Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพการดูแลช่วยเหลือมารดาและทารก ระยะที่ 2,3,4 ของการคลอด …
การประเมินภาวะสุขภาพการดูแลช่วยเหลือมารดาและทารก ระยะที่ 2,3,4 ของการคลอด
การพยาบาลระยะที่ 1ของการคลอด
การดูแลและสนับสนุนทางด้านร่างกาย (physical support)
การดูแลทั่วไป ได้แก่ การจัดให้ผู้คลอดได้อยู่ในห้องที่มีสิ่งแวดล้อมสะอาด น่าสบาย เงียบ ปราศจากเสียงรบกวน
การได้รับสารน้ำและอาหาร
การพักผ่อน ในระยะปากมดลูกเปิดช้า ผู้คลอดควรได้พักผ่อนให้มาก
การขับถ่ายปัสสาวะ แนะนำให้ผู้คลอดไปปัสสาวะเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ หรือปัสสาวะ ทุก 2-3 ชั่วโมง ไม่ควรกลั้นปัสสาวะในทุกระยะของการคลอด
การวัดสัญญานชีพ พยาบาลผดุงครรภ์ควรประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
การเคลื่อนไหวร่างกาย อธิบายให้ผู้คลอดเห็นความสำคัญของการเคลื่อนไหวร่างกาย
การบรรเทาอาการตะคริวในระยะคลอด
การดูแลทางด้านจิตสังคม
สร้างสัมพันธภาพกับผู้คลอด
การสนับสนุนทางด้านอารณ์ (emotional support) เป็นการสนับสนุนให้ผู้คลอดเชื่อมั่น ในตนเอง ว่าตนเองนั้นสามารถควบคุมสถานการณ์นี้ได้
เคารพความเป็นบุคคลของผู้คลอด
ประเมินความกลัวการคลอด ความวิตกกังวลของผู้คลอด อธิบายกระบวนการคลอด ลักษณะและธรรมชาติของการหดรัดตัวของมดลูกในช่วงระยะต่าง ๆ
ประเมินความสามารถของตนในการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด
การมีส่วนร่วมของครอบครัว เปิดโอกาสให้ผู้คลอดได้ติดต่อส่งข่าวและความก้าวหน้า ของการคลอดให้ญาติทราบ
เปิดโอกาสให้ผู้คลอดได้ซักถามข้อสงสัย ตอบข้อสงสัยด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ไม่เบื่อหน่าย รวมทั้งให้เหตุผลในการให้การพยาบาล
ยอมรับพฤติกรรมที่ผู้คลอดแสดงออก
การพยาบาลระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ของการคลอด
ผู้คลอดจะรู้สึกผ่อนคลายความ ตึงเครียดลง พยาบาลควรอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นในระยะนี้ พร้อมทั้งกระตุ้น เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก รวมทั้งปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการพักผ่อน การรับประทาน อาหาร และการสังเกตอาการผิดปกติ เช่น การตกเลือด แผล ฝีเย็บบวม
การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่2 ของการคลอด
การแนะนำวิธีเบ่งที่ถูกต้อง วิธีที่นิยม คือ การเบ่งคลอดแบบวัลซัลวา (Valsalva) กลั้นหายใจและปิดกล่องเสียงเมื่อตรวจพบว่าเริ่มมีการหดรัดตัวของมดลูกให้ผู้คลอดหายใจเข้าลึก ๆ ประมาณ 6-10 วินาที จากนั้นกลั้นหายใจแล้วเบ่ง (ส่งเสียงอื๊ด....) เมื่อหมดลมเบ่งให้หายใจเข้าลึก ๆ แล้วเบ่งซ้ำในลักษณะเดียวกัน ในการหดรัดตัวของมดลูก 1 ครั้งเบ่งคลอดได้ 2-3 ครั้ง
การจัดท่าขณะเบ่งคลอด ท่า Lithotomy Position
การดูแลความสุขสบาย ในระยะนี้ผู้คลอดจะต้องใช้พลังงานอย่างมากในการเบ่งคลอดจะมีเหงื่อออกมาก ควรดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดที่ใบหน้าและร่างกายเพื่อความสุขสบาย
การดูแลกระเพาะปัสสาวะ ควรดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ถ้าถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้ อาจต้องสวนปล่อย
การดูแลสภาพจิตใจ การดูแลเกี่ยวกับภาวะจิตใจ ควรได้รับการเตรียมด้านจิตใจตั้งแต่มาฝากครรภ์ที่ ANC และระยะที่1ของการคลอดโดยอธิบายกระบวนการคลอดคร่าวๆให้ผู้คลอดเข้าใจ
การดูแลให้ได้รับสารน้ำเพียงพอ ในระยะนี้ผู้คลอดจะกระหายน้ำ ปากคอแห้งจากการสูญเสียพลังงานที่ใช้ในการเบ่งคลอด จึงต้องดูแลการให้สารน้ำให้เพียงพอตามแผนการรักษาของแพทย์
Partograph
ส่วนประกอบที่สำคัญ WHO Partograph มี 4 ส่วน คือ
1. สภาพของทารกในครรภ์ (fetal condition) โดยประเมินและบันทึกเกี่ยวกับ
อัตราการเต้นของหัวใจทารก (FHR) บันทึกโดยใช้เครื่องหมายจุด " . "
ลักษณะของถุงน้ำและน้ำคร่ำ (membrane and amniotic fluid)
MI = Membrane Intact (ถุงน้ำยังอยู่)
MR = Membrane Rupture (ถุงน้ำแตกแล้ว)
ML = Membrane Leaked (ถุงน้ำคร่ำรั่ว)
SRM = Spontaneous Rupture of Membrane (ถุงน้ำแตกเอง)
ARM = Artificial Rupture of Membrane (เจาะถุงน้ำ)
ลักษณะน้ำคร่ำ (amniotic fluid) แบ่งเป็น 4 ประเภท
C= clear liqour draining (นํ้าคร่ำใสปกติ)
M = meconium stained liqour draining (น้ำคร่ำมีขี้เทาปน)
A = absent (ถุงน้ำแตกแต่ตรวจ ภายในไม่พบ น้ำคร่ำ)
B = blood stained (น้ำคร่ำปนเลือด)
การเกยกันของกระดูกกะโหลกศีรษะทารก (molding of fetal skull bone)
0 คือ คลำ sagittal suture ได้ชัดเจน (สภาพปกติ)
คือ กระดูกกะโหลกศีรษะเคลื่อนตัวมาชิดกันพอดี คลำ sagittal suture ได้ไม่ชัดเจน ได้เป็นลักษณะเส้นไม่เป็นร่อง
++ คือ กระดูกกะโหลกศีรษะเกยกันมาก คลำได้กระดูกเหลื่อมกัน
+++ คือ กระดูกกะโหลกศีรษะเกยกันมาก คลำได้กระดูกเหลื่อม กันมากกว่า 0.5 cm.
2. ความก้าวหน้าของการคลอด (progression of labor)
การเปิดขยายของปากมดลูก โดยใช้สัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายกากบาท “X”
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำ การบันทึกการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารก (descent of fetal head)
การหดรัดตัวของมดลูก เป็นความถี่ในการหดตัวของมดลูก จะบันทึกเป็นจำนวนครั้งใน 10 นาที 1 ครั้ง = 1 ช่อง
3. การให้ยาและการรักษา (drug and treatment)
ตรวจวัด v/s
การให้ยาเพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ให้ยา Oxytocin U/500 ทางหลอดเลือดดำ
4. สภาพของมารดา (maternal condition)
ความดันโลหิต systolic ใช้สัญลักษณ์ และ diastolic ใช้สัญลักษณ์
ชีพจร ใช้สัญลักษณ์ “.”
อุณหภูมิ ใช้สัญลักษณ์ “°C”
Urine: albumin, sugar, volume