Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพการดูแลช่วยเหลือมารดาและทารก ระยะที่ 2,3,4 ของการคลอด …
การประเมินภาวะสุขภาพการดูแลช่วยเหลือมารดาและทารก ระยะที่ 2,3,4 ของการคลอด
การประเมินระยะที่ 3 4 และ 2 ชั่วโมงหลังคลอด
ประเมินตามหลัก 5 B
Body
การตรวจสอบประวัติการคอด เพื่อประเมินปัจจัยในระยะคลอด เช่นระยะการคลอดที่1 2 และ3 การคลอดเฉียบพลัน (Precipitated) การมีรกค้างเป็นต้น การตรวจร่างกายทั่วไป ระดับความรู้สึกตัว ภาวะซีด บันทึก v/s ทุก 15นาที 1 ชั่วโมงแรก และ ทุก 30 นาที ใน 2 ชั่วโมง จนครบ 24 ชั่วโมง
Bladder and uterus
เป็นการประเมินกระเพาะปัสสาวะว่ามีการโป่งตึงตัว มีน้ำปัสสาวะคั่งค้างหรือไม่ ถ้ามีคั่งค้างจะทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ ต้องกระตุ้นให้มารดาปัสสาวเองภายใน 6 ชั่วโมง ประเมินารหดรัดตัวของมดลูกทุก 15-30 นาที ใน 4 ชั่วโมงจากยั้ยทุก 1-4 ชั่วโมง
Bleeding and Episiotomy
เป็นลักษณะแะปริมาณของเลือด/น้ำคาวปลา ทำการบันทึกทุก 15 นาที ในระยะ 2 ชั่วโมงแรก บันทึกทุก1-2 ชั่วโมง ในระยะ 4 ชั่วโมง บันทึกทุก 4 ชั่วโมง จนครบ 24 ชั่วโมง แรกหลัง ชั่วโมง แรกไม่ควรเกิน 60 cc. และชั่วโมงต่อไปไม่ทัน 30 cc. และด้านใน Episiotomy การประเมินลักษณะฝีเย็บและแผล แะตรวจดูความผิดปกติทุกๆ 8 ชั่วโมง โดยหลักREEA
Breast feeding
ประเมินลักษณะของเต้านม หัวนม และการไหลของน้ำนมเพื่อประเมินความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมและนำทารกเข้าเต้าเพื่อดูดนมมารดาโดยเร็ว และดูดบ่อยทุก 2-3 ชั่วโมง เป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน ออกซิโทนซิน ช่วยให้มดูกหดรัดตัวดี
Bottom
การประเมินทวารหนักและอวัยวะโดยรอบว่ามีอาการปวด บวม แดง หรือมีเลือดคั่งที่ทำให้แผฝีเย็บทำให้ฝีเย็บบวม การบวมอาจถึงทวารหนัก
ประเมินแผลฝีเย็บตามหลักของ REEDA เพื่อประเมินลักษณะของแผลฝีเย็บ
R = Redness คือ อาการแดงของแผล
E = Edema คือ อาการบวมของแผล ถ้าบวมมันใสคือการบวมจากยาชา
E = Ecchymosis คือ อาการช้ำเลือดช้ำหนอง
D = Discharge คือ มีน้ำเหลืองหรือหนองไหลออกมา
A = Approximation คือ การชิดกันของแผล
การให้ยาหลังคลอด
ยา Syntocinon (หรือ oxytocin)
เป็นยาที่ใช้ชักนำและเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูกก่อนการคลอดบุตร (augmentation of labor) ใช้ในการป้องกันและรักษาภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว ภายหลังจากการคลอดบุตรทางช่องคลอดหรือหลังการผ่าตัด คลอดบุตรทางหน้าท้อง โดยเป็นยาชนิดแรกที่เลือกใช้ (first-line drug) ในการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง
ปริมาณการใช้ยา Oxytocin
การผสมยา oxytocin 1 amp ซึ่งมีปริมาณ oxytocin เท่ากับ 10 มิลลิยูนิต ( 1 มิลลิลิตร) ในสารน้ำ เช่น 5% D/N/2, 5% D/W, NSS, LRI (lactated ringer's injection ) ปริมาณ 1,000 มิลลิลิตร
การให้ยาที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ได้ โดยทั่วไปเริ่มให้ ขนาดต่ำสุดคือ 12 มิลลิยูนิต และปรับเพิ่มขนาดของยาครั้งละ 1-2 มิลลิยูนิต ทุก 30 นาที จนกระทั่งมดลูกหดรัดตัวดีคือ intอvel ทุก 2-3 นาที และ dนration 45-60วินาที
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Oxytocin
ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยาแดงหรือระคายเคือง
คลื่นไส้ อาเจียน
มีอาการปวดหรือปวดบีบที่ท้อง
มดลูกบีบตัวรุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น
หัวใจเต้นผิดปกติ
หายใจถี่ หรือหายใจมีเสียงหวีด
ทรงตัวไม่อยู่ หรือมีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกาย
พฤติกรรมการแสดงออกของผู้คลอดในระยะต่างๆของการคลอด
ระยะ Latent Phase
เหมาะสม
ตื่นเต้น มีความวิตกกังวล /เครียดเล็กน้อย
พูดคุย ชักถาม เกี่ยวกับการคลอด
สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลเมื่อผู้ดูแลอธิบายสิ่งต่างๆ
มีความต้องการในการช่วยเหลือตนเองเช่นต้องการลุกเข้าห้องน้ำด้วยตนเอง การเปลี่ยนท่าต่าง ๆ ที่ตนเองต้องการ เป็นต้น
ไม่เหมาะสม
แสดงความไม่เป็นมิตร
มีความรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามและไม่ได้รับความช่วยเหลือ
อาจมีความกลัว วิตกกังวลมากเนื่องจากได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาก่อน
ระยะ Active Phase
เหมาะสม
ผู้คลอดรู้สึกอ่อนล้า และบางรายรู้สึกพักไม่ได้ วิตกกังวล
เมื่อมดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้นมีการแสดง ออกโดยการเกร็งแขนขา กำมือแน่น
มีพฤติกรรมพึ่งพามากขึ้น ร้องขอความช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่าง
มีพฤติกรรมพึ่งพามากขึ้น ร้องขอความช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่าง
ไม่เหมาะสม
แยกตัวเอง ซึมเศร้า
ผู้คลอดอาจมีการปฏิเสธกิจกรรมที่พยาบาลผดุงครรภ์ทำให้ เช่น ไม่ให้แตะหน้าท้อง ไม่ให้ฟังเสียงหัวใจลูก
ระยะ Transitional phase
เหมาะสม
แสดงพฤติกรรมว่าพักไม่ได้อย่างชัดเจนกระสับกระส่าย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
เมื่อมดลูกคลายตัว ผู้คลอดจะสงบ นิ่งเคลิ้มหลับ
ไม่สุขสบายทั่วร่างกาย เกิดตะคริวที่ขา
ความสามารถในการรับรู้ การเผชิญปัญหาลดลง
บางครั้งควบคุมตนเองไม่ได้ กลัวที่ต้องอยู่คนเดียว
ไม่่หมาะสม
ผู้คลอดไม่สามารถควบคุมตนเองได้ร้องเอะอะ โวยวาย เรียกร้องให้ยุติการตั้งครรภ์โดยการผ่าตัดคลอด
ไม่ให้ความร่วมมือ ในการจัดท่าเพื่อคลอด
ส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาทารก และครอบครัวก่อนย้ายไปตึกหลังคลอด
การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่-ลูก
ระยะ 40 นาทีแรกหลังคลอด ซึ่งเป็นระยะที่ดีที่สุดในการสร้างสายสัมพันธ์ มารดาจะรู้สึกตื่นเต้นและมีอารมณ์รักและต้องการตอบสนองต่อทารก
ทารกจะตื่นและสงบ พร้อมที่จะเรียนรู้ รับรู้ได้ทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เช่น ใช้ปลายนิ้วสำรวจทารกด้วยการสัมผัสเบาๆ อุ้มและกอดทารกในลักษณะมองหน้ากัน สบตากัน ยิ้มและพูดคุยกับทารก
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอด
ทารกมาดูดนมมารดาในระยะนี้ เป็นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก โดยดูแลให้มารดาและทารกสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ (skin to skin contact) และการสัมผัสทางตา (eye to eye contact ) และในระยะ 40 นาทีแรกคลอด
การดูดนมในระยะแรกนี้เป็นการฝึกการใช้ลิ้นของทารก และกระตุ้นร่างกายของมารดา ในการหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (oxytocin) ช่วยกระตุ้นความเป็นแม่เพิ่มขึ้น ทำให้มารดาสงบ ผ่อนคลาย อารมณ์ดี ทนต่อความเจ็บปวดและเพิ่มความรู้สึกรักลูก
แนวทางปฏิบัติ การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่-ลูก (bonding)
การให้มารดาโอบกอดทารกทันทีหลังคลอด
ให้มารดาโอบกอดและสัมผัสทารก ให้เนื้อทารกแนบเนื้อมารดา คลุมหลังทารกด้วยผ้าอ้อม เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน ให้มารดาโอบกอดนานตามความต้องการ
การจัดท่ามารดาและทารกขณะให้นมอย่างเหมาะสมในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงหลังคลอด
ท่าขึ้นขาหยั่ง (lithotomy position)
ท่านอนตะแคง (side lying position)