต้องมีระบบส่งข้อความเตือน รวมถึงการกู้ข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลรอบใหม่ เป็นต้น
ระยะเวลา
คือระบบจะต้องส่งข้อมูลไปยังปลายทางในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ระบบ Real Time ที่จะต้องตอบสนองเวลาจริงแบบทันทีทันใด ดังนั้นข้อมูลที่ถูกส่งไปจะต้องส่งบนสายสื่อสารที่มีความเร็วสูง และต้องมีค่าหน่วงเวลาน้อยที่สุดที่ระบบนั้นๆ สามารถยอมรับได้
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
ผู้ส่ง (sender)
ผู้รับ(receiver)
ข่าวสาร(message)
สื่อกลาง(media)
โพรโทคอล(protocol)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
ประโยชน์ของเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup)
แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวาง และสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยี
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ 1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) 2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN) 3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)