การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค

🚩การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

🚩การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

🚩การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

🚩การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

.

ดนตรีที่ใช้ในการแสดง
❤ ฟ้อนเล็บ
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฟ้อนเป็นวงกลองตึ่งโนง วงต๊กเส้ง หรือวงปี่พาทย์ล้านนา(นิยิมใช้กับฟ้อนเล็บแม่ครูบัวเรียว) ซึ่งเป็นดนตรีของชาวภาคเหนือ ได้แก่ กลองแอว กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ฉิ่ง ปี่แนหน้อย ปี่แนหลวง แต่ถ้าเป็นวงต๊กเส้ง จะเพิ่ม สิ้ง มาด้วย
การแสดงพื้นเมือง, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/.

ดนตรีที่ใช้ในการแสดง
เครื่องดนตรี พื้นเมืองที่ใช้บรรเลงประกอบ คือ โปงลาง แคน พิณ ซอ กั๊บแก๊บ ฉิ่ง และฉาบ
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565. จาก https://sites.google.com/site/kartaengkaykhxngtael210/kar-saedng-phun-meuxng-phakh

ตัวอย่างการแสดงของภาคอีสาน

ตัวอย่างการแสดงของภาคเหนือ

การแต่งกาย
❤ ฟ้อนเล็บ
การแต่งกายจะแต่งกายแบบไทยชาวภาค เหนือสมัยโบราณ นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงลายขวาง เสื้อคอกลมแขนยาว และห่มผ้าสไบเฉียงทับ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้และห้อยอุบะ และสวมเล็บยาวทั้ง 8 นิ้ว เว้นแต่นิ้วหัวแม่มือ ถ้าเป็นฟ้อนธรรมดาของแต่ละหมู่บ้าน การแต่งกายจะเป็น 2 ลักษณะคือ


  1. ใส่ เสื้อคอกลมแขนกระบอก เอวรูด ไม่ห่มผ้า ผ้าซิ่นจะเป็นแบบลายขวาง ต่อเอวดำตีนดำ (ตีน คือเชิงผ้าของผ้าซิ่น )
  2. ใส่ เสื้อคอกลมแขนกระบอก เอวปล่อย ห่มผ้า ใส่สร้อย ผ้าซิ่นให้ใช้ผ้าตีนจก หรือผ้าทอ (การแต่งกายในข้อนี้ จะใช้แต่งในงานใหญ่และในคุ้มเจ้านาย)การแต่งกายจะเหมือน กันทั้งหมดหรือเหมือนกันเฉพาะคู่ก็ได้
    การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก http://www.sanpamuang.go.th/site/.

บุคคลสำคัญ พ่อครูมานพ ยาระณะ หรือ พ่อครูพัน (5 กันยายน พ.ศ. 2478 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการฟ้อน, ศิลปะการต่อสู้, การตีกลองสะบัดชัยแบบโบราณ, กลองปู่จา, กลองปู่เจ่, ดนตรีพื้นบ้านล้านนาและดนตรีไทย โดยได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้สอนศิลปะการต่อสู้ล้านนา และมวยไทยให้แก่ พ.อ.(พิเศษ) อำนาจ พุกศรีสุข รวมถึงวิชาดาบสะบัดชัยให้แก่ณปภพ ประมวญ (ครูแปรง)
พ่อครูมานพ ยาระณะ, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/.


265554711_272761024835340_7224270887657322912_n

ความเป็นมา : ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อน ในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ นาฏศิลป์ของภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น
การแสดงพื้นเมือง, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/music2_2/lesson1/art%20lesson1/page2.php.

👤 นางสาวอภัสรา​ ด้ามทอง​ ม 4/10 เลขที่34

การแต่งกาย

.

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

👤 นางสาว ธัญพิชชา แก้วเป็นทอง ม 4/10 เลขที่21

ดนตรีที่ใช้ในการแสดง รำเพลงทับเพลงโทน รำเพลงปี่ รำเพลงโค เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้ จังหวะ ประกอบด้วย ทับ (โทนหรือทับโนรา) มี ๒ ใบ เสียง ต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญ ที่สุด ✏ โนรา, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/158-----m-s

ตัวอย่างการแสดงของภาคใต้

การแต่งกาย การแต่งกายของโนรา ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมด ตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู) จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่น ๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง หรือ "พาไล" และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม "เทริด" ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ ✏ กนกวรรณ ฤกษ์อ่อน, การแสดงพื้นเมืองภาคใต้, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://sites.google.com/site/wathnthrrmphatti/home/kar-saedng-phun-meuxng-phakh-ti

บุคคลสำคัญ คล้าย พรหมเมศ

ความเป็นมา :โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบางอย่างที่คล้ายคลึงกันคือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้
ภาคใต้, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://sites.google.com/site/natsilpthiy39/7

.

ดนตรีที่ใช้ในการแสดง
🏁เพลงฉ่อย
ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบแต่อย่างใด จังหวะในการร้องเพลงใช้การตบมือ อาจมีกรับมาตีประกอบให้ดังขึ้น
✏ ธิภาพร แจ่มดวง, นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก
https://sites.google.com/a/ptt2.go.th/khru-nan/natsilp-phun-meuxng-phakh-klang

ตัวอย่างการแสดงของภาคกลาง

การแต่งกาย
🏁เพลงฉ่อย
แต่งตัวสีสันฉูดฉาด

  • ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบนเสื้อแขนกระบอก
  • ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบนเสื้อคอพวงมาลัยมีผ้าขาวม้าคาดเอว
    ✏ ธิภาพร แจ่มดวง, นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://sites.google.com/a/ptt2.go.th/khru-nan/natsilp-phun-meuxng-phakh-klang

บุคคลสำคัญ

ความเป็นมา : การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถี ชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว
✏ ธิภาพร แจ่มดวง, นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://sites.google.com/a/ptt2.go.th/khru-nan/natsilp-phun-meuxng-phakh-klang

.

.

บุคคลสำคัญ เปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีอีสานพื้นบ้าน-โปงลาง)
นักดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีความสามารถพิเศษสามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่น ดนตรีพื้นบ้านอีสานได้เกือบทุกชนิด ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลางและอื่นๆ โดยเฉพาะ "โปงลาง" นั้น สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นได้เป็นพิเศษ และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา 40 ปี
image
เปลื้องฉาย รัศมี, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เปลื้อง_ฉายรัศมี

รำกลองยาว 273540475_298640098924011_6944312378338578679_n

ระบำชาวนา 263343937_421764912943728_1069098141096646305_n

เต้นกำรำเคียว 281512870_1084812318780759_708587182920976719_n

ฟ้อนดวงเดือน 284515049_434990094775627_8596421738867015115_n

ฟ้อนเงี้ยว 257802258_416639150130946_1329535911140147602_n

ฟ้อนเล็บ 263926651_194105282935516_7759998020091536451_n

โนรา

ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู

หนังตะลุง

👤 นาย วรัทภพ ชูใจ ม 4/10 เลขที่ 6

.

ขวัญจิต ศรีประจันต์

💥 ประวัติ : แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ เกิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๔๙๐ ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มฝึกร้องเพลงพื้นบ้านตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปี ท่านเป็นผู้ที่สนใจเพลงพื้นบ้านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเพลงอีแซว ด้วยความสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญในการร้องเพลงพื้นบ้าน ผนวกกับความมีน้ำใจในการเผยแพร่ความรู้ และอนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน
จึงได้รับโล่เชิดชูให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะพื้นบ้านภาคกลาง จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ท่านได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๙
ขวัญจิต ศรีประจันต์, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://www.wikiwand.com/th/.

281456698_417433373626224_2073395177633797691_n

การอนุรักษ์การแสดงพื้นเมือง

1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน

2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย

3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

4.การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ

6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

👤 นาย รัฐภูมิ พร้อมศรีทอง ม 4/10 เลขที่ 5

image

image

เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ที่บ้านคลองเขเปล ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช หัดรำโนรากับโนราเดช แห่งบ้านหูด่าน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โนราคล้ายขี้หนอนเป็นศิลปินมโนราห์คนแรกและคนเดียวเท่านั้นที่มีบรรดาศักดิ์อันเนื่องด้วยทางการศิลปะการแสดงมโนราห์โดยตรง ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๕๑ ว่า " หมื่นระบำบันเทิงชาตรี"

✏ คล้าย พรหมเมศ, มหาวิทยาลัยสงขลานครอ, ค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/4/e63b0f32

image

image

image

278915774_3243356232567008_8470244959996499709_n

.

เซิ้งตังหวาย 🎉

การแต่งกาย ห่มผ้ามีดอก นุ่งซิ่นฝ้ายมัดหมี่มีเชิง เกล้าผมสูง
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565. จาก https://sites.google.com/site/kartaengkaykhxngtael210/kar-saedng-phun-meuxng-phakh


image

.

.

👤 นางสาวณิชาภัทร ปาลเมือง ม 4/10เลขที่ 20

.

.

เซิ้งตังหวาย

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานจะมีทั้งการแสดงที่เป็นแบบดั้งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา และเกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของแต่ละคน โดยเน้นความสนุกสนานและความรื่นเริง