Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นเมือง 4ภาค, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/16
นายกฤตเมธ เดชบุญ เลขที่6…
การแสดงพื้นเมือง 4ภาค
ความหมาย คือ การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำ มีเพลงดนตรีประกอบ ที่วางไว้เป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลาย
ภาคกลาง
เต้นกำรำเคียว
ลักษณะวิธีการแสดง: จะแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายชาย เรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อ ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจจะเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกัน ร้องจนกว่าจะจบเพลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
การแต่งกาย: ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดพุงสวมงอบไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อกระบอกสีดำทั้งชุด ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าเช่นกัน ผู้แสดงทุกคนถือเคียวในมือขวา และถือรวงข้าวในมือซ้าย
-
ตัวอย่างการแสดง: เต้นกำรำเคียว ครูนาฏจารีย์ การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค โดยนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์โรงเรียนเลิงนกทา
-
-
-
ภาคใต้
โนราห์
ลักษณะวิธีการแสดง: การแสดงโนราเริ่มต้นจากการลงโรง (โหมโรง) กาดโรงหรือกาดครู (เชิญครู) "พิธีกาดครู" ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู เชิญครูมาคุ้มกันรักษา หลายตอนมีการรำพัน สรรเสริญครู สรรเสริญคุณมารดา เป็นต้น
การแต่งกาย: การแต่งกายของโนรา ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมด ตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู) จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่น ๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง หรือ "พาไล" และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม "เทริด" ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ
-
-
-
-
-
ภาคเหนือ
ฟ้อนเล็บ
ลักษณะวิธีการแสดง: ผู้แสดงจะร่ายรำตามทำนองเพลงที่เชื่องช้า ส่วนการใช้ท่าฟ้อนเล็บนั้น ช่างฟ้อนมักจะจำต่อ ๆ กันมา เป็นท่าฟ้อนดั้งเดิมของชาวเหนือ คือ
ท่าพายเรือ ท่าบัวบานบิด ท่าหย่อน
ต่อมาเมื่อนาฎศิลป์ทางภาคกลางแพร่มาสู่ภาคเหนือ การฟ้อนเล็บก็มีการปรับวิธีการฟ้อนให้เข้ากับท่ารำแม่บท เพิ่มท่ารำให้มากขึ้นและแตกต่างกันไป
การแต่งกาย: จะแต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ คือ เกล้าผมทัดดอกไม้และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลมห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง และ สวมเล็บมือยาว 8 นิ้ว เว้นแต่นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ
เครื่องดนตรี: กลองตึ่งนง วงต๊กเส้ง หรือวงปี่พาทย์ล้านนา(นิยิมใช้กับฟ้อนเล็บแม่ครูบัวเรียว) ซึ่งเป็นดนตรีของชาวภาคเหนือ ได้แก่ กลองแอว กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ฉิ่ง ปี่แนหน้อย ปี่แนหลวง แต่ถ้าเป็นวงต๊กเส้ง จะเพิ่ม สิ้ง มาด้วย
-
-
-
-
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เซิ้งกระติบ
ลักษณะวิธีการแสดง: มีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟซึ่งแต่เดิมเซิ้งอีสานจริงๆ ไม่มีท่าทางอะไรมีแต่กินเหล้ายกมือไม้สะเปะสะปะให้เข้ากับจังหวะเสียงกลองไปตามใจ
การแต่งกาย: ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ซ้ายเฉียงไปทางขวา แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้
-
-
-
-
-
แนวทางการอนุรักษ์: 1.ให้ความรู้พื้นฐานในด้านการแสดงนาฏศิลป์ทุกประเภทนับตั้งแต่ประวัติความเป็นมาลักษณะการแสดง
2.เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชมการแสดงนาฏศิลป์ไทยทุกประเภท
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/16
นายกฤตเมธ เดชบุญ เลขที่6 ทำmind map
นายกล้ากวี มุกสิกวงษ์ เลขที่14 หาข้อมูลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายธนากร เขียวบุญจันทร์ เลขที่17 หาข้อมูลภาคกลาง
นายธนกร บุญเลิศ เลขที่18 หาข้อมูลภาคใต้
นายสิรภัทร ต่างใจ เลขที่20 หาข้อมูลภาคเหนือ