Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพการดูแลช่วยเหลือมารดาและทารก ระยะที่ 2,3,4…
การประเมินภาวะสุขภาพการดูแลช่วยเหลือมารดาและทารก ระยะที่ 2,3,4 ของการคลอดลูก
ระยะก่อนคลอด
ระยะที่ 1 ของการคลอด (First stage of labor)
ระยะปากมดลูกเปลี่ยนผ่าน (Transitional phase)
ปากมดลูกจะมีการเปิดขยายตั้งแต่ 8-10 cm การบางตัวของปากมดลูกอยู่ประมาณ 80-100% มดลูกมีการหดรัดตัวทุก 1 -2 นาที นาน 60-90 วินาที ความรุนแรงในการหดรัดตัวอยู่ในระดับรุนแรงมาก การเปิดขยายของปากมดลูก การเคลื่อนต่ำของส่วนนำในมารดาครรภ์แรกจะอยู่ station +2 ถึง +3
ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (Active phase)
ในระยะนี้ปากมดลูกจะมีการเปิดขยายตั้งแต่ 4-7 cmครรภ์แรกปากมดลูกเปิดขยายประมาณ 1.2 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ครรภ์หลังปากมดลูกเปิดขยายประมาณ 1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง การบางตัวของปากมดลูกอยู่ประมาณ 40-80% มดลูกมีการหดรัดตัวทุก 2-5 นาที นาน 45-60 วินาที station ครรภ์แรก 0 ครรภ์ 0-2
ระยะปากมดลูกเปิดช้า (Latent phase)
เป็นระยะตั้งแต่เริ่มมีการอาการเจ็บครรภ์จนถึงปากมดลูกเปิด 3 cm เปิดขยายของปากมดลูกครรภ์แรกปากมดลูกเปิดขยาย 0.3 cm/hr. ครรภ์หลังปากมดลูกเปิดขยาย 0.5 cm/hr.การหดรัดตัวทุก 5-10 นาที นาน 30-45 วินาทีความรุนแรงในการหดรัดตัวอยู่ในระดับรุนแรงน้อย station 0
อาการแสดงว่าเข้าสู่ระยะที่ 2
(probable sign)
ผู้คลอดรู้สึกอยากเบ่ง
อยากถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะขณะที่มดลูกหดรัดตัว
มีเลือดสดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
ถุงน้ำทูนหัวแตก ฝีเย็บตุง มองเห็นส่วนนำของทารกทางช่องคลอด
(positive sign)
ทราบได้จากการตรวจทางช่องคลอด จะคลำไม่พบขอบของปากมดลูก นั่นก็คือ ปากมดลูกเปิดหมด 10 เซนติเมตร
การเคลื่อนต่ำของทารก
ตรวจหาระดับส่วนนำด้วยวิธี Leopold's hand grip ได้ยาก หรือคลำส่วนของ cephalic prominences ไม่ได้ทางหน้าท้อง
ตำแหน่งเสียงหัวใจของทารกฟังได้ชัดเจนและเคลื่อนต่ำ ลงเรื่อย ๆ ค่อนมาทางกึ่งกลางลำตัวของผู้คลอด
พบระดับส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมาเรื่อย ๆ จากระดับ 0 เป็น +1 +2 +3
การเตรียมความพร้อมในการคลอด
การเตรียมสถานที่
ห้องคลอดจะต้องสะอาด จัดเครื่องมือและของใช้ต่างๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบปูผ้ายางให้เรียบร้อยพร้อมใช้ทำคลอดได้สะดวก
การเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำคลอด เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำคลอด
ประกอบด้วย set คลอด set scrub ผ้าเช็ดมือ เสื้อกาวน์ ถุงมือ face shield รองเท้าบูท ถังผ้าเปื้อน ไฟตั้ง
การเตรียมทางด้านร่างกาย ท่าที่ใช้ในการคลอดมีหลายท่า
ท่านอนหงายชันเข่า (dorsal recumbent) ท่านอนหงายขึ้นขาหยั่ง (lithotomy) ท่านอนหงายชันเข่า (dorsal recumbent)
ประโยชน์สำหรับผู้ทำคลอดคือทำให้สามารถมองเห็นหน้า และหน้าท้องผู้คลอด สามารถฟังเสียงหัวใจทารกได้อย่างชัดเจน ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกได้สะดวก
ประโยชน์สำหรับผู้คลอด ได้แก่ เมื่อรู้สึกเจ็บและเบ่งสามารถดึงข้างเตียงได้สะดวก เมื่อหายเจ็บแล้วสามารถพักผ่อนได้อย่างสบาย
ท่านอนตะแคง
ประโยชน์คือ สามารถควบคุมแรงเบ่งได้ดีกว่า ทำให้มีการคลอดของศีรษะช้า และมีการฉีกขาดของแผลผีเย็บได้น้อย ลดแรงกดทับของมดลูกต่อเส้นเลือดดำใหญ่ที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ คลอดที่ได้รับยาระงับความรู้สึก ถ้าผู้คลอดอาเจียนจะช่วยไม่ให้เกิดการสำลักเข้าไปในปอด
การฟอกทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (scrub vulva)
ครรภ์แรกจะ scrub เมื่อผู้คลอดเบ่งเห็นไรผม ครรภ์หลังจะ scrub เมื่อปากมดลูกเปิดหมด
สำลีก้อนที่ 1 ฟอกจากหัวหน่าวขึ้นไปจนถึงสะดือ ฟอกจากด้านใกล้ตัวไปไกลตัวผู้ทำคลอด
สำลีก้อนที่ 2 ฟอกต้นขาด้านไกลตัวผู้ทำคลอดก่อน โดยฟอกตั้งแต่โคนขาไปถึง2/3 ของขาท่อนบน จากข้างบนลงมาข้างล่างและแก้มก้น
สำลีก้อนที่ 3 ฟอกขาด้านใกล้ตัวผู้ทำคลอดทำเช่นเดียวกับก้อนที่ 2
สำลีก้อนที่ 4 ฟอก labia minora
สำลีก้อนที่ 4 ฟอก labia minora ด้านไกลตัวผู้ทำคลอดก่อนตั้งแต่ข้างบนลงมาถึงผีเย็บ แล้ว
พลิกสำลีใช้อีกด้านหนึ่งทำความสะอาด (Labia majora ข้างเดียวกัน จากด้านบนลงมาด้านล่างและจากด้านในออกไปด้านนอก
สำลีก้อนที่ 5 ฟอก (Labia minora และ (Labia majora ด้านใกล้ตัว เช่นเดียวกับก้อนที่ 4
สำลีก้อนที่ 6 ทำความสะอาดบริเวณ vestibule จากข้างบนลงมาถึง anus รอบๆ anus
แล้วทิ้งไประวังสำลี contaminate บริเวณที่ Scrub
การเตรียมตัวผู้ทำคลอด
ก่อนทำคลอดจะต้องสวมหมวกคลุมผมให้เรียบร้อย ผูก Mask สวมผ้ายางกันเปื้อน สวมหน้ากาก และรองเท้าบูทให้เรียบร้อย
เมื่อจะทำการตรวจทางช่องคลอด หรือทำคลอดต้องผูก Mask ทุกครั้ง
ฟอกถูมือก่อนทำคลอด สวมเสื้อกาวน์และถุงมือด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อเกี่ยวกับการเบ่งที่ถูกวิธี
ระยะคลอด การพยาบาลระยะที่ 2
ระยะที่ 2 ของการคลอด (Second stage of labor) เป็นช่วงที่ปากมดลูกเปิดหมดแล้ว (Fully dilatation) และทารกพร้อมที่จะคลอด
หดรัดตัวนาน 60-90 วินาที ทุก2-3นาที การหดรัดตัวไม่ดี จะทำให้ระยะที่ 2 ของการคลอดล่าช้า หรือ หดรัดตัวเกินไปเสี่ยงต่อมดลูกแตก
Basal tone of uterus: หมายถึง ระดับ tone ของกล้ามเนื้อมดลูกในระยะพัก คือขณะที่ไม่มีการหดรัดตัวเกิดขึ้น
Interval (frequency) of uterine contraction: หมายถึง ระยะห่างของการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกในแต่ละครั้ง
Duration of uterine contraction : หมายถึงระยะเวลาที่กล้ามเนื้อมดลูกหดตัวในแต่ละครั้ง โดยนับเวลาตั้งแต่กล้ามเนื้อมดลูกเริ่มมีการหดรัดตัว
Intensity of uterine contraction : หมายถึงความแรงของการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
การทำคลอดและการช่วยเหลือการคลอดปกติการช่วยเหลือการคลอดปกติ
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยใช้คีมคีบสำลีชุบน้ำยาฆ่า
การเชียร์เบ่ง เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้ผู้คลอดสูดลมหายใจเข้าทางจมูกและเป่าลมหายใจออกทางปากหนึ่งครั้งเพื่อหายใจล้างปอด จากนั้นสูดลมหายใจเข้าเต็มที่แล้วกลั้นลมหายใจไว้ยกศีรษะ จนคางจรดหน้าอก (C-shaped, Up-right position) ออกแรงเบ่งลงก้นเหมือนการเบ่งถ่ายอุจจาระ ประมาณ 6 - 8 วินาที ไม่ควรเกิน 10 วินาทีต่อครั้ง
ปูผ้าทำคลอดให้สวมปลอกขาถึงโคนขาทั้ง2ข้างโดยสอดมือเข้าใต้ผ้าที่พับตลบกลับด้านโคนขา สวมปลอกขาด้านใกล้ตัวของผู้ทำคลอดก่อน จากนั้นสวมถุงเท้าด้านไกลตัวเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
การคลอดการทำคลอดปกติ
การทำคลอดศีรษะ
การทำคลอดไหล่
การทำคลอดลำตัว
การประเมินภาวะสุขภาพทารกโดยใช้ระบบ APGAR score
• 8-10 คะแนน เป็นทารกแรกเกิดที่มีสภาวะปกติ (Good contraction) ทารกต้องการดูแลตามปกติ ได้แก่ ช่วยเหลือให้ทารกหายใจได้สะดวก โดยการดูดสารคัดหลั่งในปากและจมูกเบาๆด้วยลูกสูบยางแดง (Suction secretion) เช็ดตัวให้แห้ง สวมหมวกและห่อตัวให้อบอุ่น ให้ความอบอุ่นที่เพียงพอ (Provision of warm)
• 4-7 คะแนน (Mild asphyxia) เป็นทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจนเล็กถึงปานกลาง ส่วนใหญ่ทารกไม่หายใจหรือ หายใจค่อนข้างช้า สีผิวอาจเขียว ซีด กล้ามเนื้ออ่อนแรงบ้าง ส่วนใหญ่อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ควรให้ความช่วยเหลือโดยการให้ออกซิเจนทางหน้ากากและกระตุ้นให้ทารกหายใจ
• 0-3 คะแนน (Severe asphyxia) เป็นทารกที่พร่องออกซิเจนอย่างรุนแรง ไม่สามารถหายใจได้เองหรือหายใจเฮือก อัตราการเต้นของหัวใจน้อย ตัวอ่อนปวกเปียก ซีดเซียว ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งกระตุ้นใดๆต้องรีบให้การช่วยเหลือทารกทันที ด้วยการช่วยหายใจแบบแรงดันบวก (Positive pressure ventilation: PPV) และช่วยฟื้นคืนชีพทารก อาจจะต้องใส่ Endotracheal tube และใช้เครื่องช่วยหายใจ หากพบว่าอัตราการเต้นหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ควรช่วยเหลือโดยการนวดหัวใจ
การดูแลทารกเกิดใหม่
การดูแลการหายใจ ต้องประเมิน 2 อย่างนี้การร้องและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
การป้องกันการสูญเสียความร้อน
การป้องกันภาวะโลหิตจางในทารกแรกเกิด
การดูแลสายสะดือทารกแรกเกิด
การทำสัญลักษณ์แยกทารกเกิดใหม่ (newborn identification)
การประเมินสัญญาณชีพ
อุณหภูมิ (Temperature) ค่าปกติ 36.5-37.5 C
อัตราการหายใจ (Respiratory rate) ค่าปกติ 30-60 ครั้ง/นาที อาจหายใจเร็วถึง 80 ครั้ง/นาที
อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ค่าปกติ 120-160 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต (Blood pressure) ช่วงแรกจะไม่วัด ค่าปกติจะมีความดัน systolic 60-80 mmHg และความดัน diastolic 40-50 mmHg
การชั่งน้ำหนักและการวัดขนาดของทารก
น้ำหนัก ประมาน 2,500-4,000 g
ความยาว ประมาณ 45-55 เซนติเมตร
ทรวงอก ความยาวรอบอก (chest circumference) ประมาณ 30-36 เซนติเมตร
รอบท้อง (abdominal circumference) มีขนาดเท่าๆกับรอบอก ประมาณ 30-36 เซนติเมตร
ศีรษะ ความยาวรอบศีรษะ (head circumference) ประมาณ 30-32 เซนติเมตร ในราย microcephaly รอบศีรษะเล็กกว่า 32 เซนติเมตร
การส่งเสริมสัมพัธภาพระหว่างมารดาและทารกแรกเกิด skin-to-skin, eye contact และ early breastfeeding
การป้องกันภาวะเลือดออกง่าย ทารกแรกเกิดต้องได้รับการฉีดวัคซีนวิตามินเค 0.5-1 มิลลิกรัม ในวันแรก