Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย รัตนโกสินทร์ ร.1-ร.9 - Coggle Diagram
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย รัตนโกสินทร์ ร.1-ร.9
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ร.1)
บุคคลสำคัญ
1.เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี
2.นายทองอยู่ แสดงเป็นตัวพระ
3.นายรุ่ง แสดงเป็นตัวนาง (ครูละครใน)
4.เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพบริรักษ์ ผู้วางรากฐานละครใน
5.นายทองอยู่ กับนายทองรุ่ง ผู้เชี่ยวชาญละครใน
โปรดรวบรวมตำราฟ้อนรำ และเขียนภาพท่ารำแม่บทบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มีการพัฒนาโขนเป็นรูปแบบละครใน มีการปรับปรุงระบำสี่บท ซึ่งเป็นระบำมาตฐานตั้งแต่สุโขทัย ในสมัยนี้ได้เกิดนาฏศิลป์ขึ้นมาหลายชุด เช่น ระบำเมขลา-รามสูร ในราชนิพนธ์รามเกียรติ์
ราชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2)
เป็นยุคของนาฏศิลป์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงโปรดละครรำ ท่ารำงดงามตามประณีตแบบราชสำนัก มีการฝึกหัดทั้งโขน ละครใน ละครนอกโดยได้ฝึกผู้หญิงให้แสดงละครนอกของหลวงและมีการปรับปรุงเครื่องแต่งกายยืนเครื่องแบบละครใน
บุคคลสำคัญ
1.เจ้าจอมมาดาแย้ม แสดงเป็นอิเหนา
2.นายพัน แสดงเป็นอินทรชิต
3.นายภู่ แสดงเป็นหนุมาน
4.พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ผู้แต่งบทละครนอกแบบหลวงเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
5.กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ผู้ริเริ่มงิ้วผู้หญิง
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3)
โปรดให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้นาฏศิลป์ไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน และเกิดการแสดงของเอกชนขึ้นหลายคณะ ศิลปินที่มีความสามารถได้สือทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นแบบแผนกันต่อมา
บุคคลสำคัญ
1.หม่อมแย้ม แสดงเป็นอิเหนา
2.นายเกษ แสดงเป็นพระราม (ครผู้ฝึก)
3.กรมหลวงรักษ์รณเรศ ทรงมีคณะละครผู้ชายจัดแสดงเรื่องอิเหนาบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1
4.พระองค์เจ้าทินกร ทรงมีคณะละครผู้ชายและทรงแต่งบทละครนอก
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)
โปรดให้มีละครรำผู้หญิงในราชสำนักตามเดิมและในเอกชนมีการแสดงละครผู้หญิงและผู้ชาย ในสมัยนี้มีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ชำระพิธีโขนละคร ทูลเกล้าถวายตราไว้เป็นฉบับหลวง และมีการดัดแปลงการำเบิกโรงชุดประเริงมาเป็น รำดอกไม้เงินทอง
บุคคลสำคัญ
1.เจ้าจอมมารดาวาด แสดงเป็นอิเหนา
2.นายคุ้ แสดงเป็นพระราม
3.นายบัว แสดงเป็นทศกัณฐ์
4.กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ มีคณะละครโรงใหญ่
5.คณะละครของเจ้าจอมมารดาจัน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)
เป็นศิลปะด้านนาฎศิลป์ เจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์โปรดให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น มีการทำนุบำรุงศิลปะทางโขน ละคร และดนตรีปี่พาทย์ ทำให้ศิลปะทำให้มีการฝึกหัดอย่างมีระเบียบแบบแผน และโปรดตั้งโรงเรียนฝึกหัดนาฎศิลป์ในกรมมหรสพ นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงวิธีการแสดงโขนเป็นละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์และได้เกิดโขนบรรดาศักดิ์ที่มหาดเล็กแสดงคู่กับโขนเฉลยศักดิ์ที่เอกชนแสดง
บุคคลสำคัญ
1.พลเอกเจ้าพระยารามราฆพ แสดงเป็นพระราม
2.กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ แสดงละครพูดและละครพูดสลับลำ
3.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ คณะละครวัง สวนกุหลาบ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)
ในสมัยนี้มีทั้งอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ไทยเพื่อทันสมัย เช่น มีการพัฒนาละครในละครดึกดำบรรพ์ พัฒนาละครรำที่มีอยู่เดิมมาเป็นละครพันทางและละครเสภา และได้กำหนดนาฎศิลป์เป็นที่บทระบำแทรกอยู่ในละครเรื่องต่างๆ เช่น รำบำเทวดา- นางฟ้า ในเรื่องกรุงพาณชมทวีป รำบำตอนนางบุษบากับนางกำนันชมสารในเรื่องนิเหนา ระยำไก่ เป็นต้น
บุคคลสำคัญ
1.พระราชชายาเจ้าดารารัศมีนาฏศิลป์ล้านนา
2.หม่อมแสงแสดงเป็นจินตะหรา
3.นายทองอยู่แสดงเป็นพิเภก
4.เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงผู้ริเริ่มละครพันทาง
5.คณะละครพันทางนฤมิตร
6.คณะละครดึกดำบรรพ์ของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์
7.คณะละครร้องของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
รัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7)
โปรดให้มีการจัดตั้งศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพที่ถูดยุบไป ทำให้ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อไป
บุคคลสำคัญ
ฃ1.ครูอาคม สายาคม แสดงเป็นพระราม
2.ครูจำเรียง พุธประดับ แสดงเป็นตัวนาง
3.เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี : ผู้วางรากฐานก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์
4.เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์จัดตั้งกองมหรสพ
5.หลวงวิจิตรวาทการ : อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ร.8)
หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีของกรมศิลปาการ ได่ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา เพื่อปกกันไม่ให้ศิลปะทางด้านนาฏศิลป์สูญหายไปในสมัยนี้ได้เกิดละครวิจิตร ซึ่งเป็นละครปลุกใจให้รักชาติ และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาสนใจนาฏศิลป์ไทย และได้มีการตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์แทนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ซึ่งถูกทำลายตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นสถานศึกษานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ของทางราชการ และเป็นการทุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องนานาอารยาประเทศ
บุคคลสำคัญ
1.คณะโขนละครของพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ (เจ้าขาว)
2.คณะโขนละครของครูหมัน คงประภัศร์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ร.9)
นาฎศิลป์ ละคร ฟ้อน รำ ได้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล ได้มีการส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ด่ารำ ระยำชุดใหม่ ได้แก่ ระบำพม่าไทยอธิฐาน
บุคคลสำคัญ
1.ครูลมุล ยมะคุปต์
2.ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
3.นางเฉลย ศุขะวณิช
4.นายกรี วรศะริน
5.นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์
6.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดสร้างเครื่องแต่งกายโขน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดแสดงโขนพระราชทาน