Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.6 การกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์, 3.7 การเตรียมตัวเพื่อการคลอด…
3.6 การกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
เดือนที่ 1 ตัวอ่อนยาวประมาณ 4- 5 มิลลิเมตร มีส่วนของศรีษะ และหางที่มองเห็นได้ชัด มีตุ่มที่จะงอกไปเป็นแขนขา
เดือนที่ 2 ตัวอ่อนยาวประมาน 4 เซนติเมตร หัวโต มีแขนขาเป็นตุ่มเล็กๆ หัวใจเต้นชัดเจน
เดือนที่ 3 ตัวอ่อนยาวประมาน 6-7 เซนติเมตร เริ่มมีหัวแม่มือ และนิ้วอื่นๆ
เดือนที่ 4 ทารกมีความยาว 12 เซนติเมตร หนัก 110 กรัม อวัยวะต่างๆ พัฒนาเกือบครบทุกระบบ อวัยวะเพศสมบูรณ์
เดือนที่ 5 ทารกมีความยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร หนัก ประมาณ 300 กรัม ระยะนี้ทารกจะเริ่มดิ้น และเคลื่อนไหวบ่อยๆ
เดือนที่ 6 ทารกยาว 32 เซนติเมตร น้ําหนัก 650 กรัม ปอดเริ่มทํางาน เปลือกตาเริ่มเปิดได้ เริ่มได้ยิน เสียง มีลายนิ้วมือ นิ้วเท้า
เดือนที่ 7 ทารกยาว 25 เซนติเมตร น้ําหนัก 1100 กรัม ผิวหนังสีแดง มีไขปกคลุม
เดือนที่ 8 ทารกยาว 28 เซนติเมตร น้ําหนัก 1800 กรัม ผิวหนังสีแดง และย่น
เดือนที่ 9 ทารกยาว 32 เซนติเมตร น้ําหนัก 2600 กรัม เป็นช่วงที่ทารกเติบโตเต็มที่ ผิวหนังจะเรียบ ปอด ทํางานได้สมบูรณ์เต็มที่
ด้านการรับความรู้สึก
อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ลูบสัมผัส โดยเอามือลูบสัมผัสท้องวนไปรอบๆ โดยเริ่มจากหัว หลัง ก้น ขา แขน แล้ววนไปตามลําตัวช้าๆ
ด้านการได้ยิน
• อายุครรภ์ประมาณ 24 สัปดาห์ขึ้นไป โดยการใช้เสียงของมารดาพูดคุยกับทารกในครรภ์ จะทําให้ทารกในครรภ์เคยชินกับเสียงของมารดา และเกิดความผูกพันกับ มารดา
• การใช้เสียงดนตรี เพลงบรรเลง 10-15 นาที เปิดช่วงเย็นๆ หรือหลังรับประทานอาหาร1 ชั่วโมง พบว่า เสียงดนตรีจะทําให้ทารกมีอารมณ์ที่แจ่มใสและเลี้ยงง่ายหลัง
คลอด
ด้านการมองเห็น
อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ขึ้นไป
เคลื่อนไฟฉายจากซ้ายไปขวา
หรือการเปิดและปิดไฟฉายเป็นจังหวะ
กระตุ้นพัฒนาการและการนับลูกดิ้น
องค์ประกอบที่มีผลต่อ
การดิ้นของทารกในครรภ์
ระดับกลูโคสในเลือดมารดา
มื้ออาหารที่มารดาได้รับ
เสียงภายนอกที่มากระตุ้น
อาชีพของมารดา
ความสนใจของมารดาต่อการดิ้นของทารก
ความสําคัญของการนับทารกดิ้นในครรภ์
การที่ทารกดิ้นน้อยลง มักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ทารกดิ้น น้อยลงหรือหยุดดิ้นจะพบเป็นเวลาประมาณ 12 – 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะเสียชีวิต
วิธีการนับการดิ้นของทารกในครรภ์
เริ่มนับทารกดิ้นในครรภ์ตั้งแต่ 09.00 น. โดยนับครบ 10 ครั้ง ใช้เวลาในการนับประมาณ 10-12 ชั่วโมง
ครั้งแรก ตอนเช้าในขณะที่คุณแม่ยังไม่มีงานอะไรมากนัก
ครั้งที่สอง ตอนเย็นหรือตอนค่ำๆ ขณะที่ลูกน้อยเคลื่อนไหวแรง เริ่มจับเวลาแล้วนับดูว่า ลูกน้อยดิ้นครบ
10 ครั้ง
อาการเจ็บเตือน
• เจ็บบริเวณท้องน้อย ไม่ปวดร้าวไปด้านหลัง
• อาการเจ็บจะดีขึ้นเมื่อเดินรอบหรือเปลี่ยนอิริยาบถ
• ลักษณะมูกจะออกเป็นเลือดเก่าคือสีจะเข้ม
• การดิ้นของทารกจะแรงขึ้น
อาการเจ็บท้องคลอดจริง
• อาการแข็งตัวของมดลูกเพิ่มขึ้น เจ็บนานขึ้นและถี่ขึ้น
• อาการเจ็บจะเริ่มที่หลังแล้วปวดร้าวมาถึงด้านหน้าบริเวณ• • หัวหน่าวและท้องน้อย
• มีมูกเลือดปนออกมาเป็นเลือดสด สีจะแดงสด
• มีถุงน้ําแตก
อาการที่พบบ่อยเมื่อมี
ความผิดปกติในไตรมาส 2,3
คลื่นไส้อาเจียนมาก ไข้ หนาวสั่น ปวดท้องมาก
ปัสสาวะลําบาก ตกขาวมากผิดปกติ เป็นต้น
การตรวจตามนัด
• อายุครรภ์ต่ำกว่า28 สัปดาห์ นัดมาตรวจทุก 4สัปดาห์
• อายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์ นัดมาตรวจทุก 2 สัปดาห์
• อายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ขึ้นไป นัดมาตรวจทุก 1 สัปดาห์
3.7 การเตรียมตัวเพื่อการคลอด การสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครรภ์
การหายใจ (breathing technique)
การหายใจแบบช้า
ใช้ในระยะปากมดลูกเริ่มเปิดจนถึง 3 ซม.
หายใจเข้าลึกๆทางจมูกช้าๆ แล้วผ่อนลม หายใจออกทางปากช้าๆ เป็นจังหวะสม่ำเสมอในอัตราเฉลี่ย 6-9 ครั้งต่อนาที
การหายใจแบบตื้นเร็วและเบา
ระยะปากมดลูกเปิด 4-7 ซม.
การหายใจแบบตื้นเร็วเบาและเป่าออก
ใช้ในระยะปากมดลูกเปิด 8-10 ซม.
โดยหายใจแบบช้า 1 ครั้งก่อนแล้วหายใจเข้า-ออกทางปากตื้นๆเร็วๆเบาๆ ติดต่อกัน 4 ครั้ง แล้วเป่าออก 1 ครั้ง
การหายใจเพื่อเบ่งคลอด
หายใจแบบช้าลึก เข้า-ออก 1 ครั้งแล้วหายใจเข้าทางจมูกให้ลึกที่สุด กลั้น หายใจ ปิดปากแน่น คางจรดหน้าอก พร้อมกับเบ่งลงไปทางช่องคลอดหรือที่ก้นคล้ายเบ่งถ่ายอุจจาระ แล้วหายใจ ออกทางปาก จากนั้นให้หายใจเข้าแล้วเบ่งซ้ำ ทําประมาณ 3 ครั้งต่อการหดรัดตัว 1 ครั้ง เมื่อหยุดเบ่งให้หายใจ เข้า- ออกทางปากตื้นๆ เร็วๆ
การลูบหน้าท้อง (effleurage technique)
ใช้ในขณะรู้สึกท้องแข็งตึงหรือมดลูกหดรัดตัวจะช่วยให้ผู้คลอดรู้สึกสบายขึ้น
เป็นการสื่อความรู้สึกจากแม่สู่ลูกในครรภ์ด้วย
มี 2 แบบ
แบบใช้สองมือ โดยผู้คลอดวางอุ้งมือทั้ง 2 ข้างเป็นรูปตัว V เหนือหัวเน่า
แบบใช้มือเดียว โดยผู้คลอดวางมือข้างหนึ่งบนหน้าท้อง แล้วลูบวนตามเข็มนาฬิกา
ความสําคัญของการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครรภ์
ด้านมารดา
ด้านทารก
พัฒนาการของการสร้างความผูกพันระหว่าง
มารดาและทารกในครรภ์
สัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครรภ์สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมและ ความรู้สึกที่มารดาแสดงออก
การมีปฏิสัมพันธ์กับทารกในครรภ์
การแสดงบทบาทมารดา
การแสดงความสนใจต่อคุณลักษณะรูปร่าง
หน้าตาของทารกในครรภ์
การอุทิศตนเพื่อทารกในครรภ์
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความผูกพัน
ระหว่างหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ปัจจัยด้านหญิงตั้งครรภ์
วุฒิภาวะทางอารมณ์
เจตคติและความต้องการตั้งครรภ์
ความคาดหวังในเพศของบุตร
เศรษฐกิจ ฐานะและสังคม
การมีปฏิสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด
ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากคู่สมรสขณะตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมและมีสัมพันธภาพ ระหว่างคู่สมรสเป็นอย่างดี จะส่งผลให้การสร้างความผูกพันต่อทารกในครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ดีขึ้นด้วย เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มีความเครียดลดลง ได้รับการยอมรับจากบุคคลใกล้ชิดและบุคคลในสังคม โอกาสที่จะให้ ความรักทารกมีมากขึ้น
3.3 การประเมินภาวะสุขภาพมารดา-ทารกและการคัดกรอง
1.การประเมินภาวะสุขภาพมารดา
1.1การซักประวัติ
• การซักประวัติข้อมูลทั่วไป
• การซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด
• การคาดคะเนกําหนดวันคลอดและการคํานวณอายุครรภ์
1.2 การตรวจร่างกาย
• การตรวจร่างกายทั่วไปโดยการดูคลํา เคาะ ฟังตรวจอย่างละเอียดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง
• การตรวจอาการบวม
ลักษณะของการบวมน้ำ
วิธีตรวจการบวม
ซึ่ง pitting edema มี 4 ระดับคือ
• +1บวมเล็กน้อยไม่เกินข้อเท้า โดยกดบุ๋มลงไป 2 มม.
• +2บวมมากขึ้นถึงบริเวณขา โดยกดบุ๋มลงไป 4 มม.
• +3บวมถึงมือ ใบหน้า หน้าท้องและก้นกบโดย กดบุ๋มลงไป 6 มม.
• +4บวมทั้งตัวละมีท้องมานโดย กดบุ๋มลงไป 8 มม.
• การตรวจร่างกายตามระบบ
เยื่อบุตา ปาก เหงือก ฟัน
ลำคอ ตรวจต่อมไทรอยด์
ทรวงอกได้แก่ หัวใจ ปอด เต้านม หัวนม
1.3 การตรวจครรภ์และประเมินสภาพทารกในครรภ์
• คําศัพท์เกี่ยวกับสภาพของทารกในครรภ์
Fetal parts and skull หมายถึงส่วนของทารกและกะโหลกศีรษะ
Lie หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของทารก (long axis) กับความยาวของโพรงมดลูก
Attitude (ทรงของทารก)คือความสัมพันธ์ระหว่างแขน ขา ลําตัวและศีรษะทารก
presentation หมายถึงส่วนของทารกที่ผ่านเข้าสู่เชิงกราน (true pelvis) ก่อนส่วนอื่น
5.DenominatorหรือLeadingPoint(จุดอ้างอิง)
จุดอ้างอิง คือส่วนของทารกบนส่วนนํา
6.Position (ท่าของทารก) ท่าของทารกในครรภ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจุดอ้างอิง (Denominator) ที่อยู่บนส่วนนําของทารก กับช่องเชิง
กรานมารดา
Engagement หมายถึง การที่ทารกเอาส่วนที่กว้างที่สุดเข้าไปใน pelvis inlet
• การตรวจครรภ์
วิธีการตรวจ
ใช้ทักษะการตรวจโดยการ ดู คลํา และ ฟัง
อุปกรณ์ หูฟัง Doppler หรือ Doptone สายเทปวัด แป้นหมุน(Gestational age wheel or calculator)
สถานที่และอุปกรณ์ในการตรวจครรภ์ สถานที่เป็นห้องตรวจที่มิดชิด
การคลำที่นิยมใช้การตรวจครรภ์
โดยวิธีLeopold Handgrip
แบ่งออกเป็น 4 ท่า
ท่าที่ 1.First Leopold Handgrip, First maneuver, Fundal grip คือ การคลําบริเวณยอดมดลูก
ทาที่ 2 Second Leopold Handgrip, Second maneuver or Umbilical grip เป็นการคลําหลังของทารก ว่าอยู่ทางด้านใดของลําตัวมารดา
ท่าที่ 3. Third Leopold Handgrip (maneuver) (Pawlik’s grip) เป็น การตรวจเพื่อหาส่วนนํา และระดับส่วนนํา ของทารก
ท่าที่ 4. Fourth Leopold Handgrip (Bilateral Inguinal grip) คือการตรวจเพื่อหาระดับส่วนนํา และตรวจหา ส่วนนําว่าเปน็ หัว หรือ ก้น
การดู
• ลักษณะและขนาดของมดลูก
• ความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
• ดูการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
การคลำ
การคลําไหล่หน้า
การคลําที่บริเวณมดลูกส่วนล่างและส่วนบน
การตรวจ overiding ของศีรษะทารก คือภาวะที่ศีรษะทารกเกยกับขอบบนของรอยต่อกระดูกหัวเหน่า
การฟัง
การฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ (Fetal heart sound, FHS)
จะเริ่มฟังได้ด้วยหูฟังเมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป
ตําแหน่งของFHS ที่เปลี่ยนแปลงไปตามส่วนนํา
และท่าของทารก
cephalic: อยู่ระหว่างสะดือกับ Anterior Superior iliac spine
breech: อยู่ระดับสะดือ หรือ เหนือระดับสะดือ
transverse: ทางด้านข้างของท้อง
anterior: ใกล้กับเส้นแบ่งครึ่งกลางท้องตามยาว
posterior: ใกล้กับเส้นแบ่งครึ่งกลางท้องหรือด้านข้าง
อุปกรณ์ที่ใช้ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์
Stethoscope
Doptone หรือ Sonic aid
Fetal monitoring
2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการแปลผล
การตรวจเลือด
การตรวจปัสสาวะ
3.การคัดกรองภาวะเสี่ยง.
•อายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
• ติดเหล้า บุหรี่ หรือยาเสพติด
• ประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว
• เคยแท้งเองมากกว่า 2 ครั้ง
• บวมกดบุ๋ม
• ตรวจพบ VDRL,ANTI-HIV,HEPATITIS B ให้ผลบวก เป็นต้น
4.การนัดตรวจติดตาม
สําหรับการนัดเพื่อมาตรวจครรภ์ในแต่ละครั้งในครรภ์ปกติโดยทั่วไปจะนัดตรวจดังนี้
• อายุครรภ์ <28 สัปดาห์ นัดทุก 4 สัปดาห์
• อายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์ นัดทุก 2-3สัปดาห์
• อายุครรภ์>= 36 สัปดาห์ นัดทุก 1 สัปดาห์
5.การให้ภูมิคุ้มกันโรค
สตรีที่มารับบริการฝากครรภ์ทุกคน ควรได้รับการฉีด Tetanus toxoid การให้วัคซีน ป้องกันบาดทะยักจะให้ทั้งหมด3เข็มโดยเริ่มใหเ้ข็มแรกเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกและให้เข็มที่2ห่างจากเข็มแรก4-6 สัปดาห์และควรฉีดก่อนอายุครรภ์ครบกําหนดอย่างน้อย 1 เดือน หรือ เมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ ส่วนเข็มที่ 3 จะให้ ห่างจากเข็มที่ 2 ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้น เข็มที่ 3 จึงมักจะนัดมารดามาฉีดในระยะหลังคลอด
6.การประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์โดยการนับลูกดิ้น
• การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ก่อนคลอด(antepartum fetal well-being assessment)
• วิธีการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
1.การตรวจนับจํานวนเด็กดิ้น (Fetal movement count : FMC)
2.การตรวจนอน สเตรส เทสท์ (Non stress test: NST)
3.การตรวจ คอนแทรกชั่น สเตรส เทสท์ (Contraction stress test : CST)
ฟีตัล ไบโอ ฟิซิคัล โปรไฟล์ (Fetal Biophysical profile : BPP)
วิธีการนับการดิ้นของทารกในครรภ์ (fetal movement count : FMC)
การนับอย่างง่ายเรียกว่า ick count เป็นการตรวจสอบโดยให้สตรีตั้งครรภ์เองว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่อย่างไร
วิธีนับครบสิบ (count to ten)
2.1 วิธี count-to-ten (วิธีของ Moore) นับจํานวนเด็กดิ้นจนครบ 10 ครั้ง ในเวลา 4 ชั่วโมง
2.2 วิธีcount-to-ten (วิธีของ Pearson เรียก The Cardiff “count-to-ten Chart”)
นับจํานวนเด็กดิ้นตั้งแต่09.00น.จนครบ 10 ครั้ง ในเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง (ถึง21.00น.)
2.3 วิธีcount-to-ten (วิธีของ Liston นบั เหมอื นPearson แต่เริ่มอายุครรภ์ 28 สัปดาห์
นับจํานวนเด็กดิ้นตั้งแต่09.00น.จนครบ 10 ครั้ง ในเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง(ถึง21.00น.)
3.วิธีของ Sadovsky, Yaffe, Wood และคณะ
เป็นวิธีที่นิยมใช้มากและใช้ ในปัจจุบันเป็นการนับและบันทึกการเคลื่อนไหวของทารกใน 1 วันเรียกว่า daily fetal movement record(DFMR)
3.1 การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์
1.การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์
•ระยะไตรมาสแรก จะมีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย (ambivalence)
•ระยะไตรมาสที่สอง เริ่มยอมรับการตั้งครรภ์มากขึ้น จากการดิ้นของทารกในครรภ์
•ระยะไตรมาสที่สาม หญิงตั้งครรภ์จะเริ่มกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดมากขึ้น
การหมกมุ่น คิดถึงแต่ตนเอง (introversion)
อารมณ์แปรปรวน (emotional lability)
2.การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ (body image)
•ระยะไตรมาสแรก การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายยังปรากฏไม่ชัดเจนจึงทําให้มีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์น้อย
•ระยะไตรมาสที่สอง ระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากขึ้น
•ระยะไตรมาสที่สาม รู้สึกว่าร่างกายเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเกิดความไม่คล่องตัว รู้สึกอับอายไม่ชอบร่างกายของ ตนเองอาจมีความรู้สึกทางด้านลบต่อร่างกายของตนเองได้
3.การเปลี่ยนแปลงด้านเพศสัมพันธ์
การแสดงออกด้านเพศสัมพันธ์เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์กับ บุคคลอื่น
•ระยะไตรมาสแรก หญิงตั้งครรภ์อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง
•ระยะไตรมาสที่สอง หญิงตั้งครรภ์จะมีความรู้สึกทางเพศเพิ่มขึ้นและร่างกายมีการตอบสนองทางเพศดีขึ้น
•ระยะไตรมาสที่สาม
รูปร่างของหญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
ขนาดของมดลูกขยายใหญ่ขึ้นทํา ให้รู้สึกอึดอัดไม่สะดวกในการมีเพสัมพันธ์
ความรู้สึกในเรื่องภาพลักษณ์เปลี่ยนไป
4.การปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา
การตั้งครรภ์เป็นแหตุการณ์ที่ผู้หญิงจะมีพัฒนาการเข้าสู่วุฒิภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องเผชิญกับ ความเครียดเนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดาตลอดระยะของการตั้งครรภ์
พัฒนกิจขั้นที่ 1 การสร้างความมั่นใจและยอมรับการตั้งครรภ์(pregnancy validation)
พัฒนกิจขั้นที่ 2 การมีตัวตนของบุตร และรับรู้ว่าบุตรในครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของตน (fetal embodiment)
พัฒนกิจขั้นที่ 3 การยอมรับว่าทารกเป็นบุคคลคนหนึ่งที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างไปจากตน(fetal distinction)
มีการปฏิสัมพันธ์กับบุตรทางการสัมผัสจากภายนอก
คิดถึงว่าบุตรจะมีบุคลิกคล้ายผู้ใด
เริ่มซื้อ เสื้อผ้าของทารกแรกเกิด
ชักนําให้สามีสนใจทารกในครรภ์
พัฒนกิจขนั้ ที่ 4 การเปลี่ยนบทบาทการเป็นมารดา (role transition)
หญิงตั้งครรภ์จะมีความวิตกกังวล เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของการเจ็บครรภ์
มีความรู้สึกพึงพาคนอื่น
มีทั้งความรู้สึกสมหวัง และหวั่น เกรงจะสูญเสียเกิดขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
1). ประสบการณ์การเลี้ยงดู
2) วุฒิภาวะทางอารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์
3). ลักษณะทางสังคมและครอบครัว
4) สภาพเศรษฐกิจ
5). ประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา
6) สถานภาพสมรส
7). การยอมรับสภาพความเป็นจริง
8). การเรียนรู้และการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
5.การปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นบิดา
ผู้ที่กําลังจะเป็นบิดาหรือสามีก็ อาจประสบภาวะเครียดทางจิตใจด้วยเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสถานะจากการเป็นสามีมาสู่การเป็นบิดา ของบุตร คน 2 คน หรือมากกว่า
ไตรมาสแรก
สามีจะประกาศการตั้งครรภ์ให้กับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง
มีความรู้สึกลังเลใจเช่นเดียวกับภรรยา
อาจเริ่มรู้สึกประทับใจต่อการตั้งครรภ์ ดีใจภูมิใจ แต่ในขณะเดียวกันจะเกิด ความรู้สึกสับสน วิตกกังวล ไม่แน่ใจในการเผชิญบทบาทใหม่
ทําให้มีความสนใจทางเพศน้อยลง หรือให้ความสนใจต่อภรรยาลดลง
ไตรมาสที่สอง
เริ่มรู้สึกมากขึ้นเมื่อได้จับต้องขณะทารกดิ้นในครรภ์ ภรรยา
รู้สึกว่าการที่ตนและภรรยามีความรู้สึกใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
ความต้องการทางเพศมากขึ้นกว่าไตรมาสแรก
การได้ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ เต้นจะช่วยส่งเสริมให้บิดามีความรู้สึกผูกพันกับบุตร
ไตรมาสที่สาม
เป็นระยะที่สามีจะมีการเตรียมการและคาดการณ์เกี่ยวกับการคลอดเป็นช่วงที่สามีและภรรยาจะ ช่วยกันเตรียมของใช้ต่าง ๆ
การหาความรู้ในเรื่องการปฏิบัติตน และการเลี้ยงดู ทารก บิดาจะมีความรู้สึกผูกพันกับ ทารกในครรภ์ยิ่งขึ้น
เริ่มคิดว่าทารกในครรภ์เป็นบุคคลอย่างแท้จริงมากกว่าระยะที่ผ่านมา
ในระยะใกล้คลอด ทั้งสามีและ ภรรยาจะมีความรู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้าเกิดความวิตกกังวลต่าง ๆ เช่น กลัวว่าภรรยาและบุตรจะเกิดอันตราย กลัวบุตรพิการ
3.8 การดูแลด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์
ระยะของการตั้งครรภ์ไตรมาส 1
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
1.ความไม่แน่ใจ (uncertainty)
และความรู้สึกก่ำกึ่ง (ambivalence)
2.ความรู้สึกเสียใจ (grief)
สตรีมีครรภ์จะรู้สึกเสียใจอาลัยต่อบทบาทเดิมเพื่อการ
มีบทบาทใหม่ของการเป็นมารดา
3.ความกลัวและการเพ้อฝัน
(fear and fantasies)
สตรีมีครรภ์จะสนใจเฉพาะ อาการเปลี่ยนแปลงและความไม่สุข สบายของตนเอง นึกเพ้อฝันจินตนการถึงสิ่ง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตตนเองต่างๆนานา
4.อารมณ์แปรปรวน (mood swing)
5.ความสนใจและความต้องการทางเพศ
(changes in sexual desire)
มีความสนใจทางเพศลดลง
ระยะของการตั้งครรภ์ไตรมาส 2
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
การยอมรับการตั้งครรภ์
(acceptance of pregnancy)
รักและใส่ใจตนเอง
(narcissism and introversion)
การรับรู้ภาพลักษณ์
(body image and boundary)
4.ความสนใจและความต้องการทางเพศ
(change in sexual desire)
บางรายรู้สึกมีความสุขในการมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น
ระยะของการตั้งครรภ์ไตรมาส 3
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
1.ความเครียด (stress)
2.ความสนใจและความต้องการทางเพศ
(change in sexual desire)
บางรายจะรู้สึกว่าความสนใจทางเพศลดลง
เนื่องจากกลัวอันตรายกับทารกในครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาพลักษณ์ของ
หญิงตั้งครรภ์ในแต่ระยะของการตั้งครรภ์
ระยะของการตั้งครรภ์ไตรมาส 1
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงยังไม่ปรากฏชัด
ระยะของการตั้งครรภ์ไตรมาส 2
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากขึ้น
ระยะของการตั้งครรภ์ไตรมาส 3
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากขึ้น รู้สึกเคลื่อนไหว
ไม่สะดวก ผิวหนัง บริเวณ หน้าท้องและเต้านมแตก
ทําให้รู้สึกอับอาย มีความรู้สึกทางด้านลบต่อ ภาพของตนเองมาก
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง
ด้านจิตสังคมในระยะตั้งครรภ์
1.ปัจจัยส่วนบุคคลของสตรีมีครรภ์ ได้แก่วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความพึงพอใจในชีวิตสมรสสัมพันธภาพกับ มารดา อัตมโนทัศน์และการรับรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์
1.1 วุฒิภาวะทางอารมณ์
1.2 ความพึงพอใจในชีวิตสมรส
1.3 สัมพันธภาพกับมารดา
1.4 การรับรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์
1.5 อายุสตรีมีครรภ์อายุน้อย
ปัจจัยด้านครอบครัว ครอบครัวมีบทบาทที่สําคัญต่อการปรับตัวของสตรีมีครรภ์
2.1 ลักษณะครอบครัว
2.2 ความคาดหวังของครอบครัว
2.3 สภาพเศรษฐกิจ
ปัจจัยด้านสังคมและระบบบริการสุขภาพ
แม้ว่าการตั้งครรภ์จะเป็นเหตุการณ์ปกติทางสังคม
3.1 ความเชื่อและการให้คุณค่าเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
3.2 ระบบบริการสุขภาพ
3.9 การพยาบาลภาวะไม่สุขสบาย
ระบบทางเดินอาหาร
(Gastrointestinal tract)
อาการ
คลื่นไส้ อาเจียน (morning sickness)
• ฮอร์โมน progesterone
• การเพิ่มระดับของฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (HCG)
• ความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์
แสบร้อนบริเวณหัวใจ (heartburn)
• ฮอร์โมน Progesterone
ลดการทำงานระบบย่อยอาหาร
ริดสีดวงทวาร (hemorrhoids)
• การเพิ่มระดับของฮอร์โมน Progesterone
• มดลูกขยายใหญ่ขึ้นไปกดเส้นโลหิตดํา
น้ําลายมาก ( ptyalism, salivation)
• การเพิ่มของฮอร์โมน Estrogen หรือ เนื่องจากสาเหตุทางจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ทําให้ไม่สามารถกลืนลงไป หรือบ้วนทิ้ง
เหงือกอักเสบ (gingivitis)
• การกระตุ้นของฮอร์โมน Estrogen
ใจสั่น เป็นลม (tachycardia,
fainting and supine hypotension)
• หลอดโลหิตขยายตัว
• การนอนหงายทําให้มดลูกไปกดเส้นโลหิตที่เข้าสู่หัวใจ
• การเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกินไป
เส้นเลือดขอด (varicose veins)
• ขนาดของมดลูกที่โต จะไปกดทับเส้นโลหิตดําที่ผ่านจากอุ้งเชิงกรานมาสู่ช่องท้อง เมื่อถูกกดนานๆความดันใน เส้นโลหิตจะสูงขึ้น จะดันให้เส้นโลหิตเล็กๆโป่งพอง เลือดมาคั่งบริเวณขามากขึ้น หรือ อวัยวะเพ
ระบบหายใจ (Respiratory system)
อาการ
หายใจตื้นและลําบาก
(shortness of breath)
• การที่มดลูกมีขนาดใหญ่ ทําให้กระบังลมขยายตัวได้ไม่เต็มที่หรืออาจเกิดมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นเพิ่ม มากขึ้น
ปวดหลัง ปวดถ่วงและปวดบริเวณข้อต่อต่างๆ
(backache, pelvic pressure and joint pain)
• มดลูกมีขนาดโตขึ้น
• การยืดขยายของเส้นเอ็นที่ยึดข้อต่อต่างๆของกระดูกเชิงกรานเพื่อเตรียมสําหรับการคลอด
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
(Renal system)
อาการ
ปัสสาวะบ่อย (Urinary frequency)
• มดลูกขนาดโตขึ้น จะไปกดกระเพาะปัสสาวะ
• ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ระบบประสาท (Neurological system)
อาการ
ปวดศีรษะ
• ความตึงเครียด
• ความดันโลหิตสูง
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
(mood swings)
• การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
• การคลอดบุตร จากบทบาทที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป
ปวด เจ็บ และชาที่ข้อมือ
(periodic numbness, tingling of fingers)
• เส้นประสาทที่รักแร้ถูกกด
อาการอื่นๆ (Miscellaneous conditions)
อาการ : อ่อนเพลีย (fatigue)
• การเพิ่มของฮอร์โมน Estrogen, Progesterone
• การขาดสารอาหาร
• การขาดการออกกําลังกาย
• โรคโลหิตจาง
• สภาวะทางจิตใจ
บวมที่เท้า (swelling of the feet)
• น้ําคั่งในเนื้อเยื่อของร่างกายจาก
อิทธิพลของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์
การเพิ่มขึ้นของความดันในหลอดเลือดดําที่ขา
ตกขาว (leucorrhea)
• เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน Estrogen
ซึ่งกระตุ้นการสร้าง mucous ที่บริเวณ cervix
ระบบผิวหนัง
(Integument system)
อาการ
คัน (pruritus)
• อาการคันบริเวณหน้าท้องเกิดจากการยืดขยาย
ของกล้ามเนื้อและผิวหนังทําให้เกิดอาการคันได้
จากการแพ้
3.2 การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง จําแนกได้เป็น 3 กลุ่ม
อาการที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ (Presumptive signs)
อาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเป็นข้อมูลได้จากการซักประวัติ ที่ชวน สงสัยว่าเป็นการตั้งครรภ์ ใช้เป็นแนวทางการวินิจฉัยได้เพียงร้อยละ50 เท่านั้น กลุ่มอาการแสดงได้แก่
1.1 ขาดประจําเดือน (Amenorrhea)
1.2 อาการแพ้ท้อง (Nausea and vomiting)
คลื่นไส้ อาเจียน เรียกว่า แพ้ท้อง(Morning sickness) แต่อาจพบในบางคนที่มีอารมณ์แปรปรวน มีความผิดปกติของ ทางเดินอาหารหรือมีการติดเชื้อ
1.3 การเปลี่ยนแปลงของเต้านม (Breast changes)
• บริเวณลานหัวนม(areola)กว้างออก และสีคล้ำ
• มีตุ่มกระจายอยู่ที่ลานหัวนม เต้านมขยาย น้ํานมไหล
1.4 การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง (Skin changes)
1.5 ปัสสาวะบ่อย (Urinary frequency)
ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะมีความรู้สึกว่า อยากปัสสาวะบ่อย เชื่อว่าเกิดจากมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทําให้ปัสสาวะบ่อย
1.6 อ่อนเพลีย (Fatigue)
มักพบระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์มีความรู้สึกอย่างเห็นได้ชัด
1.7 มารดารู้สึกเด็กดิ้น (quickening)
ระหว่าง16-20 สัปดาห์
การดิ้นของทารกในครรภ์มารดารู้สึกสัมผัสได้เป็นครั้งแรกเรียกว่า quickening หรือ perception of life
อาการที่แสดงว่าน่าจะตั้งครรภ์ (Probable signs)
อาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแต่ไม่ถึงกับแน่นอนเลยที่เดียวกล่าวคืออาจไม่ใชก่าร ตั้งครรภ์ก็ได้ความเป็นไปได้ร้อยละ70 ประกอบด้วย
2.1 ท้องโตขึ้นหน้าท้องขยายใหญ่ (abdominal enlargement)
มดลูกที่ตั้งครรภ์ใหญ่ขึ้นและลอยตัวเหนืออุ้ง เชิงกรานประมาณ 10-12เมื่ออายุครรภ์ 10 สัปดาห์
จะคลําพบขนาดมดลูกอยู่เหนือหัวหน่าว
2.2 การเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง ขนาด และความนุ่มของมดลูก (Changes in the uterus)
ใน 2-3 สัปดาห์แรกมดลูกจะโตขึ้นแนวหน้าหลัง ต่อมาจะกลมขึ้นและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 cms.
12 wks. การตรวจ ภายในอาจพบการเปลี่ยนแปลงได้แก่
1) Goodell’s sign มีลักษณะคือปากมดลูกนุ่มลง ตรวจได้ปากมดลูกนุ่มคล้ายกับริมฝีปาก ซึ่งเกิดขึ้น เร็วตั้งแต่อายุครรภ์ 4 สัปดาห์
2) Ladin’s sign จุดที่เริ่มนุ่มเป็นแห่งแรก ตรงกลางทางด้านหน้าตามแนวรอยต่อ ปากมดลูกและตัวมดลูก
3) Hegar’s sign ส่วนของ Isthmus นุ่มมากเมื่อตรวจภายใน
4) McDonald’s sign คือมดลูกยืดหยุ่นหักงอได้ตําแหน่ง uterocervical junction
5) Von Fernwald’s sign ตําแหน่งของยอดมดลูกบริเวณที่รกเกาะจะนุ่มลง
6) Piskacek’s sign การตรวจภายในพบว่ามดลูกขยายใหญ่ออกไปข้างหนึ่งคล้ายมดลูกโตไม่สม่ําเสมอ
2.3 มีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก (cervical changes)
ประมาณอายุครรภ์6-8สัปดาหป์ากมดลูกจะนุ่มลงในครรภ์แรกจะพบว่าบริเวณรอบๆexternalosมี ความนุ่มคล้ายกับริมฝีปากแทนที่จะเหมือนกระดูกอ่อนของจมูกอย่างในคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
2.4 การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก (Braxton Hicks contraction)
• มดลูกของคนตั้งครรภ์มีการหดรัดตัวเป็นครั้งคราว ไม่มีอาการเจ็บปวด ไม่สม่ำเสมอ จะเกิดขึ้นได้เมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป
• ถ้านวดคลึงมดลูกการหดรัดตัวนี้จะเพิ่มความรุนแรงขึ้น
• การหดรัดตัวนี้เรียกว่า Braxton Hicks contraction
2.5 Ballottement
เนื่องจากมดลูกนุ่ม และทารกลอยอยู่ในน้ําคร่ำ (liquor amnio) เมื่อกระตุ้นที่มดลูกทารก จะเคลื่อนไปทิศทางตรงข้ามแล้วย้อนกลับมาที่เดิมโก่งตัวลอยมากระทบมือผู้ตรวจ
แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1)Externalballottementตรวจพบเมื่ออายุครรภ์24สัปดาห์
วิธีการตรวจ วางมือข้างมดลูกด้านหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งกดลงมดลูกแรงและเร็วพอประมาณ แรงที่กดบนมดลูกจะผ่านน้ําคร่ำกระทบตัวทารกให้ลอยมากระกระทบมือผู้ตรวจอีกข้างหนึ่ง
2) Internal ballottement ตรวจพบเมื่ออายุครรภ์14 สัปดาห์
วิธีการตรวจ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสอดเข้าไปในช่องคลอด anterior fornix อีกมือหนึ่งกดที่ยอดมดลูกกระตุ้นมือที่อยู่ในช่องคลอดเบาๆ จะมีความรู้สึกว่าทารกกระทบมือทั้งสองข้าง
2.6 คลําได้ขอบของทารก (outlining)
ขอบเขตทารกจะสามารถคลําได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 22 สัปดาห์เป็นตันไป
2.7 ผลการทดสอบทางฮอร์โมนให้ผลบวก (positive pregnancy test)
Human Chorionic Gonadotropins(HCG)
การตรวจพบ HCG ในกระแสเลือด หรือในปัสสาวะ
อาการแสดงการตั้งครรภ์แน่นอน (Positive signs)
อาการแสดงที่มีความแม่นยําร้อยละ 100 ในการทํานายการตั้งครรภ์ แบ่งออกได้ 4 ประการ คือ
3.1 ตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก (fetal heart sound )
การตรวจด้วย stethoscope สามารถฟังได้ยินการเต้นของหัวใจทารก ที่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์เมื่ออายุครรภ์ 19 สัปดาห์ จะสามารถได้ยินการเต้นของหัวทารกเกือบทุกคน
3.2 ตรวจพบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ (fetal movement and fetal part)
การที่สามารถ ตรวจพบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ประมาณอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
3.3 ตรวจพบทารกโดยภาพรังสี (roentgenogram)
เมื่อใดก็ตามที่ภาพทางรังสีสามารถตรวจพบกระดูกทารก อย่างชัดเจน ก็จะถือว่าเป็น positive sign ของการตั้งครรภ์แน่นอน อาการแสดงนี้จะตรวจได้ภายหลัง 16 สัปดาห์ไปแล้ว ในการถ่ายภาพรังสี
3.4 การตรวจพบทารกโดยวีรีของคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonography)
ตรวจพบทารกโดยวิธีคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography)
อายุครรภ์5สัปดาห์เห็นภาพทารก
อายุครรภ์6สัปดาหเ์ห็นgestational
อายุครรภ์ 8 สัปดาห์เห็น echo ของตัวอ่อนอยู่ใน gestational sac
อายุครรภ์11สัปดาหเ์ห็นการทํางานของหัวใจทารก
อายุครรภ์14สัปดาหเ์ห็นทรวงอกและศีรษะแยกกันได้ดี
3.4 การส่งเสริมสุขภาพมารดาขณะตั้งครรภ์
การให้คําแนะนําในไตรมาสที่ 1
แนะนําให้นอนพักในตอนเช้าและบ่ายทุกวัน วันละครึ่งชั่วโมง
ควรจะหลีกเลี่ยงการ เหนื่อยล้าโดยการพักผ่อน
ด้านโภชนาการในระยะตั้งครรภ์
BMI
• BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ําหนักควรเพิ่มประมาณ 10-14 กิโลกรัม
• BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วน น้ําหนักควรเพิ่มไม่เกิน 10 กิโลกรัม
• BMI อยู่ในเกณฑ์ผอม น้ําหนักควรเพิ่มประมาณ 12-18 กิโลกรัม
อาหารที่หญิงตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารใน 1 มื้อ
กลุ่มข้าวแป้ง
กลุ่มผัก
กลุ่มผลไม้
กลุ่มเนื้อสัตว์
กลุ่มนม
ไขมัน น้ําตาล และเกลือ จะรวมอยู่ในการปรุงอาหาร
สารอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการ
• โปรตีน • ธาตุเหล็ก
• ไอโอดีน • โฟเลต
• วิตามินซี • แคลเซียม
• น้ำสะอาด
ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน
• อาหารหมักดอง
• อาหารรสจัด
• แอลกอฮอล์ ชา - กาแฟ
• อาหารที่มีไขมันสูง
• อาหารที่ใส่ผงชูรส
ด้านการออกกําลังกาย
ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จิตใจสงบ หลับได้ดี
กระตุ้นให้อยาก รับประทานอาหาร ระบบทางเดินอาหารทํางานดีขึ้น
การเดินเล่นในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
การทำงาน
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การทํางานที่ต้องยืนนานๆ การทํางานบางประเภทที่อาจเกิดการแท้ง / การ คลอดก่อนกําหนด / ทารกในครรภ์เกิดความพิการ เช่น การทํางานในโรงงานที่มีสารเคมีหรืองานที่ต้องยกของ หนักๆ เป็นต้น
การเดินทาง
การดูแลรักษาสุขภาพของเหงือกและฟัน
พบทันตแพทย์เมื่อมีปัญหาภายในช่องปาก
การใช้ยา
• แนะนําไม่ให้หญิงตั้งครรภ์ซื้อยารับประทานเอง
• ควรมีการบันทึกการรักษาและชื่อยาทุกชนิดที่ใช้กับหญิงตั้งครรภ์
ด้านการมีเพศสัมพันธ์
• ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ประจําเดือนเคยมา เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแท้งได้
ท่าที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างตั้งครรภ
ท่านอนตะแคง สามีนอนประกบด้านหลัง
ท่านอนคว่ำยกก้นสูง ศีรษะหรือหน้าแนบชิดพื้น สามียืนประกบด้านหลัง
นั่งบนเตียง หมอนหนุนหลังแล้วแยกขา สามียืนอยู่ด้านหน้า
การทรงตัวและการยืน
• การนั่ง นั่งหลังตรง ให้กระดูกสันหลังรักษาความโค้งปกติไว้
• การนอน ท่านอนหงายหรือนอนตะแคง
• การเดิน ศีรษะตั้งตรง ไหล่และหลังตรง คางยื่นไปข้างหน้า
การบริหารร่างกาย
วิธีการบริหารท่าโก่งหลัง (Pelvic rocking)
คุกเข่าให้เข่าทั้งสองข้างห่างกันประมาณ 9 นิ้ว ข้อสะโพกงอ 90 องศา
มือทั้งสองข้างวางที่พื้นห่างกันประมาณ 12 นิ้ว หรือเท่ากับช่วงไหล่หน้าและแขนเหยียดตรง
ปล่อยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังหย่อนลงไป หน้าแหงนมองไปข้างหน้าขณะเดียวกันยกสะโพกให้ สูงสุด พร้อมกับสูดหายใจเข้าลึกๆอย่างเต็มที่
หลังจากนั้นค่อยๆก้มศีรษะลงพร้อมกับยกหลังขึ้นช้าๆให้สูงที่สุดเท่าที่จะทําได้ปล่อยลมหายใจออก ขมิบกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก อุ้งเชิงกรานและเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา การทําในท่านี้จะมีลักษณะแมวโก่งหลัง
ทําเช่นนี้สลับกันช้าๆ ประมาณ 10 ครั้ง
วิธีกายบริหารท่ายกสะโพกขึ้น (Pelvic tilt)
นอนหงาย ชันเข่า เท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้น
มือทั้งสองข้างวางใกล้ลําตัวหรือประสานกันไว้ใต้ศีรษะ
หายใจเข้าพร้อมกับบังคับให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหดลง
เกร็งให้ส่วนล่างของหลังกดกับพื้นมากที่สุดโดยให้แนวของกระดูกสันหลังเป็นเส้นตรงอาจจะพบว่าก้นยกขึ้นเล็กน้อย
หายใจออกพร้อมกับคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เข้าสู่ท่าปกติดังเดิมโดยส่วนล่างของหลังเคลื่อนขึ้นมา
ทําเช่นนี้สลับกันช้าๆ ประมาณ 10 ครั้ง
วิธีกายบริหารขมิบช่องคลอด (Kegel exercise)
ท่าที่ใช้ในการบริหารอาจจะเป็นท่าใดๆก็ได้ เช่น ยืน นั่ง หรือนอน ในขณะทํางาน เป็นต้น เริ่มด้วยการ ขมิบบริเวณช่องทางคลอด ทวารหนัก และสะโพก
ขมิบและกลั้นไว้ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นค่อยๆคลายออกอย่างช้าๆ
ทําเช่นนี้ประมาณ 10 ครั้ง และในวันหนึ่งๆอาจทําบ่อยครั้งก็ได้
อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนกําหนดนัด
เช่น ปัสสาวะลำบาก เลือดออกทางช่องคลอด
มีน้ำเดินทางช่องคลอด เด็กไม่ดิ้น เป็นต้น
การมาตรวจตามนัด
ก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ นัดตรวจทุก 4 สัปดาห์
อายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์ นัดตรวจทุก 2 สัปดาห์
อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป นัดตรวจทุกสัปดาห์
การให้คําแนะนําในไตรมาสที่ 2
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างของหญิงตั้งครรภ์
ลูกดิ้น
เริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นในช่วงอายุครรภ์ 4-5 เดือน
วิธีการนับลูกดิ้น
• การนับจํานวนลูกน้อยในครรภ์ดิ้นจนครบ 10 ครั้ง ใน 4 ชั่วโมง
• การนับการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์อย่างน้อย 10 ครั้ง ในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง
• การนับการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์อย่างน้อย 10 ครั้ง ภายใน 12 ชั่วโมง
2 อาการแสบร้อนยอดอก
วิธีการปรับตัวให้เหมาะสม
• รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ
แต่เพิ่มจํานวนมื้ออาหาร
• ควรนั่งหรือนอนในท่าศีรษะสูง
3.ท้องอืด
วิธีการปรับตัวให้เหมาะสม
• หลีกเลี่ยงอาหารที่ทําให้เกิดแก๊ส
เช่น น้ําอัดลม ถั่ว
• เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
4.ท้องผูก
วิธีการปรับตัวให้เหมาะสม
• ดื่มน้ําให้มากๆ
• เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
• ออกกําลังกายเบาๆ
5.ริดสีดวง
วิธีการปรับตัวให้เหมาะสม
• ระวังอย่าให้ท้องผูก
6.หน้ามืดเป็นลม
วิธีการปรับตัวให้เหมาะสม
• เปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้าๆ
• ถ้ารู้สึกมีอาการหน้ามืด ให้นอนราบ
และยกเท้าสูง หรือนั่งคุกเข่า
7.อาการปวดหลัง
วิธีการปรับตัวให้เหมาะสม
• ขณะนั่งหรือยืนพยายามรักษาหลังให้ตรง
• ไม่ยกของหนัก ไม่ยืนหรือเดินนานๆ
• สวมใส่สเตย์
• สวมรองเท้าส้นเตี้ย
การออกกําลังกาย
ท่ากระดกข้อเท้า
ท่ายกก้น
ท่านอนตะแคงยกขา
ท่าแมวขู่
• อยู่ในท่าคลาน 4 ขา แขม่วท้อง
โก่งตัวคล้ายแมวขู่ เกร็ง 3 วินาที พัก 3 วินาที
ท่านั่งเตะขา
ท่ายืนเตะขาด้านหลัง
ท่ายืนเตะขาด้านข้าง
ประโยชน์
• ช่วยลดอาการปวดหลัง ท้องผูก ท้องอืด
• ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส นอนหลับได้ดีขึ้น
• ช่วยให้รูปร่างดีขึ้น
• เพิ่มปริมาณเลือดเลี้ยงทารกในครรภ์
ข้อห้าม
เช่น ภาวะปากมดลูกหลวม ภาวะรกเกาะต่ำ โรคหัวใจที่ระบบไหลเวียนไม่คงที่ ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น
การดูแลผิวหนัง
หญิงตั้งครรภ์จะมีการทํางานของต่อมเหงื่อเพิ่มมากขึ้น
ควรอาบน้ําชําระล้างร่างกายวันละ 2 ครั้งตามปกติ ส่วนอวัยวะเพศไม่ควรสวนล้างในช่องคลอดเพราะอาจทําให้เกิดการติดเชื้อได้
การดูแลเต้านม
ควรทําความสะอาดบริเวณหัวนมด้วยน้ําสะอาดทุกวัน
ถ้าหัวนมมีความผิดปกติ เช่น หัวนมบุ๋ม ให้แก้ไขด้วยวิธีHoffman’smaneuver
ใส่ยกทรงที่ถูกต้อง คือมีขนาดที่เหมาะสมกับเต้าและสามารถรองรับน้ําหนักเต้าทรงได้
การให้คําแนะนําในไตรมาสที่ 3
พัฒนาการของทารกในครรภ์
ทารกหลับตา และลืมตาได้
กระดูกในร่างกายจะพัฒนาอย่างสมบูรณ์
ทารกจะเริ่มกลับหัว
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่
การดูแลสุขภาพครรภ์
หากมีปัญหาด้านการนอนหลับ ควรใช้หมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้น นอนตะแคงซ้ายและงอเข่าขึ้นโดยใช้หมอนรองระหว่างขาทั้งสองข้าง
ควรงดการรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
แพทย์อาจนัดให้ไปตรวจครรภ์บ่อยขึ้น โดยนัดตรวจทุก 2 สัปดาห์
ภาวะฉุกเฉินและอาการสําคัญ
ที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล
อาการท้องแข็ง หรือเจ็บครรภ์ ทุก 5-10 นาที
มีมูกเลือด หรือเลือดสดๆออกทางช่องคลอด
มีน้ําเดิน (น้ําใสๆ คล้ายปัสสาวะราด)
ลูกดิ้นน้อยลง
ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ บวม
สารอาหารที่จำเป็นด้านโภชนาการ
• โปรตีน • ธาตุเหล็ก • โฟเลต • วิตามินซี • แคลเซียม
• กรดไขมันจําเป็นประเภทโอเมก้า 3 6 9 DHA
ด้านการให้ยา
แนะนําการรับประทานยาและวิตามินตามแผนการรักษา
การฝึกลมหายใจ
การฝึกลมหายใจเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด
การหายใจแบบลึก และช้า
ใช้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกของการเจ็บครรภ์
ซึ่งการบีบตัวของมดลูกยังไม่รุนแรงมาก
การหายใจแบบตื้น เร็วและเบา
(แบบเป่าเทียน)
ใช้เมื่อการเจ็บครรภ์รุนแรงมากขึ้น
ปากมดลูกเปิดมากจนใกล้ถึงเวลาคลอด
การปรับอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
ฟังเพลง
พูดคุยกับลูก
ลูบหน้าท้อง
ส่องไฟที่หน้าท้อง
ออกกำลังกาย
3.5 การเตรียมตัวเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การเตรียมตัวให้นมบุตร
การดูแลหัวนม / เต้านม
การบริหารเต้านมควรทําวันละ 2 ครั้ง
ภายหลังการอาบน้ํา ดังนี้
การคลึงหัวนม (Nipple rolling)
การนวดเต้านม (Massaging breasts)
การขับน้ํานมเหลืองด้วยมือ (Manual expression of colostrums)
อาการเจ็บครรภ์จริง (True labor pain)
อาการเจ็บจะเริ่มต้นที่บริเวณหลังใกล้บั้นเอว แล้วร้าวไปข้างหน้าบริเวณท้องน้อย และหน้าขาทั้งสองข้าง การเจ็บ (การหดรัดตัว) นี้จะเป็นจังหวะสม่ำเสมอ จะค่อยๆถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
1.ลักษณะการเจ็บครรภ์
• สม่ำเสมอและเป็นจังหวะ
• อาการเจ็บรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตามลําดับ
• อาการเจ็บสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
• เริ่มเจ็บบริเวณหลังร้าวมาถึงหน้าท้อง
• เมื่อได้รับยาแก้ปวดอาการเจ็บครรภ์ก็จะไม่หายไป
ปากมดลูกมีการเปิดขยายและสั้นบางลง
มีมูกหรือมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด
• ไม่สม่ำเสมอ
• อาการเจ็บคงเดิมหรือลดน้อยลง
• ไม่สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก
• เจ็บเฉพาะบริเวณหน้าท้อง/ท้องน้อย
• อาการเจ็บหายไปเมื่อได้รับยาแก้ปวด
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
ไม่มีมูกหรือมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด