Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Internet of things, อตน, 33, 1_dzxCfHB9TOC2o8DGXVf3qA, นางสาวฮามาม๊ะฮ์…
Internet of things
การประยุกต์ใช้ Internet of things
Smart home
บ้านอัจฉริยะ คือการใช้เทคโนโลยีมาควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย , มีระบบการจัดการพลังงาน ระบบรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติทั้งภายในและรอบตัวบ้าน ส่วนใหญ่จะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปเรียกว่า home automation ซึ่งสามารถถูกจำแนกความสามารถและความซับซ้อนในการควบคุมออกเป็น
Smart wearable
อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเก็บข้อมูลแล้วนำไปประมวลผลต่อ หรือตอบสนองความต้องการด้านโสตประสาท เช่น การเก็บข้อมูลต่างๆของร่างกายเพื่อนำไปประมวลผลด้านสุขภาพ, การฟังเพลงไร้สาย, การดูหนังเสมือนได้เข้าไปอยู่ในโรงภาพยนต์จริงๆ เป็นต้น
Smart City
เมืองอัจฉริยะ” เป็นแนวคิดที่หมายถึงระบบที่เชื่อมโยงถึงกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง แนวคิดเบื้องหลังของเมืองอัจฉริยะคือการที่สภาพแวดล้อมสามารถรับรู้และปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้กับผู้อยู่อาศัย
Smart grids
ระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สมาร์ทกริดทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าจากผู้ให้บริการไปยังผู้ใช้บริการด้วยระบบการสื่อสารสองทางเพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า ณ บ้านของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทที่ให้บริการระบบส่งจ่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริดได้พัฒนาโปรแกรมพร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ตามเวลาจริง (Real Time) ไว้ที่แต่ละครัวเรือนว่ามีการใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ จุดไหนใช้มากน้อยอย่างไร เพื่อช่วยคำนวณการแจกจ่ายกระแสไฟของเมือง
Smart retail
การจัดการระบบร้านค้าด้วยการส่งข้อมูลไปถึงมือลูกค้าอย่างฉับไว จะดีเพียงใดถ้าเพียงลูกค้าเดินผ่านประตูร้านเข้ามาก็ได้รับการทักทาย จะเพิ่มโอกาสและแรงจูงใจในการจับจ่ายสินค้าได้มากแค่ไหน หากสามารถนำเสนอสินค้าต้องตามรสนิยม หรือแม้แต่มอบส่วนลดได้ตรงใจลูกค้าอย่างรวดเร็ว ถึงมือ จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้แค่ไหน เมื่อไม่ต้องเสียเวลาหรือถูกกวนใจกับข้อมูลสินค้าและโปรโมชั่นที่ไม่ต้องการ และไม่เพียงส่งข้อมูลที่เหมาะสมตรงถึงลูกค้าเท่านั้น ยังสามารถเก็บข้อมูลและสถิติในรูปแบบต่างๆ ที่ธุรกิจจะสามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดและบริหาร
Smart supply chain
ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ระบบนี้จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยติดตามสินค้าที่กำลังขนส่งไปตามท้องถนน การทำงานก็มีการส่งต่อ ทำงานเกี่ยวเนื่องกัน โดยเริ่มตั้งแต่การหาสินค้า หรือวัตถุดิบ จนสิ้นสุดกระบวนการส่งถึงมือลูกค้า เพื่อตอบสอบความพึงพอใจของลูกค้า โดยสิ่งที่เชื่อม Supply Chain ด้วยกันคือ Logistic นั้นเอง
Connected Car
เป็นการประยุกต์ใช้งานอย่างหนึ่งของ Internet of Things (IoT) โดยเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับยานยนต์และการคมนาคมขนส่ง ทำให้รถยนต์สามารถสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รถยนต์จะกลายเป็นเซนเซอร์เคลื่อนที่ที่ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลจากท้องถนน ได้แก่ ข้อมูลอากาศ สภาพถนนและความหนาแน่นของจราจร จึงอาจเปรียบรถยนต์ได้กับสถานีตรวจวัดอากาศเคลื่อนที่ที่พร้อมส่งข้อมูลของสภาพแวดล้อมต่างๆ จากพื้นที่จริง รถยนต์จึงนับแหล่งเก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือและต่อยอดประโยชน์ได้อย่างมาก
Smart farmingm
เกษตรอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ที่จะทำให้ การทำไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำเอาข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อย (Microclimate) ระดับไร่ (Mesoclimate) และระดับมหภาค (Macroclimate) มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
ประโยชน์ของ Internet of things
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
IoT จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากความสามารถในการทำงานและการส่งผ่านข้อมูลของ IoT นั้นสูงกว่าการใช้มนุษย์ทำงาน การทำงานของมนุษย์อาจจะทำให้เกิด Human Error และเกิดข้อจำกัดด้านพลังงาน, เวลา และสถานที่ได้ แต่ IoT มีความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวลผล ส่งผ่าน และแสดงผลได้อย่างรวดเร็วและสามารถรองรับข้อมูลได้เป็นจำนวนมหาศาล
ช่วยลดต้นทุนในหลาย ๆ ด้าน
เนื่องจาก IoT มีความแม่นยำและไรข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ ทำให้ช่วยลดต้นทุนได้หลาย ๆ ด้าน อย่างเช่นต้นทุนการจ้างงาน ต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือต้นทุนการผลิต
ยกระดับกิจการให้ Smart ในสายตานักลงทุน
IoT เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเกิดเป็น Smart Factory หรือ Smart Business และช่วยเสริมให้เกิดข้อดีหลาย ๆ อย่าง เช่นสร้างกำไร, ลดต้นทุน, เพิ่มรายได้และขยายกิจการ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผลประกอบการดีขึ้น มีหน้างบการเงินที่สวย (โดยไม่ต้องตกแต่งตัวเลข) เป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุนหรือ Partner ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุนธุรกิจของคุณ
อำนวยความสะดวก มีเวลาเหลือในการสรรค์สร้างนวัตกรรม
สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าเทคโนโลยีคือ “ความคิดสร้างสรรค์” การให้เทคโนโลยีทำงานด้าน Routine แทนเรา จะทำให้เรามีเวลาในการทำงานสร้างสรรค์ งานนวัตกรรม ทำสิ่งที่ควรทำมากยิ่งขึ้น เพราะแท้ที่จริงแล้วมนุษย์มีศักยภาพที่ซ่อนอยู่มากกว่าจะทำเพียงแค่งาน Routine เท่านั้น การให้เทคโนโลยีทำงานแทนและโยกแรงงานที่ทำงาน Routine มาฝึกฝนเพื่อทำงานที่ซับซ้อนและใช้ไอเดียมากขึ้นจะทำให้กิจการเกิดความก้าวหน้ามากขึ้น
ไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่
IoT สามารถทำงานได้แบบไร้พรมแดน เพราะขับเคลื่อนด้วยอินเทอร์เน็ต อย่างที่เราทราบกันดีว่าอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมสิ่งที่อยู่ห่างไกล ให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นสามารถติดตามผลการดำเนินงานและเช็คสถานะการผลิตได้ แม้ว่าโรงงานจะอยู่คนละจังหวัดหรือประเทศก็ตาม และ IoT ยังสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ต่างจากมนุษย์ที่มีพลังงานจำกัด ต้องการการพักผ่อน สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าการใช้ IoT ช่วยทำลายกำแพงด้านเวลาและสถานที่ได้
หลักการทำงานของ Internet of things
อย่างที่เกริ่นไปในข้างต้น IOT ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง เชื่อมต่อระหว่างเราและเครื่องใช้อิเล็กทรกนิกส์ ในส่วนนี้เราอาจจะใช้กระบวนการที่เรียกว่า Wireless Sensor Network (WSN) เป็นการตรวจจับ ค่าแสงหรืออุณหภูมิต่างๆ เพื่อประมวลผลกลายเป็นการทำงานในขั้นต่อไป ส่งผ่านค่าพวกนี้ผ่าน Dateway Sensor Nodes เพื่อเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตให้กระจายคำสั่งได้ ไม่ว่าผู้ออกคำสั่งจะอยู่ที่ไหน ไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะห่าง ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น
การทำงานของเทคโนโลยี IoTs นั้น จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors มาผนวกเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำเอาสองสิ่งมาร่วมกันทำงานนั้น เปรียบเสมือนการมอบมันสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ โดยมีอินเตอร์เน็ตมาเป็นสื่อกลางในการทำให้อุปกรณ์นั้นสามารถทำงานได้ รับส่งข้อมูลถึงกันและกันได้
Sensors เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ เพราะเซนเซอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวตรวจสอบ ตรวจวัดเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เช่น กำหนดตำแหน่ง ควบคุมปริมาณ คัดแยกชิ้นงาน หรืออื่นๆ เพื่อให้ระบบดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ ดังนั้นหากเลือกใช้เซนเซอร์ที่มีประสิทธิภาพดีแม่นยำ ก็จะส่งผลให้กระบวนการผลิตมีคุณภาพที่ดีเยี่ยมตามไปด้วย
RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identificationเป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปีค.ศ. 1980 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบบาร์โค้ด (Barcode) โดยจุดเด่นของ RFID อยู่ที่การอ่านข้อมูลจากแท็ก (Tag) ได้หลายๆ แท็กแบบไร้สัมผัสและสามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้นแรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไมโครชิปที่อยู่ในแท็กในปัจจุบันได้มีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานในด้านอื่นๆนอกเหนือจากนำมาใช้แทนระบบบาร์โค้ดแบบเดิม
ความหมายของ Internet of things
การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น
นางสาวฮามาม๊ะฮ์ หมัดมี เลขที่ 39