Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การอนามัยโรงเรียน (School Health) - Coggle Diagram
การอนามัยโรงเรียน (School Health)
ความหมายของการอนามัยโรงเรียน
การพัฒนาคุณภาพของเด็กวัย เรียน ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เป็นการนำไปสู่ การมีสุขภาพดี เพราะการมีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้สามารถศึกษาได้อย่างเต็มที่
ขอบเขตของการอนามัยโรงเรียน มี 4 ข้อ
1) ป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อภายในโรงเรียน
2) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ
4) การควบคุมโรคติดต่อโดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
เป้าหมายของการอนามัยโรงเรียน
คือการจัดโครงการจัดบริการสุขภาพใน โรงเรียนจะครอบคลุมกิจกรรมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษา และพื้นฟู สุขภาพ การที่ครอบครัว และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินโครงการจะท าให้เด็กได้รับการดูแล ต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ท าให้เด็กมีสุขภาพที่ดี
ความสำคัญของการอนามัยโรงเรียน
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ระบุว่า การจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มี จริยธรรมและวัฒนธรรมในการ ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์ของการให้บริการอนามัยโรงเรียน
1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเจ็บป่วยของเด็ก 2. เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดี และทักษะในการดูแลสุขภาพแก่นักเรียน
เพื่อจัดและดำเนินการโครงการอนามัยโรงเรียนที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ
เป็นการให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ปฐมพยาบาล การป้องกันอุบัติเหตุภายใน โรงเรียน
เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของนักเรียน
องค์ประกอบของการให้บริการอนามัยโรงเรียน
1) บริการอนามัยโรงเรียน (School Health Service)
2) สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (Healthful School Living)
3) สุขศึกษาในโรงเรียน (School Health Education)
4) ค ว าม สั มพั น ธ์ ร ะห ว่ างโรงเรีย น บ้ าน แ ล ะชุ ม ช น (School and Home Relationship)
การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการด าเนินงานอนามัยโรงเรียน
การดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนต้องประกอบด้วยการดูแลทั้ง 4 มิติ คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ภายในโรงเรียน
ดังนั้น การที่จะดูแลสุขภาพในโรงเรียน หรือระบบของโรงเรียน ต้องดูแลทั้ง ระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน บุคคล ได้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม คือการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อกับสุขภาพ รวมทั้งต้องมีการพยาบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อการดูแล สุขภาพ โดยการจัดสิ่งอ านวยให้เกิดกระบวนการหายด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด ดังนั้นการพยาบาลโดยใช้ ทฤษฎีของไนติงเกล จึงต้องค านึงถึง บุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล กระบวนการการพยาบาล ประกอบด้วย
) การประเมิน (Assessment) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection data)
2) วิเคราะห์ข้อมูล และวินิจฉัยปัญหา (Analyzing data and Diagnosis)
3) การวางแผนงาน (Planning)
4) การดำเนินงานตามแผนงาน
5) การประเมินผลงาน/โครงการ (Evaluation)
การทดสอบสายตา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจวัด คัดกรองความผิดปกติด้านการมองเห็น ของเด็กนักเรียน เพื่อที่จะได้แก้ไขและป้องกันภาวะผิดปกติของสายตาได้ทันท่วงที และ มีประโยชน์ต่อ การจัดที่นั่งในห้องเรียน
การเตรียมอุปกรณ์
แผ่นวัดสายตาแบบตัวเลข ( Snellen’s Chart) ส าหรับเด็กโตหรืออ่านหนังสือออก แล้ว และรูปตัวอี(E- chart ) ส าหรับเด็กเล็กหรือยังอ่านหนังสือไม่ออก เป็นเครื่องมือ วัดความสามารถในการมองเห็นว่า ปกติ หรือผิดปกติ
ที่ปิดตา (occluder)
แผ่นรูเข็ม (Pin hole) เป็นเครื่องมือแยกความสามารถในการมองเห็นที่ผิดปกติ นั้นว่า มีสาเหตุเกิดจากโรคตา เช่นกล้ามเนื้อรอบๆตาผิดปกติ ก้อนเนื้องอกในตา เป็นต้น หรือสายตาผิดปกติเช่น สายตาสั้น ยาว
ไม้ปลายแหลม สีทึบส าหรับชี้บรรทัดของแผ่นวัดสายตา
เทปวัดระยะทาง
กระดาษกาวส าหรับติดระยะทาง
ปากกาเมจิกเขียนระยะทาง
กระดาษแข็งหรืออุปกรณ์อื่นที่ตัดเป็นรูปตัว E
ไฟฉาย
การเตรียมสถานที่
แยกเด็กที่รอตรวจให้ห่างจากบริเวณที่ตรวจ
สถานที่ควรมีความยาวมากกว่า 6 เมตร หรือ 20 ฟุต
มีพื้นที่หรือแผ่นฝาที่เรียบทึบ
เลือกสถานที่ ที่มีแสงสว่างเข้าถึง ไม่มีแสงจ้าเกินไป ต้องเป็นผนังทึบ ไม่มีแสงลอดจาก ด้านหลังแผ่นวัดสายตา เพื่อป้องกันให้นักเรียนตาพร่ามัว
การติดแผ่นวัดสายตา
ความสูงของแผ่นวัดสายตา วัดจากพื้นในแนวดิ่ง ถึงแถวที่ 5 ของแผ่นวัดสายตา เท่ากับ ความสูงเฉลี่ยของเด็กนักเรียนที่สูงที่สุดของห้องและนักเรียนที่เตี้ยที่สุดของห้อง เช่น ถ้า นักเรียนคนที่สูงที่สุด สูง 100 เซนติเมตร และนักเรียนคนที่เตี้ยที่สุด สูง 80 เซนติเมตร จะต้องติดแผ่นวัดสายตาสูงจากพื้น เท่ากับ 100 /80 เท่ากับ 125 เซนติเมตร หรือ 1.25 เมตร เป็นต้น
ใช้เทปวัดระยะทางจากฝาผนังที่ติดแผ่นวัดสายตา โดยลากเส้นดิ่งถึงพื้น แล้ววัดพื้นที่ ต่อไปอีก 6 เมตร เขียนเลขก ากับแต่ละเมตร ว่า 1, 2, 3, 4, 5, 6 ตามลำดับ
ที่ระยะทางที่ยืน ณ จุด 6 เมตร อาจเขียนกรอบสี่เหลี่ยมไว้ให้นักเรียนยืน (ให้วางเท้า ในกรอบสี่เหลี่ยมที่วาดไว้)
หลักการ และขั้นตอนการวัดสายตาในเด็กวัยเรียน
วิธีวัดสายตา
1) ถ้านักเรียนสวมแว่นตา ให้ถอดแว่นสายตา วัดก่อน 1 ครั้ง แล้วบันทึกผลในช่อง “วัด สายตา ไม่สวมแว่น” ต่อมาให้นักเรียนสวมแว่น แล้ววัดอีก 1 ครั้ง เพื่อจะได้ทราบว่าแว่น สายตาของนักเรียนเหมาะสมกับสายตาหรือไม่ แล้วบันทึกลงในช่อง “วัดสายตา สวม แว่น”
2) นักเรียนยืนห่างแผ่นวัดสายตา 6 เมตร หรือ 20 ฟุต
3) วัดทีละข้าง โดยวัดข้างขวาก่อนเสมอ
4) ให้นักเรียนยืนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมที่เขียนไว้หรือด้านส้นเท้าชิดเส้น 6 เมตร
5) ใช้อุปกรณ์ปิดตาข้างซ้ายไว้ด้วยที่ปิดตา กรณีที่ใช้แผ่น E –Chart ให้นักเรียนหันแผ่น E – Chart ไปทิศทางเดียวกับ ตัว E ที่ผู้วัดชี้บนแผ่น E –Chart
6) ใช้อุปกรณ์ชี้ที่ตัวบนสุดก่อน ถ้ามองไม่เห็นบรรทัดบนสุด (60 เมตร) ให้เลื่อนมายืนส้นเท้า ชิดเส้นที่ระยะ 5 เมตร ถ้ายังมองไม่เห็นบรรทัดบนสุดให้เลื่อนเข้ามาที่ระยะ 4, 3, 2, 1 เมตร ตามลำดับ
7) ในการวัดสายตาแต่ละบรรทัด นักเรียนต้องอ่านตัวอักษรได้ถูกต้องเกินครึ่งหนึ่งของ บรรทัดนั้น
8) วัดตาข้างซ้าย ให้นักเรียนทำเช่นเดียวกันกับวัดตาข้างขวา
9) ถ้าค่า V.A. ผิดปกติ ต้องให้มองผ่าน Pin hole การใช้ Pinhole ในการวัด VA เราจะใช้ Pinhole ในการวัด VA ต่อเมื่อเราวัด VA ตาเปล่าแล้วได้ ค่าต่ ากว่า 20/40 ฟุต หรือ 6/12 เมตร สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาค่าที่ได้คือ V.A. with Pinhole (Monday Tip "Pinhole
การทดสอบการได้ยินอย่างง่าย
ตรวจการได้ยินมีหลายวิธี ดังนี้ - ทดสอบโดยใช้นิ้วหัวแม่มือถูกับนิ้วชี้ห่างจากหู 1 นิ้ว ถ้าไม่ได้ยินเสียงนิ้วถูกันหรือได้ยินไม่ ชัด อาจมีความผิดปกติหรือ
ให้นักเรียนยืนหันหลังให้ผู้ตรวจ ให้ห่างประมาณ 3 ก้าว ให้ผู้ตรวจเรียกชื่อนักเรียน หรือ ให้ทำตามคำสั่งด้วยเสียง ปกติ ถ้าได้ยินหรือทำตามคำสั่งได้แสดงว่าการได้ยินปกติ แต่ ต้องทดสอบในห้องเงียบ ให้นักเรียนเข้ามาทีละคน
ใช้เครื่องมือง่ายๆ เช่น กระดิ่งเล็ก ๆสั่นห่างจากหูเด็กประมาณ 1 ฟุต ท าทีละข้าง ถ้า ข้างใดไม่ได้ยิน ให้สงสัยว่าเป็นความผิดปกติของการได้ยินในหูข้างนั้น นักเรียนที่ตรวจ แล้วสงสัยว่ามีความผิดปกติ ควรส่งพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป
การตรวจสุขภาพร่างกาย 10 ท่า
วัตถุประสงค์ของการตรวจสุขภาพนักเรียน
เพื่อค้นหาปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนให้ทราบตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะจะได้ช่วยให้ เด็กได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องนอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายได้
การเตรียมนักเรียนก่อนตรวจร่างกายนักเรียน
เตรียมบัตรบันทึกสุขภาพ (สศ.3) ของ นักเรียนทุกคน 2. บอกวัตถุประสงค์การตรวจสุขภาพ และ สิ่งที่ต้องปฏิบัติ
แยกตรวจนักเรียนชาย-หญิง
ให้นักเรียนถอดถุงเท้า รองเท้า
ให้นักเรียนชายดึงเสื้ออกจากกางเกง ปลดกระดุมเสื้อทุกเม็ด ส่วนนักเรียน หญิงให้ ปลดกระดุมเสื้อเม็ดบน 1 เม็ด เพื่อสะดวกในการฟังปอดและหัวใจ
การเตรียมสถานที่สำหรับตรวจร่างกาย
ควรเลือกสถานที่ค่อนข้างมิดชิด
ควรมีแสงสว่างเพียงพอ ให้แสงเข้า ด้านหลังผู้ตรวจ
ควรมีอ่างล้างมือในห้องตรวจ
ห้องตรวจควรเงียบ ไม่พลุกพล่าน
ท่าตรวจร่างกาย 10 ท่า และสิ่งที่ควรสังเกตขณะตรวจร่างกาย
ท่าที่ 1 ยื่นมือไปข้างหน้าให้สุดแขนทั้งสองข้าง คว่ ามือ กางนิ้วทุกนิ้ว
สิ่งที่ควรสังเกต
เล็บยาวสกปรก - ผิวหนังบวม เป็นแผล ผื่น มีขี้ไคล
มีตุ่มเล็ก ๆ มีน้ าใส ๆ ตามง่ามมือ
ท่าที่ 2 ทำท่าต่อจากท่าที่ 1 คือพลิกมือ หงายมือ
ท่าที่ 3งอแขนพับข้อศอก ใช้นิ้วแตะเปลือกตาด้านล่าง เบาๆ ดึงเปลือกตาด้านล่างพร้อมกับเหลือกตา ขึ้นและลงแล้วจึงกรอกตาไปด้านข้างขวาและ ซ้าย
ท่าที่ 4 ใช้มือทั้งสองข้าง ดึงคอเสื้อออกให้ก ว้าง ภายหลังที่ปลดกระดุมหน้าอกเสื้อแล้วหมุนตัว ซ้ายขวาเล็กน้อยเพื่อจะได้เห็นรอบ ๆ บริเวณ คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ท่าที่ 5 สำหรับนักเรียนหญิง ใช้มือขวาเปิดผมไปทัดไว้ ที่ด้านหลังหูขวา หันหน้าไปทางซ้าย ส่วน นักเรียนชายหันหน้าไปทางซ้ายเท่านั้น
ท่าที่ 6 ในท่าเดียวกันนักเรียนหญิง ใช้มือซ้ายเปิดผม ไปทัดไว้ที่ด้านหลังหูซ้าย หันหน้าไปทางขวา ส่วนนักเรียนชายให้หันหน้าไปทางขวาเท่านั้น
ท่าที่ 7 ให้กัดฟันและยิ้มกว้างให้เห็นเหงือกเหนือฟันบน และเห็นฟันล่างให้เต็มที่
ท่าที่ 8 ให้อ้าปากกว้างแลบลิ้นยาว พร้อมทั้งร้อง “อา” ให้ศีรษะเอนไปข้างหลังเล็กน้อย
ท่าที่ 9 สไหรับนักเรียนหญิง ให้แยกเท้าทั้งสองข้าง ห่างกัน 1 ฟุต ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับกระโปรงดึงขึ้น เหนือเข่าทั้งสองข้าง ส่วนนักเรียนชายเพียงแยก เท้าทั้งสองข้างให้ห่างกัน 1 ฟุต เช่นกัน
ท่าที่ 10 นักเรียนหญิง ชาย อยู่ในท่าที่ 9 ให้กลับหลัง หัน สังเกตด้านหลังแล้วให้เดินไปข้างหน้า ประมาณ 4-5 ก้าว แล้วเดินกลับหันเข้าหา ผู้ตรวจ
การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน
จุดมุ่งหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มีดังนี้
ป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่อเกิดขึ้นในโรงเรียน
เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อไปยังเด็กคนอื่น หรือชุมชนในกรณีมีการ ระบาดของโรค
เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันโรคแก่นักเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน
วิธีการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน มีดังนี้
ตรวจสุขภาพนักเรียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. จัดให้มีการให้ภูมิคุ้มกัน ในโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ของ กรมควบคุมโรคติดต่อ 3. ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้มและสุขาภิบาลอาหาร 4. เฝ้าระวังโรคติดต่อโดยการสังเกตอาการของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ถ้า ผิดปกติให้รีบรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5. บริการให้สุขศึกษาในโรงเรียน ซึ่งเป็นวิธีการที่ดี อาจท าโดยวิธีรายบุคคล รายกลุ่ม หรือเสียงตามสายในโรงเรียนหรือในชุมชน
เมื่อมีโรคติดต่อ หรือโรคระบาด ให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
ศึกษาการเกิดโรคเชื้อโรค ชนิด ลักษณะผู้รับเชื้อโรค ความต้านทานโรค ภาวะ โภชนาการ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม
ศึกษาวิธีการที่เชื้อโรคแพร่กระจายทั้งทางตรงและทางอ้อม (Direct transmission and Indirect transmission)
นักเรียนที่ป่วยได้รับการรักษาและหยุดพักจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อของโรค ผู้สัมผัส โรคแยกไว้ดูอาการตั้งแต่วันที่ใกล้ชิดผู้ป่วยจนกว่าจะพ้นระยะพักตัวของโรค 4. การดำเนินการทางระบาดวิทยา
ติดตามสืบสวนโรค
เก็บตัวอย่างส่งตรวจ
การแจ้งเมื่อมีโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความโรคติดต่ออันตราย 4 โรค คืออหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลืองและกาฬโรค
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และกลวิธีในการด าเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
"โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คือ โรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ที่จะเป็นสถานที่ที่มีสุขภาพ อนามัยที่ดี เพื่อการอาศัย ศึกษา และทำงาน
กลวิธีในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ อาศัยกลวิธีหลักที่ส าคัญ 4 ประการตามแนวคิด ของกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) ได้แก่
การชี้แนะ (Advocacy) เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารแก่สาธารณชน เพื่อให้เกิดความ ตระหนักในสังคมเกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ
การสร้างหุ้นส่วนและภาคี (Partnerships and Alliances) เป็นการประสาน ความคิดและความร่วมมือระหว่างทุกหน่วยงานของสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับอำเภอ และระดับ จังหวัด
การสร้างเสริมความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น (Strengthening local capacity)
การวิจัย ติดตาม และประเมินผล (Research, monitoring and evaluation)
ประโยชน์ของการเข้าร่วมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1) โรงเรียนได้รับแนวทางการส่งเสริมสุขภาพพร้อมคู่มือการด าเนินงานโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพ เกณฑ์มาตรฐานการประเมินและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
2) นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ซึ้งจะปลูกฝังให้เกิดการปฏิบัติ ตน จะน าไปสู่การมีสุขภาพดีตั้งแต่เด็กควบคู่ไปกับการศึกษา เพื่อให้เด็ก “ เก่ง ดี มี สุข ”
3) ครู ผู้ปกครอง และสมาชิกของชุมชนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเพื่อนำไป ปฏิบัติให้เกิดทักษะการดูแลสุขภาพอนามัย
4) ตัวชี้วัดของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดการประเมินคุณภาพ
5) โรงเรียนมีโอกาสได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากชุมชนและองค์การต่าง ๆเพิ่มขึ้น