Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) - Coggle Diagram
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ต่อมใต้สมอง Pituitary Gland
เป็นต่อมขนาดเล็กแต่มีความสำคัญที่สุด
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า Anterior Pituitary
ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่างๆ เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย GH ฮอร์โมนที่ควบคุมปฏิกิริยาของต่อมอื่นๆ TH
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง Posterior Pituitary
ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนออกซิโตซินที่มีผลต่อการหลั่งน้ำนม และการบีบตัวของมดลูกขณะคลอดบุตร และฮอร์โมนวาโสเพรสซิน ควบคุมสมดุลน้ำของร่างกาย
ต่อมไทรอยด์ Thyroid Gland
เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนำดใหญ่ที่สุดของร่างกายมีจำนวน ๒ ต่อม อยู่ด้านข้างส่วนบนของหลอดลมตรงลำคอบริเวณลูกกระเดือกข้างละ
๑ ต่อม โดยทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนแคลซิโทนิน ซึ่งทำหน้ำที่ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด และฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxin) มาควบคุมกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ
ต่อมพาราไทรอยด์ Parathyroid Gland
เป็นต่อมไร้ท่อที่เล็กที่สุด มีจำนวน๒ คู่ อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่ผลิตพาราฮอร์โมนเพื่อไป
ควบคุมระดับแคลเซียม และฟอสเฟตในกระแสเลือด
ต่อมไทมัส Thymus Gland
อยู่บริเวณด้านหน้าทรวงอก ซึ่งมีขนาดเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ผลิตฮอร์โมนออกมาควบคุมการทำงานของระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกาย
ต่อมไพเนียล Pineal Gland
ต่อมเล็กๆ ที่ช่วยสร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมเพศในช่วงระยะก่อนวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้ำสู่ช่วงวัยรุ่นอาจมีผลต่อการตกไข่ ประจำเดือนในเพศหญิง และมีผลต่อการเข้าสู่วัยรุ่นว่าจะเร็วหรือช้า
ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน Isletr of Langerhands
ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในร่างกาย
ต่อมหมวกไต Adrenal Gland
มี ๒ ต่อม อยู่ข้างบนและข้างหน้าที่ปลายด้านบนของไตทั้ง ๒ ข้ำง มีรูปร่างแบนคล้ายหมวก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์(Glucocorticoid) มาควบคุมเมแทบอลิซึม และการเผาผลาญในร่างกาย ฮอร์โมนมิเนอราโลคอร์ติคอยด์(Mineralocorticoid) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความสมดุลของน้ำและระดับเกลือแร่ในร่างกาย
ต่อมเพศ Gonad
เพศชาย ลูกอัณฑะ เพศหญิง รังไข่
เพศชาย : อัณฑะ (Testic)
ทำหน้าที่สร้างอสุจิและผลิตฮอร์โมนของเพศชายออกมาคือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ทำหน้าที่ควบคุมพัฒนาการในความเป็นชาย เช่น การหลั่งน้ำอสุจิ มีหนวดเครา กล้ามเนื้อเป็นมัด มีความรู้สึกทางเพศ
เพศหญิง : รังไข่ (Ovary)
ทำหน้าที่สร้างไข่ และผลิตฮอร์โมนของเพศหญิง คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโพรเจสเทอโรน (Progesterone) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น เสียงแหลม เต้านมเจริญเติบโต สะโพกผาย
การเสริมสร้างและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
กินอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย กินผักและผลไม้ ลดอาหารที่ผ่านการแปรรูป
หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาสูบ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
กินอาหารทะเลหรือเกลือที่มีธาตุไอโอดีน เพื่อป้องกันโรคคอพอก
ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณวันละ 6-8 แก้ว เพราะน้ำช่วยในการผลิตฮอร์โมน
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันบะประมาณ 30 นาที
พักผ่อนให้เพียงอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด
ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหมั่นตรวจสุขภาพตนเองเป็นประจำ