Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพสตรีในวัยเจริญพันธุ์ - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพสตรีในวัยเจริญพันธุ์
อนามัยเจริญพันธุ์
(reproductive Health) : ภาวะความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทั้งหญิงและชาย :: สภาวะที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สามารถทำหน้าที่ด้านเพศและด้านเจริญพันธุ์ หรือการมีบุตรได้ครบถ้วนสมบูรณ์
ปัจจัยพื้นฐานอนามัยเจริญพันธุ์ 3 อย่าง
1.มีความสามารถ(Ability)
การมีบุตรและควบคุมการเจริญพันธุ์ของตนเอง
มีเสรีภาพที่จะเลือกว่ามีบุตรเมื่อไร
มีความพึงพอใจในเพศสัมพันธุ์
2.ประสบผลสำเร็จ
มีอัตราการตายของมารดาและทารกต่ำ
ลูกเกิดมาได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
3.ปลอดภัย(Safety) : - มีโอกาสเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัย - มีสิทธิที่จะได้รับบริการทางการแพทย์ที่ทำให้มีความปลอดภัยในการตั้งครรภ์ - มีชีวิตทางเพศที่ปลอดภัย
แนวคิดเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์
สภาพสังคม :: ครอบครัวเดี่ยว การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธุ์ในครอบลดลง ช่องว่างระหว่างรายได้
ปัญหาสังคมและการสาธารสุข - การเพิ่มขึ้นของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การแท้ง โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ มะเร็งปากมดลูก
14 กันยายน 2553 มีนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่1 พ.ศ.2553-2557 ( ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย) จัดทำเพื่อให้เกิดภาคีเครือข่าย ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน ีส่วนร่วมพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น
การมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยก่อนวัยอันควร - การมีคู่นอนหลายคน - การไม่ใช้ถุงยางอนามัย เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ HIV ตั้งครรภ์
นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่2 พ.ศ.2560-2569
การส่งเสริมการเกิดคุณภาพ ;
สนับสนุนให้การเกิดทุกรายมีการวางแผน นำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่1 ;
แก้ไขและผลักดันให้กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและยุทธศาสตร์ให้เอื้อต่อการเกิดคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่2 ;
พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข
ระยะก่อนสมรส ;
ตัวชี้วัด
1.อัตราการคุมกำเนิด 2.ร้อยละความต้องการที่ยังไม่สัมฤทธิ์ในด้านการวางแผนครอบครัว 3.ร้อยละของหญิงหลังคลอดที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนลดลง 4.ร้อยละของคู่สมรสที่ได้รับการตรวจสุขภาพก่อนสมรสและก่อนตั้งครรภ์สูงขึ้น 5.หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดที่มีกรดโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง อวัยวะครบ NTD ปากแหว่ง เพดานโหว่
ระยะตั้งครรภ์
ตัวชี้วัด
1.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 wk. 2.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์อย่างน้อย 1 ครั้ง 3.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง 4.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อHIV 5.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อHIV ได้รับยาต้านไวรัสป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก 6.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดระหว่างตั้งครรภ์ลดลง 7.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 8.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็เสริมไอโอดีน เหล็ก โฟลิก 9.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย 10.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโรมระหว่างตั้งครรภ์
ระยะคลอด
ตัวชี้วัด
-1.อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19ปี 2.อัตาาส่วนการตายารดา 3.อัตราการตายทารก 4.ร้อยละของมารดาที่เสียชีวิตจากสาเหตุที่ป้องกันได้ 5.อัตราทารกมีความพิการแต่กำเนิด 6.ร้อยละของทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจน 7.ร้อยละของทารกที่คลอดก่อนกำเนิด 8.ร้อยละของทารกแรกคลอดที่น้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม 9.ร้อยละของห้องคลอดคุณภาพ
ระยะหลังคลอด
ตัวชี้วัด
1.ร้อยละของเด็ก 0-5ปี มีพัฒนาการสมวัย 2.ร้อยละของเด็กต่ำกว่า 5ปี ได้รับวัคซีนตามวัย 3.ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 6เดือน ที่กินนมแม่อย่างเดียว 4.ร้อยละของเด็กอายุ 0-5ปี มีภาวะเตี้ย 5.ร้อยของเด็ก 0-5ปี มีภาวะผอม 6.ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 7. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 8.ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สมส่วน 9.ร้อยละของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ลดลง 10.ร้อยละของหญิงอายุน้อยกว่า 20ปี ที่ได้รับบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีสมัยใหม่หลังคลอด 3เดือน 11.ร้อยละของหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี หลังคลอดหรือหลังแท้ง ได้รับการฝังยาคุมกึ่งถาวร 12.ร้อยของบริการ Well child clinic คุณภาพ 13.ร้อยละของเด็ก 0-5ปี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคฟันผุ
ยุทธศาสตร์ที่3
: การพัฒนาระบบจัดสวัสดิการสังคม เพื่อเอื้อให้ครอบครัวพร้อมจะมีบุตร รวมทั้งการดูแลตั้งแต่ระยะก่อนการสมรส ก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
ยุทธศาสตร์ที่4
; การพัฒนาระบบสารสนเทศ องค์ความรู้ที่ทันสมัย เชื่อถือได้
ยุทธศาสตร์ที่5
; การสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินการ เพื่อให้มีกลไกการทำงานในทุกระดับ ในการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี
ปัญหาด้านการตั้งครรภ์ การคลอด แท้ง - โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ การติดเชื้อ HIV ง่ายกว่าเพศชาย ภาวะแทรกซ้อนมากกว่า - ระยะยาวเกิดการอักเสบในระบบสืบพันธุ์ - ถ่ายทอดโรคไปสู่ทารก
ขอบเขตงานอนามัยการเจริญพันธุ์
1.การวางแผนครอบครัว ;
สนับให้คนไทยมีขนาดครอบครัวที่เหมาะสม
2.งานอนามัยแม่และเด็ก ;
เพื่อดูแลสุขภาพของสตรีก่อน ระหว่าง และหลังตั้งครรภ์ ให้มีการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย
3.เอดส์ ;
ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
4.มะเร็งระบบสืบพันธุ์
; เฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรค ให้ความรู้และให้บริการตรวจวินิจฉัย
5.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ;
ควบคุม ป้องกัน รักษา
6.การแท้งและภาวะแทรกซ้อน ;
ป้องกันการแท้งให้มีอัตราลดลง และรักษา
7.เพศศึกษา ;
สนับสนุนการให้คำปรึกษา และเผยแพร่ความรู้เรื่องเพศ
8.อนามัยวัยรุ่น ;
ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ การมีเพศสัมพันธุ์อย่างปลอดภัย
1 more item...
การส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ให้คำปรึกษาก่อนสมรสและก่อนการตั้งครรภ์
ให้ยการดูแลสุขภาพวัยรุ่นและเยาวชน
รับฝากครรภ์ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง ตรวจหลังคลอด ให้คำแนะนำการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ให้บริการคุมกำเนิด
บริการดูแลรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่แท้งบุตร
โรงพยาบาลชุมชน
รับฝากครรภ์ ดูแลการคลอด ตรวจหลังคลอด
ให้บริการคุมกำเนิดวิธีที่ต้องใช้แพทย์ พยาบาลที่ได้รับการอบรมแล้ว เช่น การฝั่งยาคุม การใส่ห่วง
ทดสอบการตั้งครรภ์และให้คำปรึกษาทั้งที่ตั้งครรภ์และไม่ตั้งครรภ์
ให้คำปรึกษาเรื่องมีบุตรยาก
ตรวจหา ให้การวินิจฉัยและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
โรงพยาบาลจังหวัด/โรงพยาบาลศูนย์
เพิ่มเติมจากโรงพยาบาลชุมชน
ให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เน้นผู้เป็นแม่
ให้การดูแลผู้ที่แท้งบุตร
ให้การดูแลรักษาผู้ที่มีการอักเสบ ติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์
ตรวจหา ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์
คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดูแลรักษาเบื้องต้น ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ
การให้คำปรึกษาก่อนสมรสและก่อนตั้งครรภ์
องค์ประกอบของการดูแลก่อนการสมรส
การประเมินภาวะเสี่ยง
การประเมินประวัติสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ ; ความผิดปกติของมดลูกที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ มดลูกมีผนังกั้น มีก้อนในโพรงมดลูก ; ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ โรคเบาหวาน ; โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ; ประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติ ; ประวัติการคลอดผิดปกติ
การประเมินประวัติครอบครัว ; โรคทางพัธุกรรม ดาวซินโดรม ธาลัสซีเมีย
สอบประวัติโรคทางพันธุกรรม
เป็นพาหะความผิดปกติทางโครโมโซม - รับรู้ว่าตนเองมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ - มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง - อายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป - มีประวัติการแท้ง - มีบุตรที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมมาก่อน - ประวัติทารกตายในครรภ์ - ประวัติทารกปัญญาอ่อน/มีความผิดปกติ
การประเมินการเจ็บป่วย
โรคเบาหวาน -การควบคุมระดับน้ำตาลก่อนตั้งครรภ์ -ความพิการของทารกแต่กำเนิดลดลง
โรคความดันในปอดสูง - เสี่ยงถึงตาย - คุมกำเนิด
โรคขาดโปรตีน PKU - ทารกพิการแต่กำเนิด - สติปัญญาต่ำ - ให่้การรักษาป้องกันความผิดปกติ
1 more item...
ใช้ลิ้นหัวใจเทียม ; ใช้ยาCaumadin heparin ยาสามารถผ่านรกได้ ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด
1 more item...
โรคลมชัก - ทารกพิการแต่กำเนิด - ทราบก่อนตั้งครรภ์ - ความพิการลดลง
การประเมินภาวะโภชนาการ ;ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI ประวัติทางโภชนาการ
การประเมินภาวะเศรษฐกิจและสังคม อาชีพและวิถีการดำเนินชีวิต
ภาวะแวดล้อมที่ทำงาน ; สารตะกั่วในเลือดสูงเกินกว่า 30 ug/100ml. ทำให้ทารกเกิดความผิดปกติ / แท้ง อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 C ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อระบบประสาท ; การดื่มสุรา ทำให้เกิด fetal alcohol syndrome ; การสูบบุหรี่ ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย คลอดก่อนกำหนด แท้ง ทารกตายในครรภ์ ; ยาเสพติด โคเคน ฝิ่น กัญชา น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย แท้ง คลอดก่อนกำหนด ตายในครรภ์
ให้คำแนะนำหลีกเลี่ยงสารเคมีและสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย