Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เตียง33 Upper gastrointestinal bleeding ; UGIB - Coggle Diagram
เตียง33 Upper gastrointestinal bleeding ;
UGIB
พยาธิสภาพ
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน เกิดจากทางเดินอาหารอักเสบหรือเป็นแผล ตามปกติ ทางเดินอาหารจะมี mucosal barrier เพื่อป้องกันการย่อยตัวเอง(acid autodigestion) เมื่อมีการหลั่งกรด โดยมี prostaglandin เป็นตัวช่วยป้องกัน แต่ถ้ากลไกการป้องกันล้มเหลวหรือขาดความสมดุล จะทำให้ทางเดิน อาหารอักเสบ มีการทำลายของ mucosa ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดเล็กๆ (small vessels) ทำให้เกิด การบวม เลือดออก และรอยถลอก เลือดที่ออกมาจะทำปฏิกิริยากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร จึงทำให้เลือด เป็นสีดำ ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดเก่า และถ่ายดำ
เลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนต้นอาจเกิดจากแผลที่หลอดอาหาร ส่วนปลายกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม หรือที่รูเปิดสู่ลำไส้เล็ก ส่วนเจจูนัม แผลส่วนใหญ่จะอยู่ทางผนังด้านหลัง ส่วนด้านหน้าของ กระเพาะอาหารและดูโอดีนัมมีหลอดเลือกเส้นใหญ่น้อย หลอดเลือดมัก มีขนาดเล็กกว่าผนังด้านหลัง แผลเปปติกจะมีเลือดออกจะต้องเป็นแผลลึกถึงชั้นชิโรชา (Serosa) เพราะเป็นชั้นเยื่อบุที่มีหลอดเลือดกระจายตัวมาหล่อเลี้ยงผนังกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดเลือดฉีดขาด การมีเลือด ออกมากหรือน้อยขึ้นกับความกว้างของแผล
มีถ่ายอุจจาระดำ (Melena) อาเจียนเป็นเลือด (Hematemesis) หรือมีเลือดออกอีก ผู้ป่วยจะมีอาการแสดง ของการสูญเสียเลือดอย่างรุนแรงและหมดสติ เนื่องจาก ปริมาตรเลือดในร่างกายน้อยลง ทําให้ปริมาตรเลือดที่ออกจาก หัวใจลดน้อยลง
สาเหตุ
โรคตับเรื้อรัง
ความผิดปกติของเยื่อเมือกที่บุตา ผนังกระเพาะอาหาร
การขับหลั่งกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากเกินไป
การรับประทานยาแก้ปวดหรือยาเสตียรอยด์
พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
ความเครียด
อาการ
ปวดท้อง
อาเจียนเป็นเลือดสด (Hematemesis) ถ่ายอุจาระเป็นสีดำ (Melena)
อ่อนเพลีย
เหงื่อออก
ปวดศีรษะ
หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม
มือเท้าเย็น ซีด
หายใจเร็ว
หมดสติ
วินิจฉัย
ซักประวัติถึงโรคหรืออาการต่างๆประวัติการใช้ยาแก้ปวด
การตรวจร่างกายควรให้ความสําคัญกับอาการแสดงของภาวะ hypovolemia ได้แก่ ความดันโลหิต ชีพจรเร็ว
การใส่สายสวนล้างกระเพาะเพื่อดูลักษณะของ gastric content บอกความรุนแรงของภาวะเลือดออกได้และเพื่อทํากระเพาะ อาหารให้ว่างเตรียมพร้อมสําหรับการส่องกล้องทางเดินอาหาร
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สําคัญคือ (HCT), (Ho), (BUN) และ ( Cr) ในเลือดช่วยประเมินการสูญเสียเลือดการตรวจ (PT), (PTT), (INR) เพื่อดูความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ( LFT) เพื่อดูความผิดปกติของตับช่วยบอกภาวะตับแข็ง stool occult blood จะพบเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ
การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาตำแหน่งของจุดเลือดออก ได้แก่ การส่อง กล้องทางเดินอาหารส่วนบน (esophagogastroduodenoscopy) ungms barium enema การรักษา
ภาวะแทรกซ้อน
เกิดความอ่อนเพลีย หายใจลำบาก ภาวะแทรกซ้อน อาจทําให้เกิดเลือดออกอย่างช้า ๆ หรือเร็วมากจนทําให้เกิดอาการ ช็อก อาการซีด ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก และนำไปสู่การขาดเม็ด เลือดแดง
การรักษา
การส่องกล้อง Endoscopic therapy
การหยุดเลือดออกทางเดินอาหาร
Non bleeding visible vessel: ใช้ความร้อน (Thermal coagulation) หรือตัวหนีบ (Hemoclips) เพื่อหยุดเลือด
Spurting or oozing: ฉีดด้วย Adrenaline เพื่อหยุดเลือดชั่วคราว จาก นั้นใช้ความร้อน (Thermal coagulation) หรือตัวหนีบ (Hemoclips) เพื่อ หยุดเลือด
Clot adherent: ฉีดด้วย Adrenaline แล้วนำลิ่มเลือดออกจากแผล หลังจากนั้นรักษาตามสิ่งที่พบใต้ลิ่มเลือดนั้นโดยถ้าพบตอเส้นเลือดหรือเลือดซึมออกจากแผลให้ใช้ความร้อน (Thermal coagulation) หรือตัวหนีบ (Hemoclips) เพื่อหยุดเลือด
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยชายไทย วัยผู้ใหญ่ อายุ 52 ปี
อาการสำคัญ
รับ refer จากโรงพยาบาลชัยบาดาลด้วย ถ่ายอุจจาระสีดำ 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน
รับ refer จากโรงพยาบาลชัยบาดาลด้วย 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล หน้ามืด ล้ม ไม่หมดสติ อาเจียนเป็นเลือดประมาณ 2 กระโถน ไม่มีถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลชัยบาดาล แพทย์วินิจฉัยเป็น UGIB ให้การพยาบาลใส่ NG วันนี้ NG เป็น Bleed สด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ 1 ครั้ง จึง refer มาที่โรงพยาบาลพระนารายณ์
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ความดันโลหิตต่ำ ขาดยาประมาณ 1 ปี
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เสี่ยงต่อภาวะ Hypovolamic shock
ข้อมูลสนับสนุน
S : "หน้ามืด อาเจียนเป็นเลือด 2 กระโถน"
O : ปลายมือ ปลายเท้า เปลือกตา ซีด
O : Capillary refill 2 วินาที
O : RBC count = 2.35 cell/cu.m.m
Hb = 9.3 gl/d
Hct = 26.5 %
PT = 10.5 วินาที
PTT = 21.5 วินาที
จุดมุ่งหมาย
ไม่เกิดภาวะHypovolamic shock
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อก ได้แก่ ปลายมือปลายเท้าซีด เปลือกตาซีด หน้ามืด หายใจเร็ว ปัสสาวะออกน้อย
Capillary refill 2 นาที
อัตราการหายใจ 60-100 ครั้ง/นาที
กิจกรรมทางการพยาบาล
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะช็อก ได้แก่ปลายมือปลายเท้าซีด เปลือกตาซีด หน้ามืด หายใจเร็ว ปัสสาวะออกน้อย
ให้สารน้ำ 0.9% NSS 1000 ml IV rate 100 ml/hr. ตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินสัญญาณชีพทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะอัตราการหายใจ
งดน้ำงดอาหารเพื่อลดการทำงานของทางเดินอาหาร
บันทึกสารน้ำเข้า-ออกของร่างกาย ทุก 6 ชั่วโมง
เจาะ Hct ทุก 6 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับยา Octreotide 5 amp + 5% DW 500 ml ตามแผรการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ได้รับยา Transamin 500 mg vein q 8 hr. ตามแผนการรักษาของแพทย์