Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ - Coggle Diagram
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่
-
เป็นละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น มีลักษณะคล้ายกับ
ละครร้อง แต่จะมีบทร้องและบทเจรจาเท่ากัน จะตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกไม่ได้
-
การแต่งกาย:แต่งแบบสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามท้องเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย
ลักษณะการแสดง:มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพดเป็นการเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้อง และบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
-
-
-
ดนตรีและเพลงร้อง: ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องเกริ่นเรื่องและดำเนินเรื่อง ถ้าบทนั้นเป็นคำพูดของตัวละคร ผู้แสดงตัวนั้นจะต้องร้องเอง แต่ร้องเฉพาะที่เป็นถ้อยคำเท่านั้น ส่วนการเอื้อนลูกคู่จะเป็นผู้ร้องแทรกให้
ลักษณะการแสดง:ใช้การขับร้องดำเนินเรื่อง มีพูดสลับเจรจาสอดแทรกเพื่อทบทวนบท
ที่ผู้แสดงร้องมาแล้ว ถ้าตัดบทพูดออกก็ไม่เสียความใดๆ ใช้กิริยาท่าทางอย่างสามัญชนตามธรรมชาติ ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงเรียกว่า “ละครกำแบ”
-
ผู้แสดง:ละครร้องสลับพูด ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ยกเว้นตัวตลกหรือจำอวดที่เรียกว่า “ตลกตามพระ” ซึ่งใช้ผู้ชายแสดง มีบทเป็นผู้ช่วยพระเอกแสดงบทตลกบทตลกขบขันจริง ๆ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
ละครร้องล้วน ๆ ใช้ผู้ชาย และผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง
เป็นละครแบบใหม่ ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ใช้การร้องในการดำเนินเรื่องราว
มี ๒ ประเภท คือ
๑.๑ ละครร้องล้วนๆ หรือละครร้องแบบรัชกาลที่ ๖
ผู้ให้กำเนิดละครประเภทนี้คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเลียนแบบจากละครอุปรากรที่เรียกว่า โอเปอเรติก ลิเบรตโต
วิธีการแสดง เป็นละครที่ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ไม่มีคำพูดแทรก เล่าเรื่องเป็นเพลงแทนการเจรจา ใช้ท่าทางแบบสามัญชน อาจมีการรำแทรกบ้าง
การแต่งกาย แต่งกายตามท้องเรื่อง
ดนตรีและเพลงร้อง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เล่าเรื่องเป็นทำนองแทนการพูด ใช้ลูกคู่ร้องประกอบการแสดง มีการเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง
เรื่องที่แสดง ได้แก่ สาวิตรี เป็นละครร้องล้วนๆ เรื่องเดียวที่ไม่มีบทพูดเเทรกอยู่เลย
๑.๒ ละครร้องสลับพูด หรือละครร้องแบบกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิประพันธ์พงศ์
ทรงดัดแปลงนำเค้ามาจากการแสดงของชาวมลายูที่เรียกว่า“บังสาวัน”หรือ“มาเลย์โอเปร่า”ละครร้องสลับพูดนี้เกิดขึ้นพร้อมกับละครร้องล้วนๆ แต่ได้รับความนิยมมากกว่า
-
-
-
-
เป็นละครที่ใช้การพูดดำเนินเรื่อง ผู้ที่ริเริ่มละครพูดคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ละครนี้เป็นที่นิยมมาก
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ แบ่งเป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ ละครพูดล้วนๆ ละครพูดสลับลำ ละครพูดแบบร้อยกรอง
ผู้แสดง:ละครพูดล้วนๆ ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้
ละครพูดแบบร้อยกรอง ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง มีบุคคลิกและการแสดงเหมาะสมตามลักษณะที่บ่งไว้ในบทละคร น้ำเสียงแจ่มใสชัดเจนดี เสียงกังวาน พูดฉะฉาน ไหวพริบดี
ละครพูดสลับลำ ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง เหมือนละครพูดแบบร้อยกรอง
การแต่งกาย:ละครพูดล้วนๆ แต่งกายตามสมัยนิยม ตามเนื้อเรื่องโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของตัวละคร
ละครพูดแบบร้อยกรอง แต่งให้เหมาะสมถูกต้องตามบุคคลิกของตัวละคร และยุคสมัยที่บ่งบอกไว้ในบทละคร
ละครพูดสลับลำ การแต่งกายเหมือนละครพูดล้วนๆ หรือแต่งกายตามเนื้อเรื่อง
ลักษณะการแสดง:ละครพูดล้วนๆ การแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบ การพูดที่เป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของละครชนิดนี้คือ ในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจ มักจะใช้วิธีป้องปากพูดกับผู้ดุ ถึงแม้จะมีตัวละครอื่นๆ อยู่ใกล้ๆ ก็สมมติว่าไม่ได้ยิน
ละครพูดแบบร้อยกรอง การแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดที่เป็นคำประพันธ์ชนิด คำกลอน คำฉันท์ คำโคลง
ละครพูดสลับลำ ยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว บทร้องเป็นเพียงสอดแทรกเพื่อเสริมความ ย้ำความ
ดนตรี: ละครพูดล้วนๆ บรรเลงโดยวงดนตรีสกลหรือวงปี่พาทย์ไม้นวม แต่จะบรรเลงประกอบเฉพาะเวลาปิดฉากเท่านั้น
ละครพูดแบบร้อยกรอง บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆ
ละครพูดสลับลำ บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆ แต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่อง ถ้ามีบทร้อง ดนตรีก็จะบรรเลงร่วมไปด้วย
เพลงร้อง:ละครพูดล้วนๆ เพลงร้องไม่มี ผู้แสดงดำเนินเรื่องโดยการพูด
ละครพูดแบบร้อยกรอง เพลงร้องไม่มี ผู้แสดงดำเนินเรื่องโดยการพูดเป็นคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ
ละครพูดสลับลำ มีเพลงร้องเป็นบางส่วน โดยทำนองเพลงขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ที่จะแต่งเสริมเข้ามาในเรื่อง
-
-
เป็นรูปแบบของละครที่นำดนตรี เพลง คำพูด และการเต้นรำ รวมเข้าด้วยกัน การแสดงอารมณ์ ความสงสาร ความรัก ความโกรธ รวมไปถึงเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านละคร ผ่านคำพูด ดนตรี การเคลื่อนไหว เทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความบันเทิงโดยรวม ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 การแสดงละครเพลงบนเวทีจะเรียกว่าง่าย ๆ ว่า มิวสิคัล
-
-
ลักษณะการแสดง:การแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยบทเพลงที่ปรับปรุงขึ้นใหม่จากเพลงไทยเดิมเป็นเพลงไทยสากล ใช้ท่าทางที่เป็นธรรมชาติประกอบบทร้อง ผู้แสดงจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการร้องเพลงเป็นอย่างดี
-
เพลงร้อง จะเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยประยุกต์จากเพลงไทยเดิมมาเป็นเพลงไทยสากลตามจังหวะและทำนอง ที่ผู้ประพันธ์กำหนดขึ้นให้กับผู้แสดงได้ขับร้องในระหว่างแสดง
-