Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปสาระความรู้ กลุ่มที่ 4, บรรยากาศการเรียน การสอน, อาจารย์ผู้สอน,…
สรุปสาระความรู้ กลุ่มที่ 4
การบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
แหล่งเรียนรู้
ความหมายของแหล่งเรียนรู้
สถานที่หรือศูนย์รวมที่ประกอบด้วย ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอนที่มีรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและเสริมสร้างประสบการณ์ในการดำรงชีวิต พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ
ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
ให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะและความคิด ความเข้าใจในคุณค่า ทัศนคติ ค่านิยม ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการเรียนรู้ โดยมีทักษะการแสวงหาความรู้ สามารถจัดการความรู้และหากแหล่งเรียนรู้มีความหลากหลาย ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคล ตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัด
ประเภทของแหล่งเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ครู ปราชญ์ ผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักการศึกษา นักวิจัยผู้ประกอบการต่าง ๆ
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ เช่น โรงเรียน ห้องสมุด สถานประกอบการต่าง ๆ ศาสนสถาน แปลงเกษตร สถานที่ทางธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ และสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สื่อทางคอมพิวเตอร์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้
ทำให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของการเรียนมากยิ่งขึ้น
ทำให้สะดวกในการใช้ เนื่องจากมีอยู่ในชุมชนแล้ว เพียงแต่ครูสำรวจและเลือกใช้ ให้เหมาะสม
ประหยัดงบประมาณและ เวลา
ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน
การตื่นตัวในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือเรื่องอื่นเพื่อที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ปลูกฝังและส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ผู้เรียนและชุมชน
หลักการบริหารแบบ 4 M’s
บุคลากร (Man) คือ ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่สำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ทุกคน นักเรียนทุกคน ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงาน/องค์การต่าง ๆ
งบประมาณ (Money) คือ การบริหารจัดการงบประมาณให้บังเกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่ามากที่สุด โดยแหล่งที่มาของงบประมาณ คือ เงินนอกงบประมาณและเงินงบประมาณ โดยใช้จ่ายตามระเบียบของทางราชการ
ทรัพยากร (Materials) คือ การบริหารจัดการทรัพยากรหรือแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยมีการจัดทำทะเบียนเพื่อสะดวกในการบริหารจัดการได้ครอบคลุมครบถ้วนและเกิดประโยชน์สูงสุดจัดได้ดังนี้ แหล่งเรียนรู้ของราชการ เอกชน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน โดยการพัฒนาของเดิมหรือสร้างใหม่ และจัดเก็บเป็นระบบโดยแยกเป็นสื่อธรรมชาติและสื่อเทคโนโลยี
การบริหารจัดการ (Management) คือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการ/โครงการของสถานศึกษาโดยการตั้งทีมบริหารเพื่ออำนวยการและสนับสนุน การจัดตั้งทีมครู - นักเรียน เพื่อดำเนินการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลคุ้มค่า ยังยืน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เกิดประโยชน์กับผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและใช้แหล่งเรียนรู้
บทบาทของผู้บริหารในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้
บทบาทด้านการกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้
บทบาทด้านการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในการใช้แหล่งเรียนรู้
บทบาทด้านการสนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานที่เกิดจากการใช้แหล่งเรียนรู้
บทบาทด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ดูแล และประเมิน
บทบาทของผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อม
ด้านการบริหารจัดการ
บริหารจัดการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือ
ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ
จัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในสถานศึกษาเป็นการสร้างความร่มรื่นสวยงาน และความสะดวกสบาย จะมีส่วนช่วยส่งเสริมทั้งสุขภาพทางกายภาพและสุขภาพทางจิตของเด็ก สามารถดำเนินการโดยมีการจัดตกแต่งอาคารเรียน บริเวณและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้เกิดความร่มรื่น สวยงาม
ด้านการจัด การเรียนการสอน
ต้องให้ความสำคัญกับสาระความรู้ที่จะนํามาสอน โดยเน้นสาระความรู้ที่ตอบสนองต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายในเรื่องสิ่งแวดล้อม และได้รับพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม
มาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
มาตรการด้านการบูรณาการจัดการเรียนรู้
มาตรการด้านการจัดการบริเวณโรงเรียน
มาตรการด้านการใช้ไฟฟ้าในโรงเรียน
มาตรการด้านการใช้เครื่องปรับอากาศในโรงเรียน
มาตรการด้านระบบสำนักงาน
มาตรการด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรการด้านการใช้น้ำในโรงเรียน
มาตรการด้านการใช้ตู้เย็นในโรงเรียน
มาตรการด้านการใช้คอมพิวเตอร์
องค์ประกอบ ระบบและกระบวนการจัดการนวัตกรรม
และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารและการเรียนรู้
ความหมายของนวัตกรรม
ความคิดการปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
องค์ประกอบของนวัตกรรม
ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้
ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้น ๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้
การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea) สิ่งที่จะเป็นนวัตกรรมได้นั้นต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ การทำซ้ำ เป็นต้น
กระบวนการของนวัตกรรม
การค้นหา (Searching)
การเลือกสรร (Selecting)
การนำไปปฏิบัติ (Implementing)
การเรียนรู้ (Learning)
ขั้นตอนของนวัตกรรม
การคิดค้น (Invention)
การพัฒนา (Development)
ขั้นนำไปใช้จริง (Implement)
ขั้นเผยแพร่ (Promotion)
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน
เพื่อนำไปใช้ในการบริหารการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
นวัตกรรมทางด้านสื่อการสอน
นวัตกรรมการประเมินผล
นวัตกรรมการบริหารจัดการ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา
ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเอาไว้เป็นหมวดหมู่
ช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บเพื่อให้เป็นสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
ช่วยในการประเมิน หรืองานประกันคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานจะได้ผลที่บรรลุวัตถุประสงค์
ช่วยในการส่งข้อมูลและรายงานที่ประมวลผลได้แล้วไปให้ผู้รับที่อาจจะอยู่ห่างไกลจากหน่วยงาน
ช่วยในการนำเสนอรายงานหรือข้อเสนอต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชา
ช่วยในการจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการปฏิบัติงาน และการดูงาน
ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทดสอบการตัดสินใจของตนได้
ช่วยในงานบริหารโดยตรงของผู้บริหาร
บรรยากาศการเรียน การสอน
อาจารย์ผู้สอน
ผศ.ดร.ธีรพจน์ แนบเนียน
ผศ.ดร.ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน
ผู้จัดทำ
นางสาวดวงพร ภูเหม็น 64121288035
สาขาการบริหารการศึกษา แผน ข ห้อง 2