Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System), นายนวพรรษ รัตนพงศ์ ม6/5 เลขที่ 18 -…
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) คือ กลุ่มเซลล์หรือกลุ่มเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สร้าง และผลิตสารเคมีพิเศษที่เรียกว่า “ฮอร์โมน” (Hormone) ให้กับร่างกาย ซึ่งสารดังกล่าวไม่สามารถผลิตได้จากต่อมอื่น ๆ โดยสารเคมีหรือฮอร์โมนเหล่านี้จะถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง โดยไม่ผ่านท่อลำเลียงภายนอก ดังนั้น ต่อมไร้ท่อจึงเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเส้นเลือดจำนวนมาก เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารที่ต่อมผลิตได้ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ผ่านการไหลเวียนของน้ำเลือดหรือน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนแต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมาย (Target Organ) ที่แตกต่างกันออกไป
ต่อมไร้ท่อที่จำเป็นต่อร่างกาย (Essential Endocrine Gland)
คือ ต่อมไร้ท่อที่ร่างกายไม่สามารถขาดได้ และหากร่างกายขาดต่อมเหล่านี้ไป สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตในทันที เช่น
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid)
คือ ต่อมไร้ท่อขนาดเล็กฝังอยู่ด้านหลังเนื้อเยื่อไทรอยด์ ทำหน้าที่ผลิต “พาราทอร์โมน” (Parathormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการสร้างกระดูกและควบคุมสมดุลหรือการสลายแคลเซียมในอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในกระดูกและฟัน
ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland)
คือ ก้อนเนื้อเยื่อรูปสามเหลี่ยมบริเวณด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได้แก่
เนื้อเยื่อชั้นนอก (Adrenal Cortex)
เจริญมาจากเซลล์มีเซนไคมาส (Mesenchymas) ในชั้นมีโซเดิร์ม (Mesoderm) ของตัวอ่อน ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ
มินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid Hormone) ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่
กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid Hormone) ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone) ทำหน้าที่ช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ในร่างกายทั้งเพศชายและหญิง
เนื้อเยื่อชั้นใน (Adrenal Medulla)
อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ที่ควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองจากสิ่งเร้าภายนอก โดยทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ อะดรีนาลีน (Adrenalin/Epinephrine Hormone) และนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenlin/Norepinephrine Hormone) ซึ่งกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
ต่อมไอส์เลตส์ของตับอ่อน (Islets of Langerhans)
คือ กลุ่มเซลล์ขนาดเล็ก (ราวร้อยละ 3) ในตับอ่อน (Pancreas) ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ อินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ต่อมไร้ท่อที่จำเป็นน้อยต่อร่างกาย (Non – Essential Endocrine Gland)
คือ ต่อมไร้ท่อที่ถ้าหากขาดไป อาจไม่ส่งผลให้เสียชีวิตในทันที เช่น
ต่อมใต้สมอง (Pituitary)
คือ ต่อมขนาดเล็กใต้สมอง ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่
โกรท ฮอร์โมน (Growth Hormone)
ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูกและกล้ามเนื้อ
โกนาโดโทรฟิก ฮอร์โมน
(Gonadotrophic Hormone) ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (Antidiuretic Hormone)
ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid)
คือ ต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่บริเวณด้านหน้าของลำคอใกล้กับหลอดลม ทำหน้าที่สร้าง
“ไทร็อกซิน” (Thyroxin)
ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท ควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปร่าง เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่
ต่อมไพเนียล (Pineal Grand)
คือ ต่อมไร้ท่อขนาดเล็กที่ผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมเพศก่อนวัยหนุ่มสาว ควบคุมการนอนหลับ และกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาชีวิตของร่างกาย
ต่อมไทมัส (Thymus Grand)
คือ ต่อมไร้ท่อด้านหน้าทรวงอกที่ผลิต
สารไทโมซิน (Thymosin)
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยเป็นต่อมที่เจริญเต็มที่ตั้งแต่อยู่ในวัยทารกจนถึงอายุราว 6 ปี ก่อนจะเสื่อมสภาพ และฝ่อไปในท้ายที่สุด
ต่อมเพศ (Gonads)
คือ อัณฑะในเพศชาย และรังไข่ในเพศหญิง มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ สร้างเซลล์สืบพันธ์ุ และสร้างฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์ุ และควบคุมลักษณะเด่นของเพศ ฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่
เทสทอสเตอโรน (Testosterone)
ในเพศชาย
เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
ในเพศหญิง
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
คือ ระบบภายในที่มีหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ที่สำคัญภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นระบบที่ทำงานสอดประสานร่วมกับระบบประสาท (Nervous System) ในด้านต่าง ๆ
นายนวพรรษ รัตนพงศ์ ม6/5 เลขที่ 18