Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.1.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
3.1.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์
อารมณ์ (emotion)
ระยะไตรมาส 1 จะมีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย (ambivalence)
แปลกใจ เหลือเชื่อ ถ้าไม่พร้อมจะกลัวและถ้าปฏิเสธการตั้งครรภ์อาจทำแท้ง ระยะนี้จึงต้องการกำลังใจ การปลอบโยนต้องเข้าใจว่าอารมณ์นี้เป็นสิ่งปกติของหญิงตั้งครรภ์
ระยะไตรมาส 2 เริ่มยอมรับการตั้งครรภ์มากขึ้น จากการดิ้นของทารกในครรภ์ (acceptance)
เกิดการยอรับในความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์ตื่นเต้นและมีความสุขกับการตั้งครรภ์ นับเป็นจุดเริ่มตัน ของหญิงตั้งครรภ์ในการปรับความคิดและเตรียมรับบทบาทใหม่
ระยะไตรมาส 3 หญิงตั้งครรภ์จะเริ่มกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดมากขึ้น (anxiety)
ความกลัว ความเจ็บปวด กลัวการต้องมาอยู่ในโรงพยาบาล กลัวการผ่าตัด กลัวอันตรายที่เกิดขึ้นในระยะคลอด กลัวจะไม่ได้บุตรดังที่หวังไว้
การหมกมุ่น คิดถึงแต่ตนเอง (introversion)
สนใจแต่เฉพาะตนเองไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ต้องการพักผ่อนและอยู่ตามลำพัง ทิ้งนี้เพื่อใช้เวลาในการวางแผน ปรับตัวเพื่อเตรียมคลอด
อารมณ์แปรปรวน (emotional lability)
อารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์นั้นแปรปรวนได้ง่ายบางขณะก็สนุกสนานร่าเริงบ้างก็ซึมเศร้า ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผลหรือมีสาเหตุเพียงเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ (body image)
ทุกระยะของการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะมีความรู้สึกว่าร่างกายของตนมีความสวยงามน้อยกว่าเดิม รูปร่างเลวลง อ้วนอึดอัดและรู้สึกรำคาญรูปร่างของตนเอง
ขนาดครรภ์ที่โตขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนแบบแผนการแต่งกาย ซึ่งทำให้ความสวยงามลดลงสูญเสียความสนใจจากเพศตรงข้าม โดยเฉพาะสามี
ระยะไตรมาสแรก การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายยังปรากฏไม่ชัดเจนจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์น้อย
ระยะไตรมาสที่สอง ระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากขึ้น เช่น หน้าท้องและเต้านมขยายใหญ่ขึ้น
หญิงตั้งครรภ์เริ่มรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
ระยะไตรมาสที่สาม รู้สึกว่าร่างกายเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเกิดความไม่คล่องตัว รู้สึกอับอายไม่ชอบร่างกายของตนเองอาจมีความรู้สึกทางด้านลบต่อร่างกายของตนเองได้
อาจมีผลทำให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ในกาวะเครียดได้ เพราะมีความรู้สึกว่ารูปร่างของตนเองเปลี่ยนไปไม่สวยงาม สูญเสียความสนใจจากเพศตรงข้าม
การเปลี่ยนแปลงด้านเพศสัมพันธ์ (sex)
ระยะไตรมาสแรก หญิงตั้งครรภ์อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง เนื่องจากความไม่สุขสบายทางด้านร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
ระยะไตรมาสที่สอง หญิงตั้งครรภ์จะมีความรู้สึกทางเพศเพิ่มขึ้นและร่างกายมีการตอบสนองทางเพศดีขึ้นเนื่องจากร่างกายมีสุขภาพดีขึ้น อาการไม่สุขสบายจากอาการแพ้ท้องหายไป
ทำให้อวัยวะบริเวณอุ้งเขิงกรานได้รับโลหิตมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น อาจกระตุ้นให้มีความรู้สึกทางเพศมากขึ้น
ระยะไตรมาสที่สาม ในระยะนี้รูปร่างของหญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ขนาดของมดลูกขยายใหญ่ขึ้นทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สะดวกในการมีเพสัมพันธ์ และความรู้สึกในเรื่องภาพลักษณ์เปลี่ยนไป อาจรู้สึกว่ารูปร่างของตนน่าเกลียด มีความอับอายในรูปร่างของตนเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้สึกทางเพศลดลงได้
ยังกลัวว่าการมีเพศสัมพันธ์จะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่นพิการ หรือคลอดก่อนกำหนดได้และเมื่อมีการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้คิดว่าสามีหมดรัก รังเกียจตนอง ส่วนสามีอาจรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งและมีความรู้สึกอิจฉาทารกในครรภ์
การปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา (maternal role)
ขั้นตอนพัฒนกิจของการตั้งครรภ์ (tasks of pregnancy)
พัฒนกิจขั้นที่ 1 การสร้างความมั่นใจและยอมรับการตั้งครรภ์(pregnancy validation)
พัฒนกิจขั้นที่ 2 การมีตัวตนของบุตร และรับรู้ว่าบุตรในครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของตน (fetal embodiment)
พัฒนกิจขั้นที่ 3 การยอมรับว่าทารกเป็นบุคคลคนหนึ่งที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างไปจากตน
(fetal distinction)
พัฒนกิจขั้นที่ 4 การเปลี่ยนบทบาทการเป็นมารดา (role transition)
วางแผนจัดเตรียมสิ่งของในบ้าน รวมทั้งเตรียมบุตรคนก่อนและสมาชิกอื่นในบ้านให้พร้อมที่จะต้อนรับบุตรเกิด
23
ใหม่
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
1). ประสบการณ์การเลี้ยงดู
หญิงใดได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเอาใจใส่ จากบิดามารดาของตนเองในวัยเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมการเป็นบิดามารดา
2) วุฒิภาวะทางอารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่มีวุฒิภาวะจะเป็นบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ก็จะสามารถปรับตัวรับผิดชอบบุตรที่เกิดมาได้เหมาะสม
3). ลักษณะทางสังคมและครอบครัว
สภาพสังคมเปลี่ยนไป
สังคมไทยมีลักษณะของครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น
ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานเพิ่มขึ้น บุคคลทำงานนอกบ้าน
4) สภาพเศรษฐกิจ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี การตั้งครรภ์มักจะมีผลกระทบต่ออารมณ์ในด้านดีเกี่ยวกับบุตร
5). ประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา
ความกดดันจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น การแท้ง การสูญเสียทารกความต้องการเพศทารก จำนวนบุตร ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การคลอดยาก และอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้จะมีผลทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความรู้สึกกลัว กังวล ไม่มั่นใจ ไม่กล้าคาดหวังต่อทารกในครรภ์ ขาดความเชื่อมั่นในตนเองต่อบทบาทมารดา ขาดความมั่นใจต่อสุขภาพของทารก
6) สถานภาพสมรส และสัมพันธภาพในชีวิตสมรส
หญิงตั้งครรภ์ที่มีสามีอยู่ใกล้ชิดให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจะยอมรับการตั้งครรภ์ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่สามีห่างเหินหรือมีความบาดหมางในชีวิตสมรสจะปฏิเสธการตั้งครรภ์
7). การยอมรับสภาพความเป็นจริง
การยอมรับสภาพความเป็นผู้หญิง ผู้หญิงที่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับความเป็นเพศหญิงของตนดีพอ อาจจะยอมรับต่อบทบาทการเป็นมารดาได้ยาก
8). การเรียนรู้และการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์
ถ้าขาดการได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการเตรียมตัวในขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์อาจเกิดความกลัวสิ่งต่าง ๆ เช่น กลัวต่อการคลอด กลัวความเจ็บปวด กลัวอันตรายจากการคลอด กลัวบุตรพิการหรือตาย
การปรับตัวต่อบทบาทการเป็นบิดา
ไตรมาสแรก เมื่อทราบว่าภรรยาตั้งครรภ์ สามีจะประกาศการตั้งครรภ์ให้กับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง
และสามีจะมีความรู้สึกลังเลใจเช่นเดียวกับภรรยา อาจเริ่มรู้สึกประทับใจต่อการตั้งครรภ์ ดีใจภูมิใจ แต่ในขณะเดียวกันจะเกิดความรู้สึกสับสน วิตกกังวล ไม่แน่ใจในการเผชิญบทบาทใหม่
ไตรมาสที่สอง
ระยะนี้บิดาใหม่ยังไม่มีบทบาทที่ชัดเจน แต่จะเริ่มรู้สึกมากขึ้นเมื่อได้จับต้องขณะทารกดิ้นในครรภ์ภรรยา สามีมักจูบหน้าท้องภรรยาขณะตั้งครรภ์ โดย
รู้สึกว่าการที่ตนและภรรยามีความรู้สึกใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
ไตรมาสที่สาม เป็นระยะที่สามีจะมีการเตรียมการและคาดการณ์เกี่ยวกับการคลอด
เป็นช่วงที่สามีและภรรยาจะช่วยกันเตรียมของใช้ต่าง ๆ รวมถึงการหาความรู้ในเรื่องการปฏิบัติตน และการเลี้ยงดู ทารก บิดาจะมีความรู้สึกผูกพันกับทารกในครรภ์ยิ่งขึ้น