Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลในระยะที่สามและระยะที่สี่ ของการคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลในระยะที่สามและระยะที่สี่
ของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
การลอกตัวของรกมี 2 ชนิดคือ
Schultze's Method เป็นการลอกตัวของรกจะเกิดขึ้นที่ตรงกลางของรกก่อน ทําให้เลือด ออกและขังอยู่ด้านใน (retroplacental clot) จึงไม่มีเลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอดก่อนรกคลอด (vulva sign) มีส่วนช่วยให้รกลอกตัวได้สมบูรณ์เร็วขึ้น
Matthews Duncan's Method เป็นการลอกตัวของรกโดยเริ่มที่บริเวณริมรกก่อนส่วนอื่น และเลือดที่เกดิ จากการฉีกขาดของผนังมดลูกจะไหลซึมออกมาภายนอก (vulva sign) การลอกตัวชนิดนี้ไม่มีเลือดขังอยู่หลังรกที่จะช่วยในการลอกตัวของรก
กระบวนการพยาบาลระยะที่3
การประเมินสภาพ
1.1 ประเมินสัญญาณชีพให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
1.2 มดลูก ในระยะนี้คารจะต้องสังเกตดู ขนาดและความแข็งตัวของมดลูก หลังการคลอด ทารกแล้วยอดมดลูก (fundus) จะอยู่ต่ำกว่าระดับสะดือ 1 นิ้ว
มีทารกอยู่ในมดลูกอีกหรือไม่ โดยการคลํา ถ้าพบลักษณะคล้ายทารก หรือ ฟัง fetal heart sound ได้
ขนาดของรกใหญ่กว่าปกติ เช่น ในรายที่เป็นครรภ์แฝดขนาดของรกจะโตหรือมีความผิดปกติของรก
มีเลือดออกอยู่ข้างใน (internal bleeding) ซึ่งอาจประเมินได้จากอาการผิดปกติภายนอก
กระเพาะปัสสาวะเต็ม (bladder full) ควรตรวจดูบริเวณเหนือหัวเหน่าว่ามีกระเพาะปัสสาวะ เต็มหรือไม่
1.3 จํานวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด หลังจากสิ้นสุดระยะที่สามของการคลอดจะมีเลือดที่ออก ประมาณ 120-240 ซี.ซี. รวมถึง blood clot จากรกด้วย
1.4 การฉีกขาดของฝเีย็บดูบริเวณที่ฉีกขาดหรือว่ามี bleeding มากน้อยเพียงใด ถ้าพบว่ามีลือดออก จากแผลมากเนื่องจากเส้นเลือดอีกขาด ให้ช่วยเหลือโดยใช้ arterial forceps หนีบบริเวณที่เลือดออกเพื่อเย็บ ผูกเส้นเลือด
1.5 อาการแสดงการลอกตัวของรก ภายหลังจากทารกเกิดแล้ว รกจะลอกตัวจากผนังมดลูก โดยทั่วไปจะมีอาการแสดงของการลอกตัวของรกเกิดขึ้นภายใน 5 นาที
อาการแสดงของมดลูก (uterine sign) คือ มดลูกจะเปลี่ยนรูปร่างจากแบนเป็นกลมขนาดจะเล็กลง
อาการแสดงของสายสะดือ (cord signs) คือ สายสะดือจะเคลื่อนต่ำลงมาประมาณ 3 นิ้ว ในขณะที่มดลูกหดรัดตัวแข็งและมีการลอกตัวของรก
อาการที่พบทางช่องคลอด (vulva signs) คือ จะมีเลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอด ระมาณ 30-60 ซี.ซี.
การพยาบาล
2.1 การรักษาความสะอาด (aseptic and antiseptic) ในระยะนี้การปราศจากเชื้อมีความจําเป็นมากกว่าระยะอื่น ๆ ของการคลอด
2.2 ท่าของผคู้ ลอด (position) ควรจัดใหน้ อนหงายเพื่อช่วยให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของมดลูก สี หน้าของผู้คลอด และสะดวกในการช่วยทําคลอดรก
2.3 การป้องกนัการตกเลือดควรให้การพยาบาลดังนี้
ก่อนรกลอกตัว ห้ามคลึงมดลูกหรือกระตุ้นมดลูกโดยวิธีต่าง ๆ เพราะจะทําให้รกลอกตัวที่ริมรกก่อนเวลา เลือดจะไหลออกจาก decidual basalis มาขังอยู่ในโพรงมดลูกทําให้ขัดขวาง การหดรัดตัวของมดลูก
การฉีดยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก (Oxytocin agent) การฉีดยากระตุ้นการ หดรัดตัวของมดลูกภายหลังทารกเกิด
2.4 ยา Oxytocin ซึ่งเปน็ ฮอร์โมนที่สกัดได้จาก posterior pituitary gland มีคุณสมบัติทําให้กล้ามเนื้อ มดลูกหดรัดตัวและคลายตัวเป็นระยะ ๆ ตามรรรมชาติ
การทําคลอดรก การทําคลอดรกเพื่อให้ผู้คลอดปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้
3.1 การเตรียมผู้คลอด ประกอบด้วย
การเตรียมด้านจิตใจของผู้คลอด ควรแจ้งให้ผู้คลอดทราบว่าจะทําคลอดรกให้เพื่อผู้คลอดให้ ความร่วมมือขณะทําคลอดรก
การเตรียมร่างกายผู้คลอด โดยกระเพาะปัสสาวะของผู้คลอดจะต้องว่าง จัดให้อยู่ในท่านอน หงายชันเข่า
เตรียมภาชนะที่จะรองรับรก เช่น ชามกลม หรือซามรูปไต
3.2 ทําคลอดรก ตามธรรมชาติแล้วรกสามารถคลอดได้เองโดยอาศัยแรงเบ่งจากผู้คลอดช่วยผลักดันให้รก เคลื่อนต่ำลงสู่ช่องคลอด
Modified Crede' Maneuver หรือ Simple expression
เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติมากและผู้คลอดจะปลอดภัยมากที่สุด มีหลักการคลอดรกใดยอาศัยมดลูกส่วนบน ที่หดรัดตัวแข็งดันเอารกซึ่งอยู่ในส่วนล่างของทางคลอดออกมา
Brandt-Andrews Maneuver วิธีการช่วยเหลือการคลอดรก ทดสอบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์ โดยใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับสายสะดือให้ตึงห้ามไม่ให้ดึงรั้งสายสะดือลงมา
Controlled Cord traction คือ การทําคลอดรก โดยการดึงสายสะดือเพื่อให้รกคลอด ออกมา วิธีนี้อันตรายมากถ้าผู้ทําคลอดไม่ชํานาญอาจทําให้มดลูกปลิ้นได้ง่าย การช่วยคลอดแบบนี้ต้องทําเมื่อ รกลอกตัวสมบรู ณ์และเคลื่อนลงมาในส่วนล่างของมดลูก และมดลูกส่วนบนหดรัดตัวแข็งเต็มที่ตลอดเวลา
การตรวจรก และเยื่อหุ้มทารก
เพื่อตรวจว่ารกและเยื่อหุ้มทารกคลอดครบหรือไม่ เพราะถ้าค้างอยู่ในโพรงมดลูกอาจทําเกิด ภาวะแทรกซ้อน
ตรวจเพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป เมื่อผู้ทําคลอดตรวจพบว่ารกและเยื่อหุ้มทารก คลอดออกมาครบ แล้ว รีบตรวจการหดรัดตัวของมดลูก ช่วยคลึงมดลูกให้แข็งตัวและดันยอดมดลูกลงมาเพื่อไล่ก้อนเลือดที่อยู่ใน โพรงมดลูกออกช่วยให้มดลูกว่างและหดรัดตัวดีเพราะก้อนเลือดที่ค้างอยู่จะไปขัดชวางการหดรัดตัวของมดลูก
กระบวนการพยาบาลระยะที่4
การประเมินสภาพ
1.1 การตรวจร่างกายทั่วไป
สภาพทั่วไป
ความดันโลหิต ชีพจร หายใจ ควรประเมินและบันทกึ ทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก แล้วประเมิน ทุก 30 นาทใี นชั่วโมงที่สองหลังคลอด
อุณหภูมิของร่างกาย
ผิวหนัง ควรจะแห้งและอุ่น
ความเจ็บปวด (pain)
1.2 การตรวจร่างกายเฉพาะที่
มดลูก (uterus) โดยการตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูกและระดับของมดลูกในระยะนี้มดลูก จะต้องมีการหดรัดตัวเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
จํานวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด (bleeding per vagina) ปกติจะมีการเสียเลือดภายหลังรก คลอดแล้วประมาณ100-200ซีซี
ฝีเย็บ ในการคลอดฝีเย็บจะมีการฉีกขาดได้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระบวนการคลอด
กระเพาะปัสสาวะ ในระยะ 1-2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดนี้ กระเพาะปัสสาวะควรจะว่าง เพราะ ถ้ากระเพาะปัสสาวะมีน้ําปัสสาวะเต็มจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกทําให้มดลูกหดรัดตัวไม่ด
การพยาบาล
2.1 การซ่อมแซมฝีเย็บผู้คลอดที่ได้รับการตัดฝีเย็บ (Episiotomy) หรือมีการฉีกขาดของช่องทางคลอดจะได้รับการซ่อมแซมบริเวณที่ฉีกขาด
การเตรียมเครื่องมือในการเย็บแผล
การเตรียมผู้คลอดเพอื่เย็บแผลฝีเย็บ
2.2 การพยาบาลที่หน่วย 2 ชั่วโมงหลังคลอด
จัดให้ผู้ลอดนอนศีรษะสูงเล็กน้อย (semi Fowler's position) เพื่อความสุขสบาย
ดูแลสภาพร่างกายผู้คลอดให้สะอาด
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้คลอด
อาหารและน้ํา ผู้คลอดส่วนใหญ่มีอาการกระหายน้ําเนื่องจากในระยะคลอดมีการจํากัดอาหาร และน้ําทางปาก
ส่งเสริมสัมพันธภาพของครอบครัว
การย้ายผู้คลอดออกจากห้องคลอด ภายหลังดูแลครบ 2 ชั่วโมง แล้วถ้าไม่มี อาการผิดปกติจะย้ายออกจากห้องคลอด