Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนประเทศ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี, image, image,…
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนประเทศ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี
ประเทศญี่ปุ่น
ละครโน
ละครโน เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 14 คือช่วงปลายสมัยคามาคุระ – สมัยมุโรมาจิ เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง การเมืองภายในมีความวุ่นวาย เต็มไปด้วยสงครามและการรบราฆ่าฟันกันไม่รู้จบแต่ละครโนกลับเป็นศิลปะการแสดงที่มีความสุขุมนุ่มลึกในรายละเอียดของอารมณ์ที่ผู้แสดงใช้ในการถ่ายทอด ผ่านมาทางท่าทาง และการเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ เป็นแนวรูปเลขาคณิต เนื้อหาของละครโดยมากจะเกี่ยวข้องกับการบูชาเทพเจ้า ซึ่งแสดงความเป็นละครโนได้ชัดเจนที่สุด ตามความเชื่อที่ถูกผสมผสานกันระหว่าง “ชินโต” ที่พูดถึงความสะอาด และเรื่องราวของเทพเจ้าในทุกสรรพสิ่ง ผสานเข้ากับ “พุทธ” ในเรื่องของความสงบเรียบง่าย โดยถ่ายทอดผ่านการเต้นรำในสมัยโบราณ และการฟ้อนรำในพิธีการบวงสรวงสักการะ ที่ถูกปรับปรุงให้ดีเลิศผ่านกาลเวลา จนถึงขีดสุดและได้รับความนิยมอย่างมาก กว่า 2 ศตวรรษในประวัติศาสตร์ของพวกเขา
อ้างอิง
https://th.anngle.org
ผู้รับผิดชอบ
น.ส.กันต์ฤททัย ผการัตน์
สืบค้นเมื่อนวันที่ 21 มิถุนายน 2565
ละครโน เป็นนาฏกรรมที่ใช้นักแสดงชายทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยนักแสดง 2 ประเภท ได้แก่ ตัวละครหลัก หรือ ชิเตะ และตัวละครสมทบ หรือ วากิ โดยเรื่องราวจะดำเนินไปตามบทบาทที่สะท้อนออกมาผ่านหน้ากากนั่นเองครับ และที่ขาดไม่ได้คือดนตรีประกอบ จากนักร้อง หรือ จิอุไต และนักดนตรี หรือ ฮะยะชิคะตะ
ละครโน กับสิ่งสำคัญ 4 อย่าง
เวที
เวทีละครโนนั้นเรียบง่าย ทำมาจากไม้ Ennoki มีจุดสำคัญอยู่ที่ฉากหลัง ที่วาดเป็นรูปต้นสน เรียกกันว่า คะกะมิอิตะ มีที่มาอยู่ที่ว่า แต่เดิมแล้วละครโนไม่ได้ทำการแสดงต่อหน้าผู้ชม แต่เป็นการแสดงต่อหน้าต้นสน ซึ่งเป็นที่สิงสถิตของพระเจ้าตามความเชื่อของชินโต ด้วยการมีเนื้อหาเป็นไปเพื่อบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ
หน้ากาก
นักแสดงทุกคนจะต้องสวมใส่หน้ากาก เป็นเครื่องบ่งบอกทั้งบทบาทที่ได้รับ อารมณ์ที่แสดงออก และบุคลิกของตัวละคร รวมถึง เพศ อายุ และอื่น ๆ หรือเรียกได้ว่าเป็นทั้งหมดของการแสดงที่ดึงดูดสายตาผู้ชมก็ว่าได้ การสวมใส่หน้ากากจะทำให้ผู้แสดงไม่สามารถก้มมองปลายเท้าในขณะแสดงได้ ดังนั้นจึงต้องใช้สมาธิและความชำนาญในการแสดงอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด และเป็นสาเหตุหลักของการเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของละครโน
เสื้อผ้า
เครื่องแต่งกายของละครโน เรียกว่า โนโชโซกุ ประกอบด้วยผ้าหลากหลายประเภท เป็นอีกส่วนสำคัญของการแสดงและบทบาทของตัวละคร เพราะบ่งบอกถึงฐานะ อารมณ์ และบุคลิก เพื่อเสริมกันกับหน้ากากได้เป็นอย่างดี และชุดที่มีความซับซ้อนยุ่งยาก มีรายละเอียดมากในการใส่นี้ เป็นอีกเสน่ห์ของการแสดงที่นักแสดงต้องใช้ความว่องไวในการเปลี่ยนด้วยผู้ช่วยที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อให้ก้าวออกมาสู่เวทีเบื้องหน้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ
สี
สีในละครโน ใช้ในการบ่งบอกสถานะของตัวละคร อันได้แก่
สีขาว แทน ชนชั้นสูง
สีแดง แทน หญิงสาว
สีฟ้าอ่อน แทน อารมณ์ที่หุนหันพลันแล่น
สีน้ำเงินเข้ม แทน คนที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
สีเขียวอ่อน แทน ข้าทาส บริวาร
สีน้ำตาล แทน คนรับใช้ ชาวไร่ชาวนา
บุคคลสำคัญ
ละครโนะเกิดขึ้นมาช้านานแล้วแต่เริ่มมาเฟื่องฟูในครึ่งหลังของศตวรรษที่14โดยมีคันอามิกับเซอามิสองพ่อลูกเป็นผู้วางรากฐานของการแสดงละครโนะอันเป็นแบบฉบับมาจนถึงปัจจุบันนี้
ประเทศเกาหลี
ระบำหน้ากากเกาหลี (Korean Mask Dance)
ที่เรียกว่า “ทัลชุม” (Talchum) เป็นการแสดงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังสามารถหาชมกันได้ในงานเทศกาลหรือการแสดงในแต่ละเมือง ในสมัยก่อนการระบำหน้ากากเกาหลีนั้นเป็นการแสดงของชนชั้นล่าง ที่มีการคับข้องใจจากการถูกกดขี่จากชนชั้นที่สูงกว่า เนื้อหาที่ใช้แสดงจึงจะเกี่ยวกับการเสียดสีสังคม การเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้น และเรื่องราวในวังต่างๆ ซึ่งขณะแสดงผู้แสดงจะสวมหน้ากากเพื่อปกปิดตัวตน และว่ากันว่าเสมือนได้ปลดปล่อยความอึดอัดใจภายใต้หน้ากากอีกด้วย
อ้างอิง
https://www.bareo-isyss.com/
ผู้รับผิดชอบ
น.ส.ชวิศา มัชฌิมาภิโร
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565
เนื้อหาที่ใช้ในการแสดง
ในปัจจุบันถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการออกแบบหน้ากาก แต่เนื้อหาของในแต่ละพื้นที่นั้นก็จะไปในทิศทางเดียวกันคือ การเสียดสีสังคม แต่จะเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเพราะปัจจุบันระบบขุนนางในวังได้หมดไปแล้ว ระบำหน้ากากทัลชุมจึงจะเน้นเรื่องราวของการกระทำผิดศีลธรรมในสังคมแทน เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้คนได้ตระหนักต่อการกระทำความผิดนั่นเอง
หน้ากากทัลชุม (Talchum Mask)
หน้ากากที่ใช้แสดงจะทำจากไม้ กระดาษ ผลน้ำเต้าหรือขนสัตว์ การออกแบบหน้ากากรูปแบบจะมีทั้งมนุษย์ เทพเจ้า รวมไปถึงอมนุษย์ที่มีรูปลักษณ์ผิดธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นสีหน้าในอิริยาบถการแสดงอารมณ์ของตัวละคร ได้ชัดเจนขึ้นเพราะในสมัยก่อนการแสดงทัลชุมนั้นจะแสดงในตอนกลางคืนโดยใช้แสงสว่างจากกองไฟ และคบไฟโดยรอบเพียงเท่านั้น
ประเทศอินเดีย
นาฏศิลป์อินเดีย
มีความผูกพันอยู่กับคติความเชื่อ และศรัทธาในศาสนาฮินดู การแสดงนาฏศิลป์สะท้อนให้เห็นถึงการเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เน้นความลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ อินเดียถือว่านาฏศิลป์เป็นทิพยกำเนิดตามคัมภีร์ภารตะนาฏยศาสตร์ ซึ่งได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดีย และการแสดงที่อินเดียยึดถือเป็นแบบแผน ยกย่องว่าเป็นศิลปะประจำชาติมาพอสังเขป ดังนี้
อ้างอิง
https://www.gotoknow.org
ผู้รับผิดชอบ
น.ส.วรภร บุญศิริ
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565
ประวัติความเป็นมา
ของนาฏศิลป์อินเดียตามคัมภีร์นาฏยศาสตร์ พระภารตะมุนีเป็นผู้รับพระราชทานนาฏลีลาจากพระพรหม และพระศิวะ ชาวฮินดูจึงยกย่องพระศิวะเป็น “นาฏราชา” หมายถึงพระราชาแห่งการฟ้อนรำ
ภารตะนาฏยัม
เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีส่วนสำคัญในพิธีของศาสนาฮินดูสมัยโบราณ สตรีฮินดูจะถวายตัวรับใช้ศาสนาเป็น “เทวทาสี” ร่ายรำขับร้อง บูชาเทพในเทวาลัย ซึ่งจะเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ศึกษาพระเวท วรรณกรรม ดนตรี การขับร้องของเทวทาสีเปรียบประดุจนางอัปสรที่ทำหน้าที่ร่ายรำบนสวรรค์
การแสดง
ผู้แสดงต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมีแบบแผน ด้วยระยะเวลายาวนานจนมีฝีมือยอดเยี่ยม สามารถเครื่องไหวร่างกายได้สอดคล้องกับจังหวะดนตรี เนื้อหาสาระของการแสดง สะท้อนสัจธรรมที่ปลูกฝังยึดมั่นในคำสอนของศาสนา แสดงได้ทุกสถานที่ ไม่เน้นเวที ฉาก เพราะความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภารตะนาฏยัม คือลีลาการเต้น และการ่ายรำ
ดนตรี
ที่ใช้ประกอบการแสดง ในวงดนตรีจะมีผู้ขับร้อง 2 คน คนหนึ่งจะตีฉิ่ง คอยให้จังหวะแก่ผู้เต้น อีกคนจะเป็นผู้ขับร้องและตีกลองเป็นหัวใจสำคัญของการแสดงภารตะนาฏยัม ส่วนเครื่องดีด และเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย เป็นเพียงส่วนประกอบให้เกิดความไพเราะเท่านั้น
เครื่องแต่งกาย
ในยุคโบราณ จากหลักฐานที่ปรากฏตามรูปปั้น รูปแกะสลัก ไม่สวมเสื้อ สวมแต่ผ้านุ่งยาวแค่เข่า ใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู กำไล ข้อมือ ข้อเท้า ต้นแขน ปละเครื่องประดับที่ศีรษะ ปัจจุบันสวมเสื้อ ยึดหลักการแต่งกายสตรีที่เป็นชุดประจำชาติของอินเดีย แต่สมัยใหม่ก็ได้มีการปรับปรุงให้สวยงามมากยิ่งขึ้นที่มา
บุคคลสำคัญ
ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดียตามคัมภีร์นาฏยศาสตร์ คือ พระภารตะมุนีเป็นผู้รับพระราชทานนาฏลีลาจากพระพรหม และพระศิวะ ชาวฮินดูจึงยกย่องพระศิวะเป็น “นาฏราชา” หมายถึง พระราชาแห่งการฟ้อนรำยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อินเดียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทางด้านนาฏศิลป์ การละคร วัฒนธรรม ตะวันตกได้เข้ามาผสมผสานทำให้นาฏศิลป์ที่เป็นแบบฉบับในราชสำนักขาดการดูแลรักษา ต่อมาเมื่ออินเดียเป็นเอกราช จึงฟื้นฟูนาฏศิลป์ประจำชาติขึ้นมาใหม่
วันนี้
อ้างอิง
https://strikernzero.blogspot.com/
ผู้รับผิดชอบ
น.ส.วราภรณ์ อรณทอง
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565
ประเทศจีน
อุปรากรจีน (งิ้ว)
การแสดงงิ้วเป็นการแสดงที่เน้นดนตรี ขับร้อง ศิลปะการต่อสู้ การแสดงอารมณ์ นักแสดงจะต้องมีทักษะรอบได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงที่ไพเราะ มีความอดทนอดกลั้น มีความจำที่ดีเลิศ โดยองค์ประกอบที่สำคัญของการแสดงงิ้วประกอบไปด้วย
อ้างอิงจาก
https://americanidiotonbroadway.com
ผู้รับผิดชอบ
น.ส.ชยภร รัตนกูล
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565
• 1.
บทบาทตัวละคร
ในเรื่องจะแบ่งออกเป็น 2 ตัว คือ “บู๊” กับ “บู๋น” โดยฝ่ายที่รับบทเป็นบู๊จะรับหน้าที่ในการแสดงกายกรรม ในขณะที่บุ๋นรับหน้าที่ขับร้องเพลง
• 2.
เทคนิคการแสดง
นักแสดงจะต้องเคลื่อนไหวให้มีจังหวะที่งดงาม ทุกการเคลื่อนไหวจะไม่เสียเปล่า เพื่อเป็นการสื่อความหมายกับละครใบ้
• 3.
เครื่องแต่งกาย
ชุดมีอยู่มากมายที่ต้องแต่งตัวตามเนื้อเรื่อง เช่น ชุดจักรพรรดิ ชุดนักรบ
• 4.
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีประกอบไปด้วย บู๊ และ บุ๋น ได้แก่ ซอ ปักกิ่ง กรับ กลองหนัง ฆ้องใหญ่ ฆ้องชุด ฯลฯ
• 5.
เวที และอุปกรณ์
ในสมัยก่อนเวทีมักจะถูกทำขึ้นจากวัสดุที่หาได้ตามง่าย คือ “อิฐ” หรือ “หิน”
บุคคลสำคัญ
เหมย หลันฟัง เป็นนักแสดงงิ้วตัวนางที่มีลีลาการแสดงที่อ่อนช้อยงดงามมาก แม้จะเป็นชายแต่เขาก็สามารถทำให้ผู้ชมอินด์ไปกับตัวละครนั้นๆ ที่เขาสวมบทบาทอยู่ได้ นอกจากนี้เขาก็ยังพัฒนาและคิดค้นท่าร่ายรำอยู่ตลอด ด้วยความสามารถบวกพรสวรรค์นี่เองจึงทำให้เหมย หลันฟัง กลายเป็นนักแสดงงิ้วระดับตำนานและอยู่ยงคงประพันในวัฒนธรรมจีนจนถึงทุกวันนี้
อ้างอิง
https://mgronline.com