Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3/4 - Coggle Diagram
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3/4
สมาชิกในกลุ่ม
ด.ช.นัธทวัฒน์ นาคบรรพต เลขที่ 7
ด.ช.ทวีรัฐ พูลแก้ว เลขที่ 4
ด.ช.กษิดิ์เดช สุขการัก เลขที่1
ด.ช.สัพพัญญู เซ่งลอยเลื่อย เลขที่ 16
ด.ญ.กาญจน์ชนิจ บูเก็น เลขที่17
ด.ญ.สุภัสรา หลงสาม๊ะ เลขที่ 28
ด.ญ.ณัฏฐณิชา จางวาง เลขที่ 36
ด.ญ.นัซนีน สูเหม เลขที่ 39
การสื่อสาร มี 2 ระบบ
การสื่อสารสองทาง (Two-way communication) เป็นการติดต่อสื่อสารที่ผู้รับสารมีการตอบสนอง และมีปฏิกิริยาตอบกลับไปยังผู้ส่งสาร สามารถโต้ตอบ ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดกันได้
การสื่อสารทางเดียว (One-way communication) เป็นการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่ผู้ส่งเป็นผู้ให้ข่าว มีอิทธิพลต่อผู้รับเพียงฝ่ายเดียว โดยผู้รับไม่มีโอกาสโต้ตอบ หรือซักถามข้อสงสัยใดๆ
ข้อดีของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
4.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5.สร้างปฏิสัมพันธ์เพิ่มขึ้นกับเพื่อร่วมงานและคนอื่นๆ
3.ปรับความเข้าใจผิดและลดโอกาสการเกิดความขัดแย้ง
6.สร้างความมั่นใจให้ตนเองและคนรอบข้าง
2.ช่วยให้เห็นวิถีทางในการแก้ไขเรื่องต่างๆ
7.โอกาสความก้าวหน้าในเรื่องต่างๆของชีวิต
1.ช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆได้ง่ายขึ้น
ประเด็นที่น่าสนใจขององค์ประกอบการสื่อสาร คือ
ผู้ส่งสารและผู้รับสาร อาจมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร ระบบสังคม และขนบวัฒนธรรมความคิดความเชื่อที่แตกต่างกัน การสื่อสารจึงควรเป็นไปโดยปราศจากอคติ
เมื่อมีเป้าหมายการสื่อสารแล้วว่าจะสื่อสารอะไร สิ่งสำคัญต่อไปคือ จะสื่อสารกับใคร การวิเคราะห์และทำความเข้าใจผู้รับสารและบริบทของผู้รับสาร ก่อนจะช่วยให้เราในฐานะผู้ส่งสารสามารถออกแบบข้อความ และเลือกช่องทางการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น
ข้อความ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลที่เป็นคำพูด กับ ข้อมูลที่ไม่ใช่คำพูด (อวัจนภาษา – กิริยาท่าทาง สัญลักษณ์ เป็นต้น)
สิ่งรบกวน (Noise) เป็นสิ่งที่จะทำให้การส่งสารเกิดความผิดพลาด เข้าใจผิด หรือตีความหมายผิดไป เช่น การไม่ตั้งใจฟัง สื่อที่เลือกใช้ขาดประสิทธิภาพ เสียงพูดไม่ชัดเจน สภาพแวดล้อมไม่เอื้อให้พูดคุยได้อย่างลื่นไหล ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงของการใส่รหัส และถอดรหัส
ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) มีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการสื่อสารว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
อยากฝึกทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรดี?
1] เตรียมตัวก่อนคุย
2]สร้างพื้นที่ปลอดภัย
3]ซื่อสัตย์ต่อความต้องการ
4ไม่ละเลยกิริยาท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึก
5]ทดลอง-สังเกต-ทดลองใหม่
การพัฒนาทักษะการสนทนา (Conversation)
*แสดงความจริงใจและผ่อนคลาย
*พูดอย่างชัดคำชัดถ้อยและไม่เร่งจนเกินไป
*เลือกคำพูดใฟ้เหมาะสม
*ปฏิเสธอย่างสุภาพ
*หัดถามคำถาม
ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
การเป็นผู้ฟังที่ดี
การฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการฝึกสื่อสาร หากเราฝึกฟัง โดยการมีสติ อยู่กับปัจจุบัน ตั้งใจฟังคนตรงหน้าอย่างตั้งใจ และจริงใจ ไม่พูดแทรก จะทำให้คู่สนทนารู้สึกว่าเราใส่ใจ และอยากที่จะเล่า และเราเองก็จะรับรู้สารสำคัญที่เขาต้องการสื่อ ในทางตรงกันข้าม หากเราชอบที่จะพูดแบ่งปัน และฟังน้อย หรือตัดบทเวลาพูดอื่นพูด หรือพูดสวน/ พูดแทรก อาจทำให้คู่สนทนารู้สึกไม่ดี ไม่อยากคุยด้วย ไม่อยากฟัง รู้สึกว่าไม่ให้ความสำคัญหรือให้เกียรติเขาน้อย รวมถึงไม่อยากร่วมมือด้วย หากมาขอความช่วยเหลือค่ะ
การเปิดใจ
การสื่อสารที่ดีจะเกิดขึ้นได้นั้น เราต้องเปิดใจที่จะรับฟังมุมมองหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
2.การสื่อสารด้วยอวัจนภาษา
ในการสื่อสารอวัจนภาษา คือ คำพูดมีผลเพียง 7% ส่วนที่เหลืออีก 93% คือ อวัจนะภาษา ได้แก่ ภาษากาย และน้ำเสียง มีผลต่อการสื่อสารถึง 55% และ 38% ตามลำดับ ภาษากาย เช่น การยิ้ม การสบตา ท่านั่งสบายๆ ผ่อนคลาย เอนมาข้างหน้า เป็นภาษากายที่ดีในการสื่อสารค่ะ ส่วนน้ำเสียงจะสะท้อนถึงความรู้สึกภายในของผู้พูด
4.การตั้งคำถาม
การถามคำถามแสดงถึงความสนใจในการฟังและช่วยในการเช็คความเข้าใจเนื้อความ หรือเข้าใจรายละเอียดที่เพิ่มขึ้น คำถามมีหลายรูปแบบ เช่น คำถามปลายเปิด เช่น อะไร อย่างไร ช่วยให้เราได้ลายละเอียดเพิ่มขึ้น คำถามปลายปิด เช่น ใช่หรือไม่ เราสามารถนำมาใช้ในการเช็คความถูกต้องของเนื้อความที่เราได้ยินได้
ความเป็นมิตร
ความเป็นมิตรจะแสดงออกผ่านน้ำเสียงและสีหน้า หากคู่สนทนารู้สึกถึงความเป็นมิตร เขาจะเปิดใจที่จะรับฟัง และเสนอความเห็น/ตอบอย่างจริงใจ ไม่ปิดบัง
ความมั่นใจ
ความมั่นใจจะแสดงออกทางน้ำเสียง หากน้ำเสียงหนักแน่น มั่นใจ จะส่งผลให้ผู้ฟังเชื่อในสิ่งที่คุณพูด