Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus), ความหมาย, พยาธิสภาพ, 8DD215C9-B8FA-4E0E…
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
หมายถึง โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ชนิดของเบาหวาน
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes) มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น
สาเหตุ
การตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนจากรกซึ่งมีผลต่อการทำงานของอินซูลิน
ความผิดปกติของตับอ่อน
ตับอ่อนทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน
โรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักมาก ไขมันส่วนเกินจะสร้างสารที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดี หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้น
ผู้สูงอายุ
ตับอ่อนจะทำงานเสื่อมลงและทำให้การสังเคราะห์และการหลั่งผิดปกติ
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่รับประทานผักผลไม้ รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งมีส่วนประกอบของแป้ง น้ำตาล ไขมันทรานซ์ ดื่มสุราและสูบบุหรี่
ไม่ออกกำลังกาย
พันธุกรรม
เบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม
ปัจจัยเสี่ยง
มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือลูกมีนน.แรกเกิดมากกว่า4,000กรัม
มีอายุตั้งแต่40ปีขึ้นไป
มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
กลไกการเกิด
ร่างการมีการเปลี่ยนแปลงในการเผาผลาญสารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต ไม่สมดุลกับการสร้างและใช้อินซูลินในร่างกาย
หน่วยควบคุมอัตราการเผาผลาญ ที่ทำให้เกิดการพร่องอินซูลินประกอบด้วย4ปัจจัย
ภาวะติดเชื้อ
พันธุกรรม
กระบวนการเผาผลาญ
ภูมิต้านทาน
เมื่อกลูโคสอยู่ในกระแสเลือดมาก และไม่ดูดซึมเข้าสู่เซลล์เนื่องจากพร่องอินซูลินหรือดูดซึมได้ช้า ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(hyperglycemia)
ระดับกลูโคสสูงขึ้น ทำให้ไตไม่สามารถดูดกลับได้หมด จึงขับกลูโคสออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ทำให้เมื่อตรวจปัสสาวะจะเจอน้ำตาลในปัสสาวะ (Glucosuria)
เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ในหลอดเลือดจะมีความเข้มข้นสูง น้ำจะออสโมซิสเข้าสู่หลอดเลือด ในให้น้ำในหลอดเลือดมาก ผู้ป่วยจะปัสสาวะบ่อย (Polyuria) พร้อมกับสูญเสียน้ำ เกลือแร่ และสารอาหาร จึงมีอาการหิวบ่อย กินจุ (Polyphagia) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย(polydipsia) น้ำหนักลด
อาการและอาการแสดง
1.ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ
ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น
กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
เบื่ออาหาร
น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน
ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก
สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน
อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง
อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต
ภาวะแทรกซ้อน
• ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)
• ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
• โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease)
• โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
• โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
• ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
ผู้ป่วยมีภาวะไตวาย stage 3
มีภาวะซีดจากการเสื่อมของไตเนื่องจากมีภาวะ
แทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ข้อมูลสนับสนุน
SD:
OD:จากการตรวจร่างกาย ผิวเหลืองซีด สีหน้าซีด Conjunctivaมีซีด RBC =3.3x10^6/ uLต่ำกว่าปกติ
Hb = 9.8 g/dL ต่ำกว่าปกติ
Hct =29 % ต่ำกว่าปกติ
BUN =22 mg/dL สูงกว่าปกติ
Creatinine 1.48 mg/dL สูงกว่าปกติ
eGER(CKD-EPI) 41.65 stage3 mL/min/1.73 m^2 ต่ำกว่าปกติ
•แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)
ผู้ป่วยชายไทย วัย88 ปี
Dx. Chronic ulcer Lt. foot with Diabetes mellitus
แผลที่เท้าซ้ายเป็นๆหายๆมา5-6 ปี
มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีแผลเรื้อรัง
การรักษา
การประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีและจะแนะนำให้วัดระดับ HbA1c อย่างน้อยปีละสองครั้ง แต่ในกรณีที่ควบคุมได้ไม่ดีหรือไม่เสถียร แนะนำให้ทำการทดสอบ อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
การปรับเปลี่ยนโภชนาการ เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด HbA1c, LDL, HDL, ไตรกลีเซอไรด์, ความดันโลหิต และน้ำหนักตัว
3.การออกกำลังกายเพื่อช่วยผู้ป่วย ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงในโรคหัวใจและหลอดเลือด การลดน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย
4.การใช้ยารักษาโรคเบาหวาน
ชนิดออกฤทธิ์เร็ว (rapid acting insulin analog) เริ่มออกฤทธิ์ 5-15 นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 1-2 ชั่วโมง ฤทธิ์อยู่นาน3-4ชั่วโมง
อินซูลินออกฤทธิ์สั้น (short acting human insulin) เริ่มออกฤทธิ์ 30-45 นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 2-3 ชั่วโมง ฤทธิ์อยู่นาน4-8 ชั่วโมง
อินซูลินออกฤทธิ์นานปานกลาง (intermediate acting human insulin) เริ่มออกฤทธิ์ 2-4 ชัวโมงออกฤทธิ์สูงสุด 4-8ชั่วโมง ฤทธิ์อยู่นาน10-16ชั่วโมง
อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (long acting human insulin) เริ่มออกฤทธิ์ 2-4 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 18-24 ชั่วโมง
อินซูลินผสมสำเร็จรูป (Pre-mixed 30%RI+ 70%NPH: mixtard30HM)เริ่มออกฤทธิ์ 30-60นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 2-8 ชั่วโมง ฤทธิ์อยู่นาน12-20ชั่วโมง
ความหมาย
พยาธิสภาพ
Case
Case