Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chronic kidney disease (CKD) โรคไตเรื้อรัง - Coggle Diagram
Chronic kidney disease (CKD)
โรคไตเรื้อรัง
หน้าที่ของไต
สร้างปัสสาวะซึ่งจะช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ
ไตทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่างกาย
ยูเรียมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของหน่วยไต เรียกว่า countercurrent system ช่วยในการดูดซึมกลับของสารน้ำและเกลือแร่ที่อยู่ในหน่วยไต
ไตทำหน้าที่กรองครีอะตินีน โดยไม่มีการดูดกลับ ดังนั้นถ้าการทำหน้าที่กรองของไตเสียไปโดยไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จะสามารถตรวจพบระดับของครีอะตินีนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
กรดยูริกจะถูกขับออกมาทางไต ถ้าหน้าที่ของไตเสียไป ก็จะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นได้
ไตทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายน้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
ไตทำหน้าที่สร้างสารเรนิน (renin) ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ระดับคงที่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆเพียงพอ
ไตทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายมีปริมาณเลือดเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอย่างเพียงพอ
ไตทำหน้าที่สร้าง active form ของวิตามินดี ซึ่งมีบทบาทควบคุมระดับเกลือแร่แคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง
สาเหตุ
สาเหตุก่อนไต (Pre - renal causes)เกิดเนื่องจากการลดจำนวนเลือดไปเลี้ยงที่ไตหรือ มีพยาธิสภาพที่อยู่ก่อนถึงเนื้อไต ได้แก่ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำหรือเลือดลดลงทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง
สาเหตุนอกไต (Post - renal causes)เกิดเนื่องจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กรวยไตถึง
ท่อปัสสาวะ มักมีสาเหตุมาจากนิ่ว เนื้องอก ลิ่มเลือด
สาเหตุที่ไต (Intra - renal causes)เกิดเนื่องจากมีพยาธิสภาพที่เนื้อไต อาจเป็นหลอดเลือด Glomerulus หรือหลอดเลือดฝอยที่ไต การได้รับสารที่ทำลายไตImmune process,Autoimmune,Hypersensitivity
ระยะของโรค
ระยะที่ 1 มีการทำลายไตเกิดขึ้น แต่อัตราการกรองยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ EGFR> 90
การรักษา
วินิจฉัยให้เร็ว , รักษาแบบชะลอการเสื่อมของไต , ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
ระยะที่ 2 มีการว่าลายไตร่วมกับอัตราการกรองลดลงเล็กน้อย
EGFR 60-89
การรักษา
รักษาแบบชะลอการเสื่อมของไต
ระยะที่ 3 มีการลดลงของอัตราการกรองของไตปานกลาง EGFR 30-59
การรักษา
ระวังและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ระยะที่ 4 มีการลดลงของอัตราการกรองของไตรุนแรง
EGFR 15-29
การรักษา
เริ่มแนะนำเรื่องการบำบัดทดแทนไต
ระยะที่ 5 มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease: ESRD) EGFR <1
การรักษา
ให้การบำบัดทดแทนไตตามความเหมาะสม , แนะนำปลูกถ่ายไตถ้าไม่มีข้อห้าม ,
รักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด
พยาธิสภาพ
เกิดจากการเสื่อมของไตและการถูกทำลายของหน่วยไตมีผลทำให้การกรอง
ทั้งหมดลดลงและการขับถ่ายของเสียลดลง ปริมาณ Creatinine และ BUN ในเลือดสูงขึ้นหน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมากผิดปกติเพื่อกรองของเสียที่มีมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะ ปัสสาวะถูกขับออกไปต่อเนื่องหน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆทำให้สูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกายเมื่ออัตราการกรองของไตน้อยกว่า 10-20 มล. / นาที
ส่งผลให้เกิดการคั่งของยูเรียในร่างกายเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุดดังนั้นเมื่อเข้าสู่ระยะ
ดังกล่าวผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาด้วยการบ่าตทดแทนได้
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative Treatment):
การรักษาด้วยยา , การจัดการ กับอาหาร , น้ำ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้การเสื่อมของไตมากขึ้น เพื่อชะลอการ เสื่อมของไต และคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของไตที่เหลืออยู่ในนานที่สุด
การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต (Renal replacement therapy) : Continuous ambulatory peritoneal dialysis : CAPD ,
Hemodialysis : HD , Kidney transplantation : KT
การจัดภาวะสมดุล โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
อาหารที่มีโปรตีนต่ำเพื่อชะลอการเสื่อมของไต โดยกำหนดระดับอาหารโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน
1.1 ผู้ป่วยที่ eGFR < 30 ml/min/1.73m2 (ระยะที่4-5) ควรได้รับโปรตีน 0.8 กรัม/กิโลกรัม
1.2 ควรได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพสูง (high biological value protein) หรือ โปรตีนที่มี
กรดอะมิโนจำเป็น ได้แก่ โปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือไข่ขาว อย่างน้อยร้อยละ 60
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับ พลังงานที่เพียงพอจากอาหาร
2.1 ถ้าอายุ< 60 ปี ควรได้พลังงาน 35 Kcal/kg /วัน)
2.2 ถ้าอายุ 260ปี ควรได้รับพลังงาน 30-35 Kcal/kg ของน้ำหนักตัวที่ควรเป็น (kg)/วัน
ดูแลรักษาให้มีระดับ potassium ในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ : ในกรณีที่มีระดับ potassium ในเลือดสูง ควรหาสาเหตุ เช่น จากการใช้ยากลุ่ม ACEIs หรือยาขับปัสสาวะที่ลดการขับสาร potassium และควรรับประทานอาหารที่มี potassium ต่ำ
รายที่มีความดัน โลหิตสูงหรือมีอาการบวม ควรรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของ sodium < 90 mmol/day (2,000 mg ของ โซเดียม)
ควรชั่งน้ำหนัก คำนวณ BMI วัด BP และตรวจอาการบวมทุกครั้ง ที่มาพบแพทย์
การตรวจระดับ albumin ในเลือดทุก 3-6 เดือน โดย albumin ควร > 3.5 g/dL
การประเมินปริมาณโปรตีนที่ผู้ป่วยรับประทาน (dietary protein intake) ทุก 3-6 เดือน
โดยวิธีเก็บปัสสาวะ คำนวณหาค่า normalized protein equivalent of nitrogen appearance (nPNA)
ข้อวินิจฉัยพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากไม่สามารถหายใจเองได้
ข้อมูลสนับสนุน
O: BT = 38.5 องศาเซลเซียส ( 13 พ.ค. 65 )
O : หายใจหอบเหนื่อย
O : ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ
วัตถุประสงค์
ไม่เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาชีพทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับออกซิเจน mask with bag ตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลเรื่องปริมาณการให้ออกซิเจนที่เหมาะสม
จัดท่านอนศีรษะสูง 30-45 องศา
ลดการทำกิจกรรมบนเตียงที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อย
ดูแลเช็ดตัวลดไข้ เมื่อมีไข้
ดูแลให้ได้รับสารน้ำตามแผนการรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
อัตราการหายใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ อยู่ในช่วง 16-20 ครั้ง/นาที
อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกฑ์ปกติ อยู่ในช่วง 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
ความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้ว มากกว่า 90%
มีภาวะน้ำเกินเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ทำให้มีการคั่งของของเสียและน้ำ
ข้อมูลสนับสนุน
O : Creatinine. 4.35 mg/dl H
O : BUN 90 mg/dl H
O : Na 101 mmol/L L
วัตถุประสงค์
ไม่มีภาวะน้ำเกินและลดปริมาณของของเสียในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยได้รับน้ำในปริมาณที่แพทย์จำกัด
ไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดท่านอนศีรษะสูง 30-45 องศา และสังเกตอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
บันทึกสารน้ำเข้า - ออก ทุก 8 ชั่วโมง
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ
โอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
ข้อมูลสนับสนุน
O : ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลความสะอาดบริเวณที่ใส่สายสวนปัสสาวะเองได้
O : Neutrophil 92.9 % H
O : Lymphocyte 6.8 % L
วัตถุประสงค์
ไม่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถดูแลทำความสะอาดบริเวณสายสวนปัสสาวะได้
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลทำความสะอาดบริเวณรอบๆสายสวนปัสสาวะ
สังเกตลักษณะปริมาณและสีของปัสสาวะ
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออก ทุก 8 ชั่วโมง
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลสาย foley’catheter ให้อยู่ในระบบปิดโดยไม่ปลดข้อต่อระหว่างสายสวนปัสสาวะกับถุงรองรับน้ำปัสสาวะ
ดูแลถุงรองรับน้ำปัสสาวะให้อยู่ต่ำกว่ากระเพราะปัสสาวะเสมอ
เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุก 2-4 สัปดาห์
ใช้หลัก Aseptic technique ในการเทน้ำปัสสาวะทุกครั้ง
แบบแผนสุขภาพที่ผิดปกติ
แบบแผนที่ 1 การรับรู้และการดูแลสุขภาพ
ภาวะสุขภาพปีที่ผ่านมา : Old CVA , hypertension , CKD , Bed ridden
วิธีการรักษาสุขภาพและป้องกันโรค : ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
ภาวะสุขภาพครั้งนี้ : มีไข้สูง เกร็งกัดปากกัดลิ้น 30 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล
Dx : UTI sepsis , CKD
แบบแผนที่ 3 การขับถ่ายของเสีย
ลักษณะผิว : ผิวหนังแห้งเป็นขลุย
การขับถ่ายทางผิวหนัง : ไม่มีเหงื่อ
การขับถ่ายอุจจาระ : ไม่ขับถ่ายเลย
การขับถ่ายปัสสาวะ : ปัสสาวะออกน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร/นาที
แบบแผนที่ 4 กิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและออกกำลังกายได้ เนื่องจากเป็นผู้ป่วยติดเตียง
แบบแผนที่ 6 สติปัญญาและการรับรู้
Coma score E1V1M1