Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถาบันการศึกษากับชุมชน, นางสุคนธา ณรงค์เดชา รหัสนักศึกษา 64U54620103 -…
สถาบันการศึกษากับชุมชน
ความหมาย การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
ความหมาย
รุ่งทิพย์ เข็มทิศ(2557, หน้า 34) กล่าวว่าการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน คือการดำเนินการติดต่อสื่อสาร การได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน
สมนึก พงษ์สกุล (2558, หน้า 61) กล่าวว่าการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการดำเนินการใด ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือจากชุมชนสู่สถาบันการศึกษา และสถาบันการศึกษาสู่ชุมชน
วาสนา ชูแสง (2558, หน้า 61) กล่าวว่า การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน หมายถึง กระบวนการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง แนวทางในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียน กับชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
หลักการ
กาญจนา สิงห์มณี
บุคลากรในสถาบันการศึกษาต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนที่สถาบันการศึกษา ตั้งอยู่อย่างละเอียดลึกซึ้ง
การดำเนินการต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจตรงไปตรงมา เป็นไปในทางสร้างสรรค์ มีความต่อเนื่อง
มีวิธีการหลาย ๆ อย่างที่ง่าย คล่องตัว และยืดหยุ่นได้เหมาะสมกับสถานการณ์ เวลา และโอกาส
Stoop and Rafferty
ต้องเป็นทั้งกระบวนการรับข่าว และให้ข่าวแก่ชุมชน
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน ควรใช้วิธีหลาย ๆ ด้าน
การสร้างความสัมพันธ์ควรจะต้องกระทำต่อเนื่องติดต่อกัน ตลอดไป
สถาบันการศึกษาควรให้ข้อมูลหรือข่าวสารที่น่าสนใจ ง่ายต่อการเข้าใจและควรต้องสอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
หลัก 3S’s
S - Shared Vision คือการสร้างให้ชุมชนมีวิสัยทัศน์ร่วมกันกับสถานศึกษา
S - Synergy คือการรวมพลังประสานความร่วมมือกับชุมชนให้ทำงานร่วมกับสถานศึกษา
S-School Based Activities การสร้างสถานศึกษาให้เป็นแหล่งความรู้ ศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชน
หลักการสร้าง Trust
แนวคิด
รุ่งทิพย์ เข็มทิศ กล่าวว่า แนวคิดการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน คือ การวางแผนดำเนินการบริหารงาน ติดต่อประสานความร่วมมือกับชุมชน
ฟิวส์โก้ (Fusco) เสนอแนวคิดในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน คือผู้บริหารและ ทีมงานของสถาบันการศึกษาจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของชุมชนนั้น ๆ
สตูฟส์แรฟเฟอร์ตี้
ต้องมีทั้งการให้และการรับสารต่อชุมชน
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนจะได้ผล ต้องใช้วิธีเขียนหลายวิธีในเวลาเดียวกัน
สร้างความสัมพันธ์ด้วยความจริงใจและเข้าใจต่อกัน
ควรสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
สถาบันการศึกษาควรให้ข้อมูลที่น่าสนใจง่ายต่อการเข้าใจ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ทฤษฎี
ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยาจุลภาค
ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (A Theory of reasoned action)
รูปแบบการทำนายพฤติกรรมของลิสก้า (Liska's Revision model)
ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคมตามความคิดของเฟสติงเจอร์ (Social comparison theory)
ทฤษฎีปริวรรษนิยมของโฮแมนส์ (Exchange theory)
ทฤษฎีการกระจายอำนาจ (Decentralization Theory)
ความยืดหยุ่น(Flexibility)
ความรับผิดชอบที่จะตรวจสอบได้ (Accountability)
การเพิ่มผลผลิต(Productivity)
โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษา
ตัวอย่างโรงเรียน
โรงเรียนบ้านเกาะเสือ ต.เกาะหมาก จ.พัทลุง
มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ได้รับความช่วยเหลือในการพัฒนาโรงเรียนจากชุมชน
มีการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาให้นักเรียนพึ่งพาตัวเอง ใช้กระบวนการ Active Learning ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) โดยสอนทักษะชีวิตให้กับนักเรียน
Santa Monica College, Los Angeles, USA
มีหลักสูตรออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการเข้าเรียนหรือทำกิจกรรม โดยเปิดสอนมากกว่า 60 หลักสูตร
กระบวนการและกลยุทธิ์การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
หลักการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
วาสนา ชูแสง (2557)
มีการศึกษาพื้นฐานของชุมชนนั้นให้เข้าใจ
มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง
มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนควรยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคนในชุมชน
สตูปส์และแรพเฟอร์ตี (Stoops and Rafferty 1961X
ต้องเป็นกระบวนการทั้งรับและให้ข่าวสารแก่ชุมชน
วิธีการหลากหลายแบบในการสร้างความสัมพันธ์
พยายามหาทางให้ชุมชนเข้าใจโรงเรียนมากที่สุด
การสร้างความสัมพันธ์ควรจะทำต่อเนื่องกันตลอดปี
โรงเรียนควรให้ข้อมูลที่น่าสนใจต่อการเข้าใจและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
การปฏิบัติงานตามขอบข่ายการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
งานให้บริการชุมชน
งานรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน
งานเสริมสร้างความสัมพันธ์ชุมชนกับหน่วยงานอื่น ๆ
งานเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคมหรือมูลนิธิฯ
งานประชาสัมพันธ์
กระบวนการพัฒนาและแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
ชูชาติ พ่วงสมจิตร
ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
กำหนดเป้าหมายการพัฒนา
กำหนดยุทธศาสตร์/แนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์
สมพร สุทัศนีย์
การนำโรงเรียนออกสู่ชุมชน
การประชาสัมพันธ์
การจัดให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน เข้าไปมีส่วนร่วม
การให้ความรู้และบริการ
การนำชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียน
การเชิญผู้ปกครอง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประสบความสำเร็จ และภูมิปัญญาในท้องถิ่นเข้ามาเป็นวิทยากรให้กับทางโรงเรียน
การจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
กลยุทธิ์และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน
การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
การวิเคราะห์ต้นทุนชุมชน
การวิเคราะห์บุคคลที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมในชุมชนตามปัจจัยอำนาจที่มีในชุมชน (Power Actor Analysis)
การจัดตั้งคณะทำงานและกำหนดบทบาทสมาชิกโดยใช้ตารางหน้าที่ราซี่ (RASI Chart)
ตัวอย่างสถานศึกษา
โรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ส่งเสริมชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
St Peter s Primary School (โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์)
สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการสอนทำอาหาร
กิจกรรมทัศนะศึกษา
กิจกรรมถักแนตติ้ง
การบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา
ความหมาย
พิทยา บวรวัฒนา (2556) การบริหาร หมายถึง เป็นเรื่องของการนำเอากฎหมาย และนโยบายต่าง ๆ ไปปฏิบัติให้เกิดผลซึ่งเป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะทำงานด้วยความเต็มใจด้วยความเที่ยงธรรมและอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
มัลลิกา ต้นสอน (2554) การบริหาร (Administration) หมายถึง การกำหนดแนวทางหรือนโยบาย การสั่งการ การอำนวยการ การสนับสนุนและการตรวจสอบให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ
นพพงษ์ บุญจิตราดุล ได้กล่าวถึงการบริหารว่าเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนการอย่างมีระเบียบ และใช้ทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
กฤษณภัต บุญยัษเรียร(2548)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้ชุมชนและชาติผ่านพ้นวิกฤตและดำรงความเป็นชาติหรือชุมชนไว้ได้
. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่า และความดีงามที่ดำรงชีวิตและวิถีชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมได้อย่างกลมกลืนและสมดุล
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นรากฐานการพัฒนาที่เริ่มจากการพัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเองการพัฒนาเพื่อการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการพัฒนาที่ผสมผสานองค์ความรู้สากลบนฐานภูมิปัญญาดั้งเดิมเพื่อเกิดเป็นภูมิปัญญาร่วมสมัยที่ใช้ประโยชน์ได้กว้างขึ้น
สมจิตร พรหมเทพ (2543)
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่อดีตอันยาวนาน จนกลายเป็นวิถีชีวิตประจำวันของตนเองและชุมชนตลอดมา
เป็นมรดกทางสังคมที่ได้จากการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาของกลุ่มคนประพฤติปฏิบัติอย่างมองเห็นแนวทางที่ดี และอย่างมีความเชื่อสืบต่อกันมา
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคุณค่ายิ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น
เสรี พงศ์พิศ(2536:145)
ลักษณะที่เป็นนามธรรม เป็นโลกทัศน์ ชีวทัศน์ เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย คุณค่าและความหมายของทุกสิ่งในชีวิตประจำวัน
. ลักษณะที่เป็นรูปธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่นการทำมา หากินการเกษตร หัตถกรรม ศิลปะดนตรี และอื่น ๆ
ประเวศ วะสี และคณะ (2536 : 21-23)
ความจำเพาะเกี่ยวกับท้องถิ่น เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์หรือความชัดเจนจากชีวิตและสังคมในท้องถิ่น
มีความเชื่อมโยงหรือบูรณาการสูง เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นภูมิปัญญาที่มาจากประสบการณ์จริงทั้งในเรื่องของกายใจ ชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดเรื่องพระแม่ธรณี แม่คงคา พระภูมิเจ้าที่ รุกขเทวดา
มีความเคารพผู้อาวุโส เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์จึงมีความเคารพผู้อาวุโส เพราะผู้อาวุโสมีประสบการณ์มากกว่า
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประภากร แก้ววรรณา (2551)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากสติปัญญาของชาวบ้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา เป็นองค์ความรู้ความสามารถของชาวบ้านที่คิดค้น สั่งสม สืบทอด ปรับปรุง พัฒนา
เอกวิทย์ ณถลาง (2546)
ภูมิปัญญาหรือความรู้ส่วนที่เรียกว่า "ยาไส้" ซึ่งเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเรื่องของปากท้อง เป็นสิ่งที่ถูกนำไปแสวงหาผลประโยชน์ หรือตีคุณค่าเป็นตัวเงินโดยง่าย จึงจำเป็นต้องหวงแหน มีการจดลิชสิทธิ์ สิทธิบัตรทางปัญญา
ภูมิปัญญาหรือความรู้ส่วนที่เรียกว่า "ยาใจ" ซึ่งความรู้ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร กลับช่วยให้สังคมมีความเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อความผาสุกของคนในสังคม
แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษา
แนวคิดการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บุคลากร (Man) ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้
งบประมาณ (Money) การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้
ทรัพยากร (Materials)การบริหารจัดการทรัพยากรหรือแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษาและ
การบริหารจัดการ (Management) จัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์ แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการ/โครงการของสถานศึกษา
วิจัยในประเทศไทย
ทฤษฎีการบริหารจัดการด้วยวงจรคุณภาพ หรือวงจรเดมมิ่ง
เสนอกระบวนการบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบ PDCA มาใช้กับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
มุ่งเน้น "การเข้ามามีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
นางสุคนธา ณรงค์เดชา
รหัสนักศึกษา 64U54620103