Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีทางการพยาบาลของวัตสัน - Coggle Diagram
ทฤษฎีทางการพยาบาลของวัตสัน
ทฤษฎีทางการพยาบาลของวัตสัน (Watson‘s Nursing theory)
เป็นการดูแลที่มุ้งเน้นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะด้านร่างกายด้านจิตใจตลอดจนความด้านต้องการจิตวิญญาณ การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวในระยะที่ต้องใช้ความรู้และทักษะความสามารถเฉพาะด้านในการดูแลเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมาร
ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน เป็นทั้งปรัชญาและทฤษฎีทางการพยาบาลที่จุดเด่นเน้นการดูแลปัจจุบันทฤษฎีนี้ได้รับการพัฒนาจนวัตสันเรียกว่าเป็น ศาสตร์การดูแลมนุษย์ที่เข้าถึงจิตใจกันระหว่างคน2คนเพื่อให้เกิดการฟื้นหายและมีการใช้เป็นแนวคิดเพื่อเพื่อการศึกษาวิจัยในวงกว้างทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ทฤษฎีการดูแลแบบเอื้ออาทรของ Watson
Watson มีเเนวคิดว่าการดูแลเป็นศาสตร์ (Science) ซึ่งเป็นกระบวนการหรือปรากฎการณ์ที่มีอยูแล้วในตัวมนุษย์ การดูแลนอกจากเป็นศาสตร์และศิลป์ (Art) แล้วยังเป็นธรรมชาติของมนุษย์
Watson เชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกัน (Connectedness) เป็นหนึ่งเดียวกัน (Unity)ดังนั้นจุดเด่นของทฤษฎีจึงเน้นอยู่ที่การดูแลระหว่างบุคคล (Transpersonal Caring)
Watson เชื่อว่า Caring หรือการดูเเลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ุหรือสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้ให้การดูแลกับผู้ได้รับการดูแล รวมถึงการรับรู้การถ่ายทอดพลังจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเพื่อบำบัดเยียวยาของผู้การดูแลเอง
การดูแลที่เกิดขึ้น ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ( Caring moment )
องค์รวมของการมีสติ รู้ตัวของการดูแล เยียวยา ความรัก ประกอบกันชั่วขณะหนึ่งของการดูแล
บุคคที่ดูแลและดำรงอยู่เพื่อการดูแลจะเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อการมีสติ
กระบวนทัศน์หลัก 4 ประการของวัตสัน
เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์บนพื้นฐานด้านมนุษยธรรมระหว่างบุคคล คือผู้ดูแลและผู้ได้รับการดูแล
1.มนุษย์ (Human Being)
• มนุษย์เป็นองค์รวมประกอบด้วยร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณที่เป็นแก่นตน (self) ของบุคคลเป็นแหล่งที่เกิดความตระหนักความรู้สึกสำนึกขั้นสูงมนุษย์มีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมนุษย์เป็นผู้มีคุณค่าในตนเอง
ผู้ป่วยอายุ 80 ปี มีโรคประจำตัว ปฏิเสธการรับวัคซีน มีความเชื่อว่า คนที่ไปฉีดวัคซีน และมีการเสียชีวิต
ใกล้วันตรุษจีน ผู้ป่วยไม่อยากไปโรงพยาบาลเพราะมีความเชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ จึงไม่อยากเจ็บป่วย
สุขภาพ (Health)
สุขภาพมีความกลมกลืนระหว่างร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณหรือมีความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างตัวตนตามที่รับรู้ตามที่ประสบการณ์จริงนอกนั้นสุขภาพยังเป็นภาวะที่สุขทั้งร่างกายจิตและสังคมสามารถทำหน้าที่ในการทำกิจวัตรประจำวันและดำเนินชีวิตได้ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
ผู้ป่วยเป็นวัยผู้สูงอายุที่ Active มีโรคประจำตัวโรคความดันโลหิตสูง และชอบบ่นว่าปวดเท้า
เมื่อติดโควิด19 ทำให้ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง
เมื่อกลับบ้านผู้ป่วยจำเป็นต้องฟื้นฟูร่างกาย
สิ่งแวดล้อม/สังคม (Environment/Society)
•สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพสังคมวัฒนธรรมและจิตวิญญาณซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการรับรู้และพัฒนาการของบุคคลที่อยู่ในการดูและซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลค่านิยมของสังคมเป็นปัจจัยในการส่งเสริม ให้การดูแลเกิดขึ้น
ผู้ป่วยเปิดร้านขายของชำ ทำให้มีคนเข้าออกร้านยุตลอดเวลา จึงทำให้เสี่ยงต่อโควิด19
ขณะที่อยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องมีการปรับตัวและพยาบาลต้องส่งเสริมผู้ป่วยและช่วยปรับสิ่งแวดล้อมในการดูและผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านญาติได้ปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการดูแลผู้ป่วย
การพยาบาล (Nursing)
การพยาบาลเป็นกระบวนการดูแลที่เข้าถึงจิตใจและความรู้สึกของบุคคล (Transpersonal Caring) ในการส่งเสริมสุขถาพการป้องกันโรคการเยียวยาวการเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสุขภาพซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บุคคลเพิ่มดุลภาพในตนเองเกิดความรู้จักตนเองเคารพนับถือตนเองดูแลเยียวยาตนเองเกิดความประจักษ์รู้ ในความหมายของสภาวะต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิต
ผู้ป่วยปฎิเสธการรักษาตัวที่ โรงพยาบาลจึงรักษาตัวที่บ้านและใช้ยาไอเวอร์เมคติกเป็นทางเลือกอื่นแทนยา ฟาวิพิรา เวียที
ต่อมาผู้ป่วยมีไข้และระดับออกซิเจนในเลือดลดลงจนต้องใส่ออกซิเจนทางสายจมูก
จึงทำให้ต้องนอนเก้าอี้เปลชั้นล่างแทนการขึ้นห้องนอนชั้นบน
ผู้ป่วยเข้าห้องน้ำและสายออกซิเจนยาวไม่ถึงทำให้มีอาการไม่ตอบสนองจึงต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
ผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
เมื่อกลับบ้านผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ต้องฟื้นฟูกล้ามเนื้อและให้อาหารทางสายยาง
วิเคราะห์กรณีศึกษา มโนทัศน์หลัก 3 ประการของทฤษฎีวัตสัน
1.สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (transpersonal Caring relationship)
ผู้ป่วยกับครอบครัวมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกัน
ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพไม่ดีต่อทีมแพทย์ และพยาบาลทำให้การรักษาช่วงแรกไม่ราบรื่น
ผู้ป่วยไม่มีการไว้ใจต่อทีมแพทย์ และพยาบาลทำให้เกิดสัมพันธภาพได้ยาก
ทีมแพทย์ และพยาบาลมีการติดต่อสื่อสาร และสร้างความเข้าใจกับผู้ป่วยและลูกสาวอยู่ตลอดเวลา
2.การดูที่เกิดขึ้น ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (Carin moment)
ในช่วงที่ผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาล พยาบาลจะเป็นคนประสานข้อมูลให้ญาติผู้ป่วยได้ทราบแทนผู้ป่วย
ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ แต่มีลูกสาวให้กำลังผ่านวิดีโอคอล อยู่ตลอดเวลา และมีทีมแพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยมีกำลังใจจากลูกสาวจึงทำให้ต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ได้
3.ปัจจัยการดูแลที่สำคัญ10 ประการ
1.สร้างค่านิยมการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์(Humanistic Altruistic Sgstem of Value
•ปัจจัยที่เน้นการให้คุณค่า และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แก่กันและกัน โดยยอมรับความแตกต่างของบุคคล อย่างจริงใจ เสียสละ โดยไม่หวังผลตอบแทน
โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ส่งรถ กู้ชีพมารับผู้ป่วยเข้า ICU ด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง
ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ พยาบาลได้ปรึกษากับญาติผู้ป่วยและได้ตัดสินใจใส่เครื่องช่วยหายใจและหากผู้ป่วยหยุดหายใจ แพทย์จะ CPR ช่วยชีวิต และพยาบาลให้มีการติดต่อกับญาติในขณะรักษาตัว
2.สร้างความศรัทธาและความหวัง (Faith-Hope)
ส่งเสริม และธำรงความเชื่อของตน และผู้รับ การดูแล ในการดำเนินชีวิต ในภาวะที่มีการเจ็บป่วย โดยพยาบาลใช้ความรู้ ทักษะ และสามารถให้คำแนะปรึกษา และเป็นที่พึ่งของผู้ป่วย
ผู้ป่วยเป็นหนึ่งคนที่สื่อมวลชนที่ชี้นำให้เชื้อว่าฉีดวัคซีนแล้วเสี่ยงตาย
ผู้ป่วยมีความหวังว่าจะหายและได้กลับบ้านหลังจากนอนรักษาตัวอยู่ โรงพยาบาลนานกว่า2เดือน
3.สร้างความไวต่อความรู้สึกตนเองและผู้อื่น (Sensitivity of self and others)
การรู้เท่าทันความรู้สึกของต้นเองทำให้พยาบาลอยู่กับความเป็นจริงมีความจริงใจกับความรู้สึก และการแสดงออกของตนเอง การจริงใจช่วยส่งเสริมการเติบโตด้านความคิด และพัฒนาสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการ ด้านจิตวิญญาณ การรับรู้ตนเองและการรับรู้
ผู้ป่วยได้ยินว่าแพทย์จะเจาะคอ ผู้ป่วยร้องไห้และปฏิเสธด้วยอวัจนภาษา
ก่อนการรักษาแพทย์และพยาบาลจะให้ผู้ป่วยและญาติตัดสินใจก่อนทำการรักษา
4.สร้างสัมพันธ์ภาพการช่วยเหลือและการไว้วางใจ (Helping trusting human caring)
สัมพันธภาพที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน เป็นสัมพันธภาพบนพื้นฐานของ ความไว้วางใจ จากการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ป่วย ด้วยความจริงใจ เปิดเผย และซื่อสัตย์ อาจแสดงออกด้วย ฃ การสัมผัสและน้ำเสียง
ญาติขอความช่วยเหลือจากพยาบาลที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวให้ช่วยติดตามอาการผู้ป่วยให้ในขณะนั้น
พยาบาลติดต่อกับญาติเพื่อแจ้งอาการของผู้ป่วย
5.ยอมรับความรู้สึกทางบวกและทางลบ(Express poitive and Negative Feeling
ตระหนักรู้สึกสัมพันธ์ภาพในการดูแลอารมณ์ หรือความรู้สึกเป็นตัวชี้นำการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิด การตัดสินใจ และการแสดงพฤติกรรม พยายาล ควรให้โอกาส และยอมรับการแสดงความรู้สึกของผู้ป่วยทั้งทางบวก และทางลบ เป็นความรู้สึกตามที่เป็นจริง การแสดงความรู้สึกจะทำให้ผู้ป่วย รู้จักตนเอง และยอมรับตนเองตามที่เป็นจริง
เมื่อก่อนผู้ป่วยมีร่างกายสมบูรณ์ ต่อมาผู้ป่วยได้รับเชื้อโควิดจากลูกชายด้วยตัวผู้ป่วยมีโรคประจำตัวและอายุมากทำให้ผู้ป่วยเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนตามมา และเข้ารับการรักษาตามกระบวนการในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 เดือน จนแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านและต้องฟื้นฟูกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้นั่งเองได้โดยไม่ล้ม
6.ใช้วิธีการแก้ปัญหาและติดสินใจอย่างเป็นระบบเพื่อการตัดสินใจ Cretive Probem Solving caring Process
•การนำกระบวนการพยาบาลมาเป็นองค์ประกอบหลักในการศึกษาและปฎิบัติเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในการดูแลผู้ป่วย
ญาติเริ่มใช้ออกซิเจนทางสายจมูกและoxygensatเริ่มลดลง จึงเปลี่ยนให้ออกซิเจนทางหน้าครอบจมูกปาก
ผู้ป่วยมีอาการหนักจึงใส่ท่อช่วยหายใจ
ในที่สุดแพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจและให้ออกซิเจนด้วยเครื่อง hi-flowทางสายที่สอดเข้าทางจมูกก่อนเปลี่ยนเป็นoxygen canular
7.ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เข้าถึงจิตใจผู้อื่น Transpersonal Teaching and Learning
•เรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยในบทบาทของผู้เรียนและผู้สอนเพื่อรับรู้ปัญหาของผู้ป่วย
ญาติได้เรียนรู้วิธีให้อาหารทางสายยางและดูดเสมหะ
8.ประคับประคองสนับสนุน และแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตสังคม และจิตวิญญาณ Corrective Mental,Physical,Social and Spiritual F.nviroument
แบ่งออกเป็น2ส่วน
1.ปัญจัยภายนอก ด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อม
2.ปัญจัยภายใน คือสุขภาพจิต จิตวิญญาณและความเชื่อ
พยาบาลได้ช่วยเหลือดูแลทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยเพื่อความสะอาดเพราะผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
พยาบาลต้องประเมิน และเอื้ออำนวยความสามารถปรับตัวของผู้ป่วยเพื่อให้ประคับประคองความสมดุลของสุขภาพ
9.ให้การช่วยเหลือเพื่อสนองความต้องการของบุคคล Human Need Assistance
•พึงพอใจที่จะช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการขอบบุคคลทั้ง4ระดับ
ระดับ1 ด้านชีวภาพ เช่นความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัย
ระดับ2 ด้านจิตใจ เช่น การมีกิจกรรม พักผ่อน และความต้องการทางเพศ
ระดับ3 ด้านจิตสังคม ความต้องการประสบความสำเร็จ การติดต่อเชื่อมโยงกับบุคคล และสิ่งแวดล้อม
ระดับ4 ความต้องการเกิดขึ้นภายใน บุคคลและระหว่างบุคคล เช่น ความต้องการการประสบความสำเร็จสูงสุด
การอนุญาตให้ญาติสามารถติดต่อกับผู้ป่วยได้
ผู้ป่วยมีความหวังที่จะหายต่อการเจ็บป่วย
ญาติได้ทำความสะอาดห้องเตรียมพร้อมเตรียมที่นอนไว้ที่ม้านระหว่างรอแม่พักฟื้น
การเสริมสร้างพลังงานทางจิตวิญญาณในการมีชีวิตอยู่ Existential-Phenomenological-Spiritual Forces
•ยอมรับผลที่เกิดขึ้นและพลังที่มีอยู่ให้สามารถเผชิญกับการมีชีวิตอยู่หรือความตายได้
พยาบาลอนุญาตให้ญาติสามารถ Video call ติดต่อกับผู้ป่วยได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้น
ญาติคอยให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ