Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Personality disorder ( การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ ) -…
Personality disorder
( การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ )
การปฏิบัติทางการพยาบาล
สิ่งสำคัญคือ การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย นอกจากนี้การปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยเป็นเรื่องยากและมักไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าผู้ป่วยไม่คิดว่าเขาผิดปกติและไม่ต้องการปรับปรุงตนเอง ดังนั้นพยาบาลจึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าใจและปรารถนาที่จะปรับเปลี่ยนตนเอง และพยาบาลต้องมีอารมณ์มั่นคง หนักแน่น เสมอต้นเสมอปลาย และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างแท้จริง
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology)
จิตบำบัด (Psychotherapy)
พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
นิเวศบำบัด (Milieu therapy)
Epiology
Neurotransmitter dysregulation
Serotonin ต่ำ ในผู้ที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย
Dopamine เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีความผิดปกติของความคิดและการรับรู้
Psychosocial / Enviromentstressors
การเลี้ยงดูของพ่อแม่ เช่นถ้าพ่อแม่ที่เข้มงวดเกินไปลูกก็จะเก็บกด อิทธิพลของคนใกล้ชิด การขาดที่พึ่ง ความยากจน หรือการถูกทารุณกรรมทางด้านจิตใจ
Psychoanalytic factors
โครงสร้างทางจิต ( Psychic structure : id, ego, superego) บกพร่อง
ความไม่เหมาะสมของพัฒนาการในระยะต่างๆตามทฤษฎี Psychosexual development ของ Freud (oral, anal, phallic stages)
Biological factors
Genetic / familial factors พบความผิดปกติได้สูงในญาติสายตรง และในฝาแฝดเหมือน (Monozygotic twins)
ความหมาย
ภาวะที่บุคคลมีแบบแผนของมุมมอง ความคิด และพฤติกรรม ที่มีลักษณะของการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม ไม่ยืดหยุ่น เกิดความบกพร่องในด้านต่าง ๆ
Epidemiology
พบประมาณ 0.5% - 3% ของประชากรทั่วไป ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของความผิดปกติ และสูงถึง 20% ของผู้ป่วยจิตเวช
Categories of Personality Disorders
Cluster A มีพฤติกรรมแบบแปลกประหลาด (Eccentric)
A2 Schizoid personality disorder
บุคลิกจิตเภท
โรคนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับโรคจิตเภท schizophrenia แต่ไม่รุนแรงเท่า คนที่มีความผิดปกติชนิดนี้นี้มักไม่ปรากฏตัว ชอบอยู่ในที่ห่างไกล แยกตัวเองจากคนอื่น ไม่ต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใครแม้จะเป็นสมาชิกในครอบครัว
ต้องมีอาการ 4 ข้อขึ้นไป
หลีกเลี่ยงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
ชอบทำงานตามลำพังคนเดียว
ไม่ชอบการมีเพศสัมพันธ์
มีกิจกรรมที่ให้ความสุขน้อยมาก
ไม่มีเพื่อนสนิท
กดเก็บความรู้สึกไม่ค่อยแสดงออก
มีอารมณ์เย็นชา
A3 Schizotypal personality disorder
ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่าง
คิดว่าผู้อื่นพูดถึงหรือนินทาเรื่องของตน
มีความคิดแปลก ๆ เช่น ตาทิพย์หูทิพย์
มีการแปลสิ่งเร้าผิด (illusion)
มีการพูดที่แปลก ๆฟังไม่เข้าใจ
มีความหวาดระแวงสงสัย
ไม่ค่อยแสดงอารมณ์
มีพฤติกรรมแปลกๆ
ไม่มีเพื่อนสนิท
มีความกังวลอย่างมาก เมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า
บุคลิกแยกตัว เพี้ยน
อาการนี้แตกต่างจากอาการจิตเภทschizophrenia บุคลิก schizotypal personality disorder (SPD) จะสัมผัสกับความจริงมากกว่า ไม่ค่อยสัมผัสกับภาพหลอนหรือความหลงผิด แต่มักมีความเชื่อและความกลัวที่แปลกๆ มีสถานทางสังคมที่น่าอึดอัด ไม่ค่อยมีเพื่อนสนิท มีลักษณะหรือพฤติกรรมที่แปลกๆ พูดหรือแสดงความรู้สึกที่ไม่เหมาะสม
A1 Paranoid personality disorder
บุคลิกหวาดระแวง
มักแยกตัวจากสังคม ไม่เป็นมิตร มีความกังวลว่าคนอื่น ๆ จะมีแรงจูงใจซ่อนเร้น หลอกใช้งาน มักมีปัญหาในการทำงานและการเข้ากับผู้อื่น
มีเกณฑ์การวินิจฉัยจะต้องมี อย่างน้อย 4 อาการ
หวาดระแวงว่าผู้อื่นจะทำร้ายหรือหลอกลวง
หมกมุ่นครุ่นคิดว่าเพื่อนหรือผู้ร่วมงานไม่ซื่อสัตย์
ไม่ไว้ใจผู้อื่น
แปลเจตนาผู้อื่นในทางร้าย
มีความเคืองแค้นฝังแน่นในใจ
มีความรู้สึกว่าผู้อื่นจะมาทำร้ายหรือทำลายชื่อเสียง
มีความระแวงว่าคู่ครองจะนอกใจ
Cluster B มีอาการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือเหมือนแสดงละคร (Dramatic- emotional)
B2 Borderline personality disorder
อาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง
มักมีปัญหารุนแรงด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น หวาดระแวง กลัวการถูกทอดทิ้งแบบหยั่งรากลึก อารมณ์ไม่มั่นคง อารมณ์รุนแรง รู้สึกไม่มีตัวตน
ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่างขึ้นไป
1.พยายามหลีกเลี่ยงการถูกทอดทิ้ง
2.มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดีอย่างมาก
3.มีความสับสนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของตน
4.มีอาการขาดการควบคุมอารมณ์
5.มีความคิดหรือพฤติกรรมซึ่งแสดงว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยๆ
6.อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
7.มีความรู้สึกเงียบเหงาอยู่เสมอ
8.มีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่ายอยู่เป็นประจำ
9.มีความคิดหวาดระแวงหรืออาการดีสโซซิเอชั่น(ไม่สามารถจัดระเบียบความคิดได้เมื่อมีคตวามเครียด
B3 Histrionic personality disorde
บุคลิกเรียกร้องความสนใจ
มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีในชีวิต มักต้องการเป็นศูนย์กลางของความสนใจโดยแสดงออกทางอารมณ์รุนแรงแบบตัวละคร (drama) ชอบใช้เวลาวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของคนอื่น จะเป็นกังวลมากเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิด เป็นกังวลอย่างมากกับภาพลักษณ์ตนเอง จะกระทำใดๆมักต้องการให้มีการอนุมัติ และ หรือการรับประกัน
ต้องมีอาการ 5 ข้อขึ้นไป
1.รู้สึกอึดอัดเวลาที่ไม่ได้เป็นจุดสนใจ
2.ยั่วยวนทางเพศเกินควรหรือมีพฤติกรรมกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
3.อารมณ์ที่แสดงออกเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่ลึกซึ้ง
4.มีการใช้รูปร่างหน้าตาเพื่อดึงดูดให้ผู้อื่นหันมาสนใจตนเองอยู่เสมอๆ
5.ลักษณะการพูดจะเน้นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกมากเกิน และไม่มีเนื้อหาสาระ
6.การแสดงออกเหมือนเล่นละคร แสดงสีหน้าท่าทางมาก และมีการแสดงออกของอารมณ์มากเกินไป
7.ถูกชักจูงง่าย กล่าวคือ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้อื่นหรือสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่าย
8.เห็นความสัมพันธ์ที่มีกับผู้อื่นเป็นแบบใกล้ชิดกว่าที่เป็นจริง
B1 Anitsocial personality disorder
บุคลิกต่อต้านสังคม
มักเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ชอบสั่งการคนอื่น ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัย ชอบ โกหก ลักขโมย ชอบใช้กำลัง โกรธง่าย ไม่สำนึกต่อการทำผิด ละเมิดสิทธิคนอื่น หว่านเสน่ห์ ใช้สารเสพติด ทำ ผิดกฎหมาย และใช้งานคนอื่น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
ต้องมีความอาการอย่างน้อย 5 อย่าง
1.ไม่เคารพกฏระเบียบของสังคม
2.พฤติกรรมหลอกลวง
3.หุนหันพลันแล่น
4.มีอารมณ์หงุดหงิดและก้าวร้าว
5.ไม่ให้ความสนใจต่อตนเองและผู้อื่น
6.ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน
7.ไม่รู้สึกเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป
B4 Narcissistic personality disorder
ต้องมีอาการ 5 อย่างขึ้นไป
1.มีความคิดว่าตนเองเป็นคนสำคัญเหนือคนอื่น
2.หมกมุ่นกับความสำเร็จ ความฉลาดหลักแหลม ความสวยงามของตนเอง
3.มีความเชื่อว่าตนเองควรจะอยู่ในกลุ่มคนที่มีสถานภาพทางสังคมสูง หรือตำแหน่งใหญ่โต
4.ต้องการการยกย่องชมเชยจากผู้อื่นอย่างมาก
5.คิดว่าตัวเองเป็นผู้มีสิทธิพิเศษกว่าคนอื่น
6.เห็นแก่ตัวและเอาเปรียบ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
7.ขาดความเข้าในและเห็นใจ ไม่รับรู้ความต้องการของผู้อื่น
8.มีความคิดว่าผู้อื่นอิจฉาตนเอง
9.หยิ่งยโส รสนิยมสูง
บุคลิกหลงตัวเอง
ต้องการเป็นคนสำคัญที่มากเกินไป ไม่มีน้ำใจเห็นอกเห็นใจคนอื่น มุ่งเน้นแต่ความจำเป็นของตัวเอง และสิ่งที่ตนเองต้องการ
Cluster C มีความผิดปกติทางด้านความคิด มีความหวาดกลัวหรือความวิตกกังวลอย่างสูง (Fearful - anxious
C2 Dependent personality disorde
ต้องมีอาการ 5 อย่างขึ้นไป
ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ
ให้ผู้อื่นตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องสำคัญๆ
ไม่กล้าที่จะไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น
หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องตัดสินใจ
ยอมรับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง
รู้สึกไม่สบายใจอย่างมากถ้าต้องอยู่ตามลำพัง
รีบหาสัมพันธภาพใหม่เมื่อความสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิมสิ้นสุดลง
ครุ่นคิดและกังวลว่าตนจะถูกทอดทิ้ง
บุคลิกต้องพึ่งพา
มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยการต้องขึ้นอยู่กับคนอื่น ๆ ทั้งความต้องการทางกายภาพ หรือทางอารมณ์ มักไม่ต้องการที่จะอยู่คนเดียว ไม่กล้าตัดสินใจ, กลัวการขัดแย้ง เป็นฝ่ายตั้งรับในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สนใจมากไปเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิด กังวลการถูกทอดทิ้ง และไม่สามารถจัดการกับคำวิจารณ์หรือการไม่เห็นด้วย
C3 Obsessive - compulsive personality disorder
Obsessive-compulsive disorder (OCD) ต่างกับ Obsessive-compulsive personality disorder (OCPD)ในหลายลักษณะ เช่น ใน OCD มีความคิดที่ไม่ต้องการอะไรมาก แต่ ใน OCPD เชื่อว่าความคิดของตนถูกต้อง เข้มงวดกับกฎระเบียบและรายละเอียด ไม่ยืดหยุ่นใจกว้างหรือแสดงความรักต่อคนอื่น และมักถูกครอบงำด้วยการทำงานหรือ คลั่งงาน
ต้องมีอาการ 4 อย่างขึ้นไป
เป็นคนเจ้าระเบียบละเอียดถี่ถ้วน
ถือตามกฏเกณฑ์อย่างเคร่งคัด
ทำงานจริงจังพักผ่อนไม่เป็นและทะเยอทะยาน
มีคุณธรรมสูง
มักจะเก็บของต่างๆไว้แม้เป็นของไม่มีค่า
ไม่ยอมมอบหน้าที่ของตนให้ผู้อื่นทำแทนเพราะไม่ไว้ใจ
เป็นคนตระหนี่ใจคอคับแคบ
ไม่ยึดหยุ่นผ่อนปรนและดื้อรั้น
C1 Avoidant personality disorder
ต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างขึ้นไป
หลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากกลัวผู้อื่นปฏิเสธ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองต้องการเพื่อน
ไม่ยอมร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น นอกจากคนในกลุ่มที่คุ้นเคย
มีข้อจำกัดในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์
หมกมุ่นกับความคิดที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือถูกปฏิเสธ
รู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ ไม่สามารถเรียนรู้กิจกรรมใหม่ ๆ ได้
มองว่าตนเองเข้าสังคมไม่เป็น บุคลิกไม่ดี และมีข้อด้อยมากกว่าข้อดี
มีความลังเลในเรื่องที่จะต้องเสี่ยง หรือการทำกิจกรรมกับผู้อื่น
บุคลิกหลีกเลี่ยง
ขี้อาย อ่อนไหว เจ็บปวดง่าย เห็นตัวเองไม่ดีเท่าคนอื่น มักหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรืองานที่ต้องติดต่อกับคนอื่น ไม่เปิดกว้างกับลักษณะความสัมพันธ์เชิงเสน่หา (romantic) ชอบสร้างสถานการณ์แบ่งพวก