Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการพยาบาลของวัตสัน (Watson’s Caring Theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการพยาบาลของวัตสัน
(Watson’s Caring Theory)
Metaparadigms
ทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัตสัน
มนุษย์ (Human Being)
ทฤษฎีของวัตสัน
เป็นองค์รวม ประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
จิตวิญญาณเป็นแก่นตัวตน (Self) ของบุคคล เป็นแหล่งที่เกิด ความตะหนักในตนเอง ความรู้สึกสำนึกขั้นสูง และเป็นพลังภายใน ซึ่งมนุษย์มีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มนุษย์เป็นผู้มีคุณค่าใน ตนเองและสมควรได้รับการดูแล ได้รับการนับถือ ได้รับความเข้าใจและช่วยเหลือ
case กรณีศึกษา
ผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด 19 เดิมผู้ป่วยอยู่บ้านกับลูกสาวและลูกชาย
ผู้ป่วยปฏิเสธฉีดวัคซีนแล้วเชื้อว่าป่วยตายจากวัคซีน พยาบาล กทม.อาสามาฉีดวัคซีนที่บ้านก็ไม่ฉีด ลูกชายผู้ป่วยไม่สบายตรวจATK พบเชื้อโควิด แต่ลูกสาวและผู้ป่วยยังไม่พบเชื้อ หลังจากนั้น1วัน ตรวจATKจากน้ำลาย ผลก็พบเชื้อ ผู้ป่วยยังคงปฏิเสธการช่วยเหลือจากแพทย์เหมือนเคย จนเชื้อลงปอดจนปอดอักเสบรุนแรง
สุขภาพ (Health)
ทฤษฎีของวัตสัน
เป็นภาวะที่มีดุลภาพและมีความกลมกลืนระหว่างร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณหรือมีความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันระหว่างตัวตนตามที่รับรู้ และตัวตนตามที่ประสบจริง นอกจากนั้นสุขภาพยังเป็นภาวะที่สุขทั้งร่างกาย จิต และจิตวิญญาณ สามารถทำหน้าที่ได้ สูงสุดสามารถปรับตัวในการทำกิจวัตรประจำวันและดำเนินชีวิตได้ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
case กรณีศึกษา
ก่อนผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูงหลังจากตรวจพบโดยบังเอิญ หลังจากผู้ป่วยติดเชื้อโควิดมีภาวะเชื้อลงปอดอาการปอดอักเสบขั้นรุนแรง
สิ่งแวดล้อม/สังคม (Environment/Society)
ทฤษฎีของวัตสัน
สิ่งแวดล้อม/สังคม (Environment/Society) เป็นสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ สังคม วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงย่างต่อเนื่อง สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการรับรู้และพัฒนาการของบุคคลที่อยู่ในการดูแลซึ่งกันและกันระหว่างบุคคล ค่านิยมของสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้การดูแลเกิดขึ้น
case กรณีศึกษา
ขณะอยู่โรงพยาบาล แพทย์และพยาบาลได้มีการรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ และสายให้อาหาร สายตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในการดูแลผู้ป่วย และเมื่อผู้ป่วยได้กลับบ้านลูกมีการเปลี่ยนแปลงและจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมในการดูแลรักษาผู้ป่วย
การพยาบาล (Nursing)
ทฤษฎีของวัตสัน
การพยาบาล (Nursing) เป็นกระบวนการดูแลที่เข้าถึงจิตใจและความรู้สึกของบุคคล (Transpersonal Caring) ในการส่งเสริสุขภาพ การป้องกันโรค การเยียวยาการเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บุคคลเพิ่มดุลยภาพในตนเอง เกิดความรู้จักตนเอง เคารพนับถือตนเอง ดูแลเยียวยาตนเอง เกิดความประจักษ์รู้ในความหมายของสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต
case กรณีศึกษา
การพยาบาล (Nursing) แพทย์พยาบาลและลูกสาวที่เป็นพยาบาลได้ให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแทนการรักษาพยาบาลที่บ้านเพื่อให้เหมาะกับแผนการรักษาของทีมแพทย์และพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเต็มที่
ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
วัตสันเชื่อว่าการดูแลเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และการพยาบาลคือศาสตร์แห่งการดูแลมนุษย์ (Human caring science) เป้าหมายของการดูแลคือการช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบภาวะดุลยภาพ (Harmony) ของร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ นำไปสู่การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างคนสองคน (Transpersonal)
ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
(Watson’s Caring theory)
ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน (Watson’s Caring theory) เป็นทั้งปรัชญา และทฤษฎีทางการพยาบาล ที่มีจุดเน้นที่การดูแล (Caring) รวมทั้งความรู้สึกผูกพันต่อบทบาทการดูแลเพื่อการฟื้นหายของผู้ป่วยที่วัตสันประจักษ์ด้วยตัวเอง ประกอบกับประสบการณ์ของวัตสันขณะเผชิญความเจ็บป่วย เผชิญการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทฤษฎีการดูแลของวัตสัน จะกล่าวถึงภูมิหลังของวัตสันซึ่งเป็นผู้พัฒนาทฤษฎี รวมทั้งความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎี และแกนหลักของทฤษฎีนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นถึงลักษณะพิเศษรวมทั้งประโยชน์การนำไปใช้ทางการพยาบาล ทั้งในแง่ของการ การวิจัย รวมทั้งความท้าทายของพยาบาล
ทฤษฎีการดูแลของวัตสันได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนำไปใช้ในการพยาบาลที่เน้นรูปแบบการดูแลที่เข้าถึงจิตใจกันระหว่างคนสองคน เพื่อให้เกิดการฟื้นหายและมีการใช้เป็นแนวคิดเพื่อการศึกษาวิจัยในวงกว้างทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
ปัจจุบันทฤษฎีนี้ได้รับการพัฒนาจนวัตสันเรียกว่าเป็น ศาสตร์การดูแลมนุษย์ (Human Caring Science) และมีการจัดตั้งศูนย์การดูแลมนุษย์ ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโรลาโด รวมทั้งได้จัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์การดูแลวัตสัน ซึ่งมีลักษณะเป็นมูลนิธิที่มุ่งเน้นการพัฒนาทฤษฎีการดูแล การปฏิบัติการพยาบาล การวิจัย บนปรัชญาการดูแลมนุษย์
วิเคราะห์กรณีศึกษา
มโนทัศน์หลัก 3 ประการของทฤษฎีวัตสัน
สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Transpersonal caring relationship)
สัมพันธภาพระหว่างบุคคลเป็นหลักพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทีมแพทย์กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
การดูแลที่เกิดขึ้น ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (Caring moment)
ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้แต่ว่ามีทีมแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด และมีลูกสาว คนรอบข้างให้กำลังใจ
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ (Ten carative factors)
1.การปฏิบัติด้วยความรักเเละความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ (Practice of loveing-kindness and equanimity with context of caring consciousness)
3.การสร้างทักษะในการรับรู้จิตวิญญาณของตนเองและผู้อื่น (The cultivation of one’s own spiritual practice and transpersonal self, going beyond ego self, being sensitive to self and other)
โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ส่งรถโรงพยาบาลมา รับตอน4โมงเย็น ผู้ป่วยเข้าวอร์ดด้วยอาการ
ปอด อักเสบรุนแรง จึงต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเเละ เข้าไอซียูในคืนนั่นเลย พยาบาลจึงโทรญาติ ก่อนว่า จะให้ใส่เครื่องช่วยหายใจไหม ถ้าหยุด หายใจให้ CPR ข้ึนมาหรือเปล่าเเละให้ญาติ ตัดสินใจได้ว่า ให้ใส่เครื่องช่วยหายใจเเละCPR ข้ึนมาอย่างน้อย1คร้ัง
-พยาบาลมีการให้ผู้ป่วย โทรศัพท์
(Video Call Line )กับญาติทุกวันขณะรักษา
การเเสดงความเป็นตัวตนที่เเท้จริง ส่งเสริม
เเละธำรงความเชื่อของตนเองเเละการดูเเลผู้อื่น
ก่อนเจ็บป่วย : ผู้ป่วยเป็นคน active มาก ขายของทุกวันไม่เว้นวันหยุด
ขณะเจ็บป่วย : ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงและต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใส่สายสวนปัสสาวะ ให้ยาทางหลอดเลือดดำ ต้องเอกซเรย์ปอดเกือบทุกวัน และต้องถูกพันธการให้นอนนิ่งๆ
หลังเจ็บป่วย : ยังต้องให้ออกซิเจนผู้ป่วยตลอดเวลาและผู้ป่วยยังต้องให้อาหารปั่นทางสายยาง เหตุผลคือ หากให้กินเองอาจเกิดการสำลักทำให้ปอดติดเชื้อซ้ำ
การคาสายสวนปัสสาวะเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
การสร้างและรักษาสัมพันธภาพใน การช่วยเหลือแบบไว้วางใจและจริงใจ (Development and sustaining a helping-trust, authentic caring ng relationship)
แพทย์เเละพยาบาลดูแลและติดต่อสื่อสารกับญาติในการรักษาให้กับผู้ป่วยให้และพยาบาลให้ ผู้ป่วยติดต่อกับญาติผ่าน (Video Call Line)
การยอมรับการแสดงความรู้สึกด้าน บวกและด้านลบ (Beingpresenttoand supportive of the expression of positive and negative feelings as a connection with deeper spirit of self and one-being-cared-of)
ญาติและผู้ป่วยรับรู้ของการรักษาของแพทย์ และพยาบาลและปฏิบัติตามอย่างเต็มที่ตามลำดับขั้นตอนการรักษาก็ดีข้ึนเรื่อยๆ
การใช้กระบวนการแก้ปัญหาทาง วิทยาศาสตร์ในการตัดสินใจ (The systematic use of the scientific roblem-solving method for decision making)
ปัญหาเกิดจากความประมาทของการใช้ชีวิตประจำวัน ในขณะที่กำลังเกิดโรคระบาดเเละไม่มีการป้องกันหรือไปรับวัคซีนตามไปประกาศเพราะจากการดูข่าวว่า มีการเจ็บป่วยเเละเสียชีวิตจากการรับวัคซีนทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อได้ง่ายจนทำให้เจาะคอใส่ท่อเเละอยู่โรงพยาบาลนานถึง2เดือน
7.การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในการเรียนการสอน (The promotion of interpersonal teaching learning)
พยาบาลเป็นสื่อกลางในการติดต่อญาติ นัดหมายให้ไปเรียนวิธีการให้อาหารทางสายยาง การดูดเสมหะ แล้วญาติต้องติดต่อเรื่องจัดหาเตียงสำหรับผู้ป่วยและจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม
การเตรียมการเพื่อสนับสนุน ปกป้อง หรือแก้ไขภาวะสุขภาพกาย จิตสังคมเเละจิตวิญญาณ (The provision of supportive,protective and (or) corrective ) corrective mental,physical sociocultural,and spiritual environment)
พยาบาลได้ช่วยเหลือดูแลทำความสะอาด ร่างกายเนื่องจากผู้ป่วยยัง ต้องใช้ออกซิเจน ตลอดเวลาและนอนนิ่งอยู่ใน ICU จำเป็นต้อง ฟื้นฟูกล้ามเน้ืออย่างสม่ำเสมอ และลูกสาวได้ทำความสะอาดห้องและเตรียม เตียงนอนที่บ้านระหว่างรอผู้ป่วยพักฟื้น
9.การช่วยให้ได้รับการตอบสนองความ ต้องการ(Assistance with the gratification of human needs)
ในวันที่ 7 ของการนอนโรงพยาบาล กุมภาพันธ์(2565) ภาพที่ลูกเห็นคือสายท่อ หายใจ สายให้อาหาร สายตรวจคลื่นไฟฟ้า หัวใจ คำแรกที่แม่พยายามพูดคือ “กลับบ้าน มันบีบหัวใจมาก ได้เเต่บอกว่า “แม่สู้ไหมจ๊ะ แม่พยักหน้า ” ถ้าสู้ แม่ทำตามท่ีพยาบาลเขาบอก นะปอดจะได้ฟื้นตัว ตอนน้ีปอดเสียหายมาก แม่ต้องตกลง
การเปิดโอกาสให้ทำความเข้าใจ เก่ียวกับบุคคลในภาวะที่เขาเป็นอยู่ (Allowance for existential phenomenological factors)
ลูกสาวคอยให้กำลังใจแม่อย่างสม่ำเสมอและ พยาบาลยัง
อนุญาตให้ลูกสาวสามารถ Video Call Line กับคุณแม่ ส่งผลให้คุณแม่มีกำลังใจในการ ฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้น
บทสรุป
case
จากการนำทฤษฎีของวัตสันมาปรับใช้กับ case กรณีศึกษาตระหนักให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย การดูแลเอาใจใส่ของพยาบาลและแพทย์ที่มีต่อผู้ป่วย แม้ว่าในสถานการณ์ที่เป็นโรคร้ายแรง แพทย์และพยาบาลต่างมีวิธีป้องกันและช่วยเหลือคนไข้อย่างเต็มที่ และยังดูแลไปถึงญาติของผู้ป่วย เช่น การใส่สายยางให้อาหารและการดูดเสมหะ เป็นต้น
ไม่ใช่เพียงแต่สอนให้รู้ถึงการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยเพื่อไม่ให้ทรมานเท่านั้น แต่ยังสอนให้เห็นถึงการดูแลผู้ป่วยบนพื้นฐานของความเอื้ออาทร การดูแลเอาใจใส่ทั้งทางด้านจิตใจของผู้ป่วยและญาติ รวมไปถึงการให้คำแนะนำและการดูแลผู้ป่วยในบริบทต่างๆตั้งแต่แรกเริ่มมีอาการจนกระทั่งหายดีกลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน
ทฤษฎีของวัตสัน
ทฤษฎีการดูแลของวัตสันเป็นทฤษฎีการพยาบาลระดับกว้างที่ได้รับการยอมรับทั้งในแง่ของการปรัชญาของการพยาบาลและการประยุคใช้เพื่อการปฏิบัติการพยาบาลทฤษฎีนี้ยังชี้ให้ถึงผลรับของการดูแลซึ่งก็คือการบรรเทาทุกข์ทรมานและการฟื้นหาย จุดเน้นคือการดูแลที่ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยอาศัยความรักและความเอาใจใส่