Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Tonsillitis ต่อมทอนซิลอักเสบ - Coggle Diagram
Tonsillitis
ต่อมทอนซิลอักเสบ
พยาธิสภาพ
ต่อมทอนซิล (tonsils) เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ ประเภทต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อม มีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด ต่อมทอนซิลยังพบได้หลายตำแหน่ง ต่อมที่เราเห็น จะอยู่ด้านข้างของช่องปาก มีชื่อเรียกว่า พาลาทีนทอนซิล (palatine tonsil) นอกจากนี้ ต่อมทอนซิลยังพบได้บริเวณโคนลิ้น (lingual tonsil) และช่องหลังโพรงจมูก (adenoid tonsil)
ทอนซิลอักเสบ เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิล ผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ
โดยเฉพาะเวลากลืนอาหาร จะเจ็บมาก โรคทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โรคทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ในเด็กก่อนวัยเรียน มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสและติดต่อกันได้ง่าย เพราะไม่รู้จัก การป้องกัน ส่วนโรคทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ในเด็กโตและผู้ใหญ่มักจะเกิดจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย
อาการและอาการแสดง
เจ็บคอ กลืน/ดื่มเจ็บ กดเจ็บบริเวณคอตรงตำแหน่งของต่อมทอนซิล มีกลิ่นปาก
มีไข้ได้ทั้งไข้สูง หนาวสั่น หรือไข้ต่ำ ขึ้นกับชนิดของเชื้อโรคเช่น ติดเชื้อไวรัสไข้สูงกว่าจากติดเชื้อแบคทีเรีย
ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อาจมีตาแดง
คัดจมูก มีน้ำมูกแต่ไม่มาก น้ำมูกมักใส
อาจร่วมกับปวดหู เพราะการอักเสบของคอมักส่งผลถึงการอักเสบของหูเพราะเป็นอวัยวะที่ติดต่อถึงกันได้จากหูชั้นกลางมีท่อซึ่งเชื่อมต่อกับลำคอ
ต่อมทอนซิลอาจโตเล็กน้อยหรือโตมาก มักโตทั้งสองข้าง แดง อาจมีสารคัดหลั่งสีเหลืองๆปกคลุมหรือมีจุดขาวๆเหลืองๆคล้ายหนองกระจายทั่วไป
อาจมีต่อมน้ำเหลืองด้านหน้าลำคอส่วนบนโตทั้งสองข้างคลำได้และเจ็บเมื่อติดเชื้อแบค ทีเรีย แต่ถ้าจากเชื้อไวรัสมักเป็นต่อมน้ำเหลืองด้านหลังลำคอใกล้กกหู โต คลำได้ แต่จะมีขนาดเล็กกว่ามากจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Beta hemolytic streptococcus group A, Hemophilus influenza และ Staphylococcus aureus อาจพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น Adeno virus, Ebstein-Barr virus เป็นต้น ในรายที่มีการอักเสบเรื้อรังมักเกิดตามหลังการอักเสบติดเชื้อของอวัยละข้างเคียง เช่น ไซนัสอักเสบ ฟันผุ เป็นต้น
การวินิจฉัยโรค
จากประวัติมีอาการเจ็บคอมาก กลืนอาหารแล้วเจ็บมากขึ้น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตกดเจ็บ
จากการตรวจจะพบต่อมทอนซิลแดงและโตมีหนอง จากการตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ ส่งหนองเพาะเชื้อมักพบเชื้อแบคทีเรีย
การรักษา
ในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีต่อมทอนซิลโตมาก แพทย์อาจพิจารณาทำผ่าตัดเอาทอนซิลออก (Tonsillectomy) ซึ่งจะพิจารณาจาก
1) ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยๆ ประมาณปีละ 4-5 ครั้งขั้นไป
2) เคยมีฝีที่ต่อมทอนซิลหรือต่อมทอนซิลโตข้างเดียว
3) มีปัญหาในการกลืนหรือพูดไม่ชัดหรือหายใจลำบากเนื่องจากต่อมทอนซิลโตมาก
ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน มักเริ่มด้วยยาฉีดในรายที่มีอาการรุนแรง เมื่อมีอาการดีขึ้นเปลี่ยนเป็นยารับประทาน ในรายที่แพ้เพนิซิลลิน ควรให้อิริโทรมัยชินแทน อาจให้ยาแก้ปวดลดไข้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขั้น ให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะและสามารถไอออกได้ง่ายขึ้น แนะนำให้ผู้ป่วยใช้น้ำยากลั้วคอเพื่อล้างเอาหนองในคอออก
การพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายและลดการอักเสบของต่อมทอนซิล โดยให้ยาบรรเทาปวดลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาละลายเสมหะ ตามแผนการรักษาโดยแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะติดต่อกัน 7-10 วัน ตามแพทย์สั่ง แม้ว่าอาการต่างๆ จะหายไปแล้วก็ตาม
ดูแลให้ได้รับน้ำและอาหารเพียงพอ โดยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ดื่มน้ำมากๆ ดื่มน้ำหวานบ่อยๆ ดูแลให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้องงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองที่จะทำให้ไอมากขึ้น หรือทำให้อึดอัด หายใจไม่สะดวก
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไม่คลุกคลีกับผู้อื่น ใช้ผ้าปิดปากทุกครั้งที่ไอหรือจาม หลีกเลี่ยงการเข้าไปที่แออัด ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
วางกระเป๋าน้ำแข็งหรือ Ice collar ที่คอ ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อน ไม่ออกแรงมาก
ขจัดเสมหะและหนองในคอโดยให้กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ หรือน้ำยากลั้วคอบ่อยๆ แปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ ให้ยาละลายเสมหะ
ความหมาย
เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิลส่วน"คออักเสบ"(pharyngitis)มักใช้เรียกภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดพร้อมกันได้ ส่วนใหญ่แล้วโรคต่อมทอนซิลพบมากที่สุดในเด็กอายุก่อน10ปี เพราะหลัง10ปีไปแล้วต่อมทอนซิลจะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย แต่ในผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 20ปี ก็ยังเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบได้ ส่วนใหญ่มักจะไม่พบทอนซิลอักเสบในคนไข้วัยกลางคนไปแล้ว