Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ - Coggle Diagram
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่
ละครเพลง
-
-
-
-
เพลงร้อง จะเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยประยุกต์จากเพลงไทยเดิมมาเป็นเพลงไทยสากลตามจังหวะและทำนอง ที่ผู้ประพันธ์กำหนดขึ้นให้กับผู้แสดงได้ขับร้องในระหว่างแสดง
-
ละครเพลง เป็นรูปแบบของละครที่นำดนตรี เพลง คำพูด และการเต้นรำ รวมเข้าด้วยกัน การแสดงอารมณ์ ความสงสาร ความรัก ความโกรธ รวมไปถึงเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านละคร ผ่านคำพูด ดนตรี การเคลื่อนไหว เทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความบันเทิงโดยรวม ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 การแสดงละครเพลงบนเวทีจะเรียกว่าง่าย ๆ ว่า มิวสิคัล (musicals)
ละครเพลงมีการแสดงทั่วไป ทั่วโลก ละครเพลงมีความโดดเด่นในหลายประเทศในยุโรป ละตินอเมริกา และเอเชีย ละครเพลงในประเทศไทย เป็นละครของเอกชนที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ละครที่มีชื่อเสียงนี้คือ "คณะจันทโรภาส" เป็นละครของนายจวงจันทน์ จันทร์คณา (พรานบูรณ์) สิ่งหนึ่งที่พรานบูรณ์ทำเป็นหลักคือ ปรับปรุงเพลงไทยเดิมที่มีทำนองร้องเอื้อน มาเป็นเพลงไทยสากลที่ไม่มีทำนองเอื้อน นับเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงเพลงไทยเดิมมากทีเดียว
ละครร้อง
ความหมาย
กำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครร้อง ได้ปรับปรุงขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากละครต่างประเทศ ละครร้องนั้นต้นกำเนิด มาจากจากแสดงของชาวมลายู เรียกว่า “บังสาวัน” และต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแก้ไขปรับปรุงเป็นละครร้องเล่นที่โรงละครปรีดาลัย ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
ประเภท
1.ละครร้องสลับพูด
-
ลักษณะการแสดง มีทั้งบทร้องและบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ มีลูกคู่คอยร้องรับอยู่ในฉาก ยกเว้นแต่ตอนที่เป็นการเกริ่นเรื่องหรือดำเนินเรื่อง ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องทั้งหมด
-
ผู้แสดง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ยกเว้นตัวตลกหรือจำอวดที่เรียกว่า “ตลกตามพระ” ซึ่งใช้ผู้ชายแสดง มีบทเป็นผู้ช่วยพระเอกแสดงบทตลกบทตลกขบขันจริง ๆ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
-
-
-
ตัวอย่าง
-
2.ละครร้องล้วนๆ
-
-
-
-
-
ลักษณะการแสดง ตัวละครขับร้องโต้ตอบกัน และเล่าเรื่องเป็นทำนองแทนการพูดดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงล้วน ๆ ไม่มีบทพูดแทรก มีเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาบถของตัวละคร จัดฉากตามท้องเรื่อง ใช้เทคนิคอุปกรณ์แสงสีเสียงเพื่อสร้างบรรยากาศให้สมจริง
-
ตัวอย่าง
-
-
ละครสังคีต
ความหมาย ละครสังคีตเป็นละครที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆ กัน ละครสังคีต คำว่า "สังคีต" หมายถึง การรวมเอาการ ฟ้อนรำ และการละคร พร้อมทั้งดนตรีทางขับร้อง และดนตรีทางเครื่องด้วย ละครสังคีตหมายถึง ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้
-
-
การแต่งกาย แต่งตามสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามเนื้อเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย
-
-
-
ละครเวที
ความหมาย ประพันธ์บทโดยนักเขียน บทละคร เป็นรูปแบบของวรรณกรรม โดยมากมักจะมีบทพูดกันระหว่างตัวละคร ซึ่งมีลักษณะการแสดงมากกว่าการอ่าน ละครเวทีมีความแตกต่างจากละครเพลงซึ่งเน้นการร้องมากกว่า คาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก เริ่มต้นขึ้นจากการกล่าวคำบูชาเทพเจ้าไดโอนีซุส เทพเจ้าแห่งไวน์และความอุดมสมบูรณ์
จุดเด่นของละครเวที คือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
องค์ประกอบของละครเวที คือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำละครทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเวที เพราะมันคือ ตัวกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ ทุกอย่างในละคร ไม่ว่าจะเป็น โครงของเรื่อง, สีสันของแสง ของฉาก ของเสื้อผ้า และรวมไปถึงการแสดง ของนักแสดงด้วย
-
-
-
-
ละครพูด
ความหมาย
ละครพูดเริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรก เนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ประเภท
2.ละครพูดแบบร้อยกรอง
ผู้แสดง ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง มีบุคคลิกและการแสดงเหมาะสมตามลักษณะที่บ่งไว้ในบทละคร น้ำเสียงแจ่มใสชัดเจนดี เสียงกังวาน พูดฉะฉาน ไหวพริบดี
-
เรื่องที่แสดง 1. ละครพูดคำกลอน จากบทประพันธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เรื่องเวนิสวาณิช ทรงแปลเมื่อ พ.ศ. 2459 เรื่องพระร่วง ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2460 2. ละครพูดคำฉันท์ ได้แก่ เรื่องมัทนะพาธา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2466 3. ละครพูดคำโคลง ได้แก่ เรื่องสี่นาฬิกา ของอัจฉราพรรณ(อาจารย์มนตรี ตราโมท) ประพันธ์เมือปี พ.ศ. 2469
-
-
-
3.ละครพูดสลับลำ :
-
-
เรื่องที่แสดง ได้แก่ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่ ซึ่งเป็นของนายบัว ทองอิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องแทรก โดยใช้พระนามแฝงว่า "ศรีอยุธยา" และทรงแสดงเป็นหลวงเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. 2449
การแสดง ยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว บทร้องเป็นเพียงสอดแทรกเพื่อเสริมความ ย้ำความ
ดนตรี บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆ แต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่อง ถ้ามีบทร้อง ดนตรีก็จะบรรเลงร่วมไปด้วย
-
-
ผลงาน พ.ศ. 2422 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ลิลิตนิทราชาคริต จบบริบูรณ์แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมาคม "แมจิกัลโซไซเอตี" โดยมีสมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เป็นนายกสมาคมจัดการแสดงละครเรื่องนี้ขึ้น ทรงเป็นผู้กำหนดตัวละครเอง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ เป็นอาบูหะซัน พระองค์เจ้าจิตรเจริญ คือ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นตัวนางนอซาตอล พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการแสดงละครเรื่องอิเหนาในงานเฉลิมพระราชมนเทียร พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ละครที่แสดงในครั้งนี้เป็นละครรำ แต่มีบทเจรจาที่ทรงพระราชนิพนธ์เองบ้าง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรและเจ้านายพระองค์อื่นๆ แต่งถวายบ้าง
-
-
-