Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8 เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพั…
หน่วยที่ 8
เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การเปิดเสรีการค้าและกรอบความตกลงระหว่างประเทศ กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีและการเข้าร่วมในกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศไทย
ผลจากการเปิดเสรีทางการค้าในภาพรวมทำให้ไทยกับประเทศคู่เจรจามีปริมาณการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรซึ่งมีทั้งชนิดสินค้าที่ไทยได้เปรียบและมีการส่งออกมากขึ้นและสินค้าที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันน้อยกว่าซึ่งทำให้มีปริมาณการนำเข้าสูงขึ้นจากจำนวนคู่เจรจาการค้า 7 คู่ ส่วนใหญ่ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าในการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร
สถานการณ์ รูปแบบ และกรอบความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ
สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ
WTO ตระหนักถึงประโยชน์ของการรวมกลุ่มทางการค้าในระดับกลุ่มประเทศ จึงอนุญาตให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจหรือทำความตกลงมางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่การค้าและการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานระหว่างประเทศมีการเปิดเสรีมากขึ้น เศรษฐกิจของแต่ละประเทศเกิดการรวมกลุ่ม/รวมตัวกันยิ่งขึ้นเป็นลำดับ
รูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่นำไปสู่การค้าเสรี
เขตการค้าเสรี (Free-trade Area : FTA)
สหภาพศุลกากร (Customs Union)
พันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Closer Economic Partnership : CEP)
กรอบความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ
หลักการสำคัญในการพิจารณาประเทศที่จะจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน
สถานะของประเทศคู่ค้า
ระดับความเกื้อกูลกันทางเศรษฐกิจการค้า
ประโยชน์สุทธิที่แต่ละฝ่ายจะได้รับ และต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขของ WTO
กฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาภาคเกษตร และดำเนินการตามพันธกรณีของประเทศไทย
กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืช
สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร
อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
อนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ
องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทย
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว
การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน
การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
ผลกระทบจากการเข้าร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ด้านบวก
การเป็น AEC จะทำให้อาเซียนกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ และไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน
ภาคการผลิตและแปรรูปอาหารสำเร็จรูปจะได้ประโยชน์จากการมีแหล่งวัตถุดิบราคาถูกลง
เกษตรกรและผู้ประกอบจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของอาเซียน
อาเซียนจะกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีฐานทรัพยากรมาก และไทยซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานการผลิต อุตสาหกรรมมีความเข้มแข็ง และยังเป็นฐานการผลิตของสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่สำคัญของภูมิภาค
การเคลื่อนย้ายการลงทุน หรือย้ายฐานการผลิตจะช่วยสร้างงานให้กับแรงงานในอาเซียนมากขึ้นและจะมีการพัฒนาบุคลากรและแรงงานให้มีคุณภาพและมีฝีมือ
ด้านลบ
ต้องเผชิญกับภาวะคู่แข่งขันและมีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น
อาจมีการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาใช้เป็นข้อจำกัดด้านการค้าเพิ่มมากขึ้น
นักลงทุนต่างชาติที่ได้สิทธิการเป็นนักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้นักลงทุนไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันมากขึ้น ประกอบกับอาจมีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือของไทยไปทำงานในประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า
91724 การจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร นางสาวธนาภรณ์ ระดมเล็ก 2649002363