Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้มีความผิดปกติด้านพฤติกรรม, นศพต.สุปรียา พงษ์สวรรค์ เลขที่ 68 -…
การพยาบาลผู้มีความผิดปกติด้านพฤติกรรม
พฤติกรรมการฆ่าตัวตายหรือการทำลายตนเอง แบ่งได้ 5 ประเภท
การฆ่าตัวตายสำเร็จ (Completed suicide/Committed suicide/ Successful suicide)
การพยายามฆ่าตัวตาย (Attempted suicide)
ความคิดฆ่าตัวตาย (Suicidal ideation)
การแสร้งกระท าการฆ่าตัวตาย (Suicidal gestures)
การขู่จะฆ่าตัวตาย (Threatened suicide
การรักษาผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายหรือทำลายตนเอง
รักษาผลของพฤติกรรมฆ่าตัวตายก่อน เช่น ถ้ากินยาตายก็ให้การล้างท้องให้ยาแก้พิษ
ป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำ ต้องให้มีผู้ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดตลอดเวลา
การรักษาทางจิตเวช ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายทุกรายควรได้พบจิตแพทย์ก่อนกลับบ้านเพื่อประเมินความเสี่ยง
รับฟังผู้ป่วย ให้โอกาสผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก
ร่วมกับผู้ป่วยในการพิจารณาถึงพฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่ผ่านมา ความคิดจะทำซ้ำ การพูดถึงการฆ่าตัวตายกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมา
หากพบว่าผู้ป่วยมีโรคทางจิตเวชอยู่ ต้องให้การรักษาโดยเร็ว
พฤติกรรมความก้าวร้าว (Aggression) , ความไม่เป็นมิตร (Hostility) , ความรุนแรง (Violence)
แสดงอารมณ์หงุดหงิด รำคาญ ขาดความอดทน อยู่นิ่งไม่ได้มีท่าทางแสดงความไม่เป็นมิตร ไม่พอใจ
ใช้คำพูดรุนแรง ส่งเสียงดัง เอะอะ อาละวาด ฉุนเฉียว
มีการเคลื่อนไหว เดินไปเดินมาตลอด
มีท่าทางหวาดกลัว พร้อมที่จะกระทำรุนแรงเพื่อป้องกันตัวเอง
ซึมเศร้า ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตาย
พูดเร็ว ไม่ปะติดปะต่อ
สูญเสียการตัดสินใจ การรู้จักตัวเอง
ไม่สนใจในเรื่องของตนเอง เช่น การรับประทาน
แสดงท่าทางหยาบโลน กระทำความรุนแรง
ทุบ ทำลายสิ่งของ เครื่องใช้ หาเรื่องวิวาท ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
ชกต่อย ทุบตี ใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น
สาเหตุความก้าวร้าว (Aggression) , ความไม่เป็นมิตร (Hostility) , ความรุนแรง (Violence)
กลุ่มอาการทางสมอง (Organic cause)
อาการ intoxication หรือ withdrawal จากยาหรือสารเสพติดต่างๆ
โรคลมชัก มักจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวหลังการชัก ซึ่งผู้ป่วยยังสับสน อาการอาจเป็นอยู่นานเป็นชั่วโมงหรือหลายวัน
ผู้ที่ได้รับอันตรายต่อศีรษะ มีการกระทบกระเทือนของสมองอย่างรุนแรง
และหมดสติไปเป็นเวลานาน
กลุ่มอาการทางสมองเรื้อรัง
สมองมีแผลจากโรคที่เป็น
อาจมีภาวะทางกายบางอย่างทำให้ผู้ป่วยกระวนกระวาย โมโหง่ายขึ้น
กลุ่มอาการทางจิต (Functional cause)
ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต โรคจิตชนิดต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยมีอาการกลัวหวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด
ผู้ป่วยโรคจิตอารมณ์แปรปรวน (Affective disorders)
ผู้ป่วยโรคบุคลิกภาพแปรปรวน (Personality disorders)
ความหมาย
ความไม่เป็นมิตร (Hostility)
มีลักษณะคล้ายกับความโกรธ คือมีลักษณะในแง่ของการทำลาย (destructive) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงซับซ้อนโดยมีแต่ความเกลียด ความไม่ชอบ และความต้องการที่จะทำลาย ความไม่เป็นมิตรมักพุ่งตรงสู่บุคคลหรือกลุ่มคน โดยจะไม่มุ่งทำลายสิ่งของหรือตนเอง
ความรุนแรง (Violence)
เป็นปฏิกิริยาของพฤติกรรมก้าวร้าว ที่แสดงออกถึงความตั้งใจของการใช้กำลังทางร่างกายในการทำร้าย หรือใช้อำนาจคุกคาม ที่มีผลให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
ความก้าวร้าว (Aggression)
การกระทำหรือพฤติกรรมที่มีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บทางด้านร่างกายหรือจิตใจ โดยการใช้กำลังทางร่างกายหรือคำพูด อาจมุ่งไปยังสิ่งแวดล้อมรอบตัว บุคคลอื่น หรือหันเข้าหาตนเอง บางครั้งอาจเป็นความจำเป็นในการแสดงออกเพื่อปกป้องตนเอง ครอบครัว หรือคนที่ถูกทำร้าย
ความหมาย
การฆ่าตัวตาย (Suicide) หรือการทำลายตนเอง (Selfdestructive)
การกระทำที่เป็นการทำลายชีวิตของตนเอง เนื่องจากความรู้สึกว่าหมดหวังในชีวิต คิดว่าชีวิตไม่มีความหมาย พฤติกรรมที่แสดงออกมีทั้งวางแผนไว้ล่วงหน้าหรือกระทำทันทีทันใด
การทำลายตนเอง (Self-destructive)
การกระทำที่บุคคลพยายามที่จะกระทำตนเองให้ได้รับบาดเจ็บและเป็นอันตรายโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
สาเหตุของการฆ่าตัวตายหรือการทำลายตนเอง
ปัจจัยทางด้านจิตใจ (Psychological factors)
รู้สึกสูญเสียบุคคลสำคัญหรือสิ่งของที่รัก (Object loss)
การหันความรู้สึกโกรธเข้าหาตนเอง (Anger turn inward)
ความรู้สึกหมดหวัง (Hopelessness)
ความรู้สึกสิ้นหวังและความรู้สึกผิด (Desperation and guilt)
ความรู้สึกอายและความรู้สึกละอายใจ (Shame and Humiliation)
ปัจจัยทางด้านสังคม (Sociological factors)
สภาพเศรษฐกิจ
สภาพที่บุคคลในสังคมมีความผูกพันกันน้อยลง
ความรู้สึกว่าไม่มีความผูกพันกับสังคม ไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ คิดว่าไม่มีคุณค่าต่อการมีชีวิตอยู่
การสูญเสียสถานภาพของตนในสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรืออย่างกะทันหันเกิดขึ้นในชีวิต
การถูกบังคับให้อยู่ในกฎเกณฑ์มากเกินไปหรือไม่มีอิสรภาพส่วนตัว
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors) การเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ (Physical and psychiatricillness) ทางด้านร่างกายมักเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยที่ทุกข์ทรมาน
นศพต.สุปรียา พงษ์สวรรค์ เลขที่ 68