Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นเมือง ๔ ภาค - Coggle Diagram
การแสดงพื้นเมือง ๔ ภาค
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือเรามักเรียกว่า “ ฟ้อน “ มีลักษณะคล้ายระบำ แต่ที่ไม่เรียกว่าระบำ เพราะฟ้อนมีจังหวะและลีลาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนระบำหรือการแสดงอื่นๆ
-
ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก
การแต่งกาย ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น 8 หรือ 10 คน ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ อาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย มีอุบะห้อยศีรษะ โอกาสที่แสดง ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา
-
-
-
ศิลปินพื้นเมือง
เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์พื้นเมืองล้านนา) ประจำปีพุทธศักราช 2541
-
ผู้รับผิดชอบ นางสาวนันท์ชนก จารุลักขณา เลขที่40 ผู้รับผิดชอบศิลปินพื้นบ้าน นางสาวพลอยพรรณ นิลปักษ์ เลขที่42
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว
การแสดงเต้นกำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบทในภาคกลางของไทย แถบจังหวัดนครสวรรค์ ที่อำเภอพยุหะคีรี ซึ่งแต่เดิมประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลักและด้วยนิสัยรักสนุก ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของไทยด้วย จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น
การแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย และเสื้อกุยเฮงสีดำมีผ้าขาวม้าคาดเอวสวมงอบและจะไม่ใส่รองเท้า ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอกสีดำหรือเป็นสีพื้นก็ได้และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
ดนตรีที่ใช้ ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ และร้อง เฮ้ เฮ้ว ให้เข้าจังหวะไป
-
-
ศิลปินพื้นบ้าน ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ปี 2539 จากการเป็นแม่เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียง เต็มไปด้วยความสามารถในการเล่นเพลงแบบหาตัวจับได้ยาก และเมื่อหันเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่ง ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีผลงานเพลงดังมากมาย ในจำนวนนั้นก็เป็นเพลงที่เกิดจากการแต่งของตัวเองด้วยหลายเพลง โดยในการนำเสนอเพลงลูกทุ่ง ขวัญจิต ศรีประจันต์ ก็ได้นำท่วงทำนองเพลงพื้นบ้านภาคกลางเข้ามาผสมผสานอย่างลงตัว
-
ผู้รับผิดชอบ นางสาวกัญญ์ชญา สุขสวัสดิ์ เลขที่25 ผู้รับผิดชอบศิลปินพื้นบ้าน นางสาวพลอยพรรณ นิลปักษ์ เลขที่42
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน
การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
การแต่งกาย ชายนุ่งกางเกง ใส่เสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าคาดพุง และมีผ้าพันศีรษะ เป็นผู้เล่นดนตรีประกอบการฟ้อน หญิงแต่งตัวแบบพื้นเมืองเดิม เกล้ามวยผม ใส่เล็บยาว ผูกแถบผ้าสีแดงบนมวยที่เกล้าไว้
การฟ้อนภูไทนี้ เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวผู้ไท เดิมที่นั้นการร่ายรำแบบนี้เป็นการร่ายรำเพื่อถวายพระธาตุเชิงชุมแต่อย่างเดียว ต่อมาได้ใช้ในงานแสดงในงานสนุกสนาน รื่นเริงต่างๆด้วย
-
-
-
ศิลปินพื้นบ้าน เปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติปีพ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีอีสานพื้นบ้าน-โปงลาง) นักดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีความสามารถพิเศษสามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่น ดนตรีพื้นบ้านอีสานได้เกือบทุกชนิด ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลางและอื่นๆ โดยเฉพาะ "โปงลาง" นั้น สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นได้เป็นพิเศษ และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา 40 ปี จนทำให้ "เกราะลอ" ซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ตีไล่นก กา ตามไร่ ตามนา พัฒนามาเป็น "โปงลาง"
-
ผู้รับผิดชอบ นางสาวปาริชาต์ หวุ่นจันทร เลขที่41 ผู้รับผิดชอบศิลปินพื้นบ้าน นางสาวพลอยพรรณ นิลปักษ์ เลขที่42
การแสดงพื้นภาคใต้
ศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ -วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา
-วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ
ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ มีรากฐานเดิมมาจากคำว่า ลิเก คือการอ่านทำนองเสนาะ และคำว่า ฮูลู ซึ่งหมายถึง ทิศใต้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว คือ การขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้
ลิเกฮูลู เริ่มต้นด้วยการแสดงด้วยดนตรีที่ใช้โหมโรงเป็นการเรียกผู้ชม ต่อจากนั้นนักร้องออกมาร้องเพลงในจังหวะต่าง ๆ ทีละคน เนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเริ่มแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์บ้านเมือง
การแต่งกายที่ใช้ในการแสดงลิเกฮูลู จะแต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุงผ้าโสร่ง สวมเสื้อคอกลม มีผ้าโพกหัว บางครั้งเหน็บขวานจะไว้ข่มคู่ต่อสู้ ต่อมานิยมแต่งกายแบบซีละ คือนุงกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะทับข้างนอกสั้นเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลม มีผ้าโพกหัวและนิยมใช้สีเหมือนกันทั้งคณะ
ดนตรีดิเกฮูลูประกอบด้วยรำมะนาอย่างน้อย 2 ใบ ใช้ตีดำเนินจังหวะในการแสดง ฆ้อง 1 วง เป็นเครื่องกำกับจังหวะ ตีสม่ำเสมอประกอบการแสดง นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบและเป็นที่นิยมกันว่ามีส่วนทำให้สนุกสนานกันมากยิ่งขึ้น เช่น ขลุ่ย ลูกแซก แต่จังหวะที่ใช้เป็นประเพณีในการเล่นคือ การตบมือ
-
-
ศิลปินพื้นเมือง ครูควน ทวนยก เบื้องหลังการละเล่น การร้องรำโนรา และการแสดงของหนังตะลุง ศิลปะพื้นบ้านเป็นที่นิยมของชาวบ้านทางภาคใต้ มีเสียงเครื่องดนตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง และปี่ สอดรับประสานกัน สร้างความเพลิดเพลิน ความสนุกสนานให้กับผู้ชมเบื้องหน้าเวที เสียงดนตรีประกอบการแสดงอาจเปรียบเทียบได้กับเครื่องปรุงรสชั้นยอดที่ขาดไม่ได้เมื่อปรุงอาหารอันเลิศรส ครูควน ทวนยก เป็นผู้ที่ได้ใช้ความสามารถเล่นดนตรีพื้นบ้านทั้งหนังตะลุง และการละเล่นโนรา โดยเฉพาะความถนัดทางด้านปี่ จนได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็น “พ่อครูปี่ภาคใต้”
-
ผู้รับผิดชอบ นางสาวจันทิมันตุ์ นิลพันธ์ เลขที่26 ผู้รับผิดชอบศิลปินพื้นบ้าน นางสาวพลอยพรรณ นิลปักษ์ เลขที่42