Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยชายไทยวัยผู้ใหญ่เตียง 4 Prepyloric ulcer - Coggle Diagram
ผู้ป่วยชายไทยวัยผู้ใหญ่เตียง 4
Prepyloric ulcer
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยชายไทยวัยผู้ใหญ่ อายุ50ปี เตียง 4 สถานภาพสมรส คู่ เชื้อชาติ ไทย สัญชาติไทย
ศาสนาพุทธ ระดับการศึกษาประถมศึกษา 6 อาชีพขับรถบรรทุก ที่อยู่ปัจจุบัน 47/4 หมู่ 6 ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
อาการสำคัญ ปวดทั่วท้อง จุกใต้ลิ้นปี่ 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน 2เดือนก่อนรับประทานอาหารแล้วท้องอืด 1สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการท้องอืดมากขึ้นซื้อยาลดกรดรับประทานเอง 4ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ปวดทั่วท้อง จุกใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับถ่ายเหลว 2 ครั้ง ไม่ได้เข้ารับการรักษาและซื้อยารับประทานเอง
30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล ปวดท้องมากขึ้น ร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระพุทธบาท
วินิจฉัยแรกรับ hollow viscus organ perforation
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ปฏิเสธการเจ็บป่วยในอดีต
วันที่รับไว้ในความดูแล วันที่ 17 พฤษภาคม 2565
วันที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล วันที่ 11 พฤษภาคม 2565
วินิฉัยโรคปัจจุบัน Prepyloric ulcer
แบบแผนสุขภาพ
แบบแผนที่1การรับรู้และการดูแลสุขภาพ
การใช้ยาและสิ่งเสพติด: สูบบุหรี่วันละ 20 มวนเป็นระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
ภาวะสุขภาพปีที่ผ่านมา: 2เดือนก่อนรับประทานอาหารแล้วท้องอืด 1สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการท้องอืดมากขึ้นซื้อยาลดกรดรับประทานเอง 4ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ปวดทั่วท้อง จุกใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับถ่ายเหลว 2 ครั้ง ไม่ได้เข้ารับการรักษาและซื้อยารับประทานเอง
30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล ปวดท้องมากขึ้น ร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน
ภาวะสุขภาพครั้งนี้ : ปวดทั่วท้อง จุกใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับถ่ายเหลว 2 ครั้ง
สาเหตุของการเจ็บป่วยครั้งนี้: ผู้ป่วยรับประทานอาหารเผ็ด รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา และสูบบุหรี่ปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน (10ปี)
วินิจฉัยแรกรับ hollow viscus organ perforation = อวัยวะภายในช่องท้องทะลุ
วินิฉัยโรคปัจจุบัน Prepyloric ulcer = กระเพาะอาหารบริเวณPylorusทะลุระยะเริ่มต้น
การผ่าตัด : Explor lap and simple suture with omental graft
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Amoxicillin 500mg 2cap หลังอาหาร เวลา 08.00น.และเวลา17.00
Clacina 500mg 1 tap หลังอาหาร เวลา 08.00น.และเวลา17.00น
omeprazole 20 mg 1capก่อนอาหาร เช้าและเย็นเวลา 07.00น.และ16.00น.
แบบแผนที่2 โภชนาการและเมตาบอลิซึม
สุขนิสัยในการรับปะทานอาหารขณะอยู่ที่บ้าน: รับประทานอาหารรสเผ็ด ครบทุกมื้อแต่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ
สุขนิสัยในการรับปะทานอาหารขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล:หลังผ่าตัด 3 วันผู้ป่วยเริ่มจิบน้ำได้ หลังผ่าตัด หลังผ่าตัด 5 วันผู้ป่วยเริ่มรับประทานอาการเหลวได้และหลังผ่าตัด 7 วันผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนได้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ปกติตามแผนการรักษา
ประเภทอาหารที่ชอบรับประทาน : อาหารรสเผ็ด
ปัญหาในการรับประทานอาหาร : รับประทานอาหารรสเผ็ด รับประทานอาหารไม่ตรงเวลาเนื่องจากต้องขับรถ
การประเมินสภาพ
น้ำหนักแรกรับ 60 กิโลกรัม
น้ำหนักปัจจุบัน 58 กิโลกรัม ส่วนสูง 165 เซนติเมตร
ดัชนีมวลกาย 22.04 กิโลกรัม/เมตร3 (อยู่ในเกณฑ์ปกติ)
อุณหภูมิร่างกาย 36.5 องศาเซลเซียส
ลักษณะผิวหนัง: ไม่ซีด ไม่แห้ง ไม่บวม กดไม่เจ็บ
เล็บ:เล็บมือและเล็บเท้าไม่ซีด Capillary refill 1 วินาที
คอ ต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทรอยด์ : ไม่บวมโต คลำไม่เจ็บ
แบบแผนที่4 กิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน : ตื่นนอน07.00น.เช้าอาบน้ำ ทำกิจวัตรประจำวัน 08.00น. รับประทานอาหารเช้า ไปทำงานขับรถ18ล้อขนส่งของ 13.00น.รับประทานอาหารเที่ยงบางวันก็14.00น.รับประทานอาหารเที่ยง ทำงานขับรถต่อ เวลา 20.00น.กลับบ้านรับประทานอาหารเย็นและอาน้ำเข้านอนเวลา22.00น.
ปัญหาในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย : ทำงานขับรถประจำทุกวันไม่มีเวลาออกกำลังกาย กลับถึงบ้านก็เหนื่อย
Prepyloric ulcer
ความหมาย
โรคแผลในกระเพาะอาหาร(gastric ulcer) หรือ แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น(duodenal ulcer)
จากกรณีศึกษาเกิดแผลที่บริเวณ pylorus
มีการทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะหรือลำไส้ส่วนต้น ต่อมาน้ำย่อยและน้ำกรดที่กระเพาะสร้างขึ้นจะย่อยทำลายซ้ำเพิ่มเติมบริเวณนั้นให้เป็นแผลใหญ่ขึ้น กลายเป็นแผลเรื้อรัง
Pathology
มักเกิดที่กระเพาะอาหารส่วน antrum ใกล้กับขอบด้านในของกระเพาะอาหาร (lesser curvature) เพาระบริเวณนี้มีเลือดมาเลี้ยงน้อย เยื่อบุเป็นอัตรายได้ง่าย
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ H.pylori และการรับประทานยากลุ่ม NSAID
จากกรณีศึกษา เกิดจากเชื้อHelicobacter pylori จากการสูบบุหรี่ปริมาณมากและ เป็นระยะเวลานานของผู้ป่วย
การสูบบุหรี่ทำให้ติดเชื้อ Helicobacter pylori ได้ง่าย ซึ่งเชื้อนี้เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีโอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นง่ายกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ เพราะสารเคมีในควันบุหรี่จะไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ และแผลก็หายยาก
เมื่อกระเพาะอาหารติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรขึ้นมา ทำให้การหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และเยื่อเมือกที่เคลือบกระเพาะอยู่เกิดความผิดปกติ กระเพาะต้องย่อยอาหารนานขึ้น ผิวกระเพาะอาหารจึงเกิดการอักเสบตามมาด้วย
ประเภท
Acute
ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงมาก่อน หรือมีการสั้นกว่า 3 เดือนและไม่พบแผลเป็นบริเวณรูทะลุ
จากกรณีศึกษา เป็นแผลและเกิดการอักเสบเยื่อบุกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลัน • ลักษณะที่พบ:mucosa บวมแดง อาจจะมีจุดเลือดออก และ อาจจะมีการหลุดลอกของ mucosa เป็นแผลตื้นๆ
Chronic
ผู้ป่วยมีอาการแสดงของโรคเกิน 3 เดือน หรือพบแผลเป็นบริเวณที่แผลทะลุ
พยาธิสภาพ
มีการทำลายเซลล์เยื่อบุ
ทำให้ Hydrogen ion ซึมผ่านเข้าเยื่อบุ
จึงมีการปล่อย Histamine กระตุ้นการหลั่งกรดและ pepsinogen
หลอดเลือดขยายตัวเพิ่มการซึมผ่านของผนังหลอดเลือด
เกิดวงจรการทำลายตัวเองขึ้นเรื่อยๆจนเกิดเป็นแผลทะลุ
มีการทำลายเซลล์เยื่อบุ
สาเหตุ
เกิดจากความเสียสมดุลระหว่าง ปริมาณกรดที่หลั่งในกระเพาะอาหาร กับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้
1.การติดเชื้อเอชไพโลไร(H.pylori)
การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ได้แก่ แอสไพริน และกลุ่มยาแก้ปวดข้อ (เช่น อินโดเมทาซิน, ไอบูโพรเฟน, นาโพรเซน ฯลฯ)
3.ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
การสูบบุหรี่
ผู้ที่มีเลือดกลุ่มโอ อาจเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นมากกว่าปกติ
ความเครียดทางอารมณ์
•แอลกอฮอล์
อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำส้ม น้ำผลไม้
กรรมพันธุ์
จากกรณีศึกษา เกิดจากผูัป่วยรับประทานอาหารรสเผ็ด รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา และมีการสูบบุหรี่ปริมารมาก 20 มวน/วันเป็นระยะเวลา 10 ปี ซึงทำให้กระเพาะอาหารเกิดการติดเชื้อHelicobacter pylori
อาการ
มีอาการปวดเสียดแน่นที่ใต้ลิ้นปี่เฉียบพลัน รุนแรง ขยับตัวแล้วปวดมากขึ้น
ปวดติดต่อกันนาน มักเป็นนานกว่า 6 ชั่วโมง ใช้ยาแก้ปวดไม่ได้ผล
อาจปวดร้าวไปที่หัวไหล่ข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
บางคนมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
อาจมีไข้ หนาวสั่น หน้ามืด
ชีพจรมากกว่า 120 ครั้ง/นาที
บางคนอาจช็อค เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำ
จากกรณีศึกษา ผู้ป่วยมีอาการปวดทั่วท้อง จุกใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับถ่ายเหลว 2 ครั้ง
การรักษา
ผ่าตัด
การผ่าตัดจะได้ผลดีเมื่อผ่าตัดภายใน 8 ชั่วโมง หากเกิน 12 ชั่วโมงผลการผ่าตัดจะไม่ดี
การผ่าตัดมีหลายวิธี จะขึ้นอยู่กับสภาพผู้ป่วย ระยะเวลาตั้งแต่ปวดจนมาถึงโรงพยาบาล และความเชี่ยวชาญของแพทย์
จากกรณีศึกษาเป็นการผ่าตัด Explor lap and simple suture with omental graft
การผ่าตัดเปิดช่องท้องขนาดเล็กปิดรอยทะลุอย่างง่ายๆ ด้วยแผ่นโอเมนตัมเป็นชั้นเยื่อบุช่องท้อง ในการรักษาผู้ป่วยที่มีแผลเปื่อยกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ
ไม่ผ่าตัด
ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงหากผ่าตัด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ผู้ป่วยมีอาการมากกว่า 12 ชั่วโมงและอาการไม่เป็นมากขึ้นซึ่งเชื่อว่าแผลทะลุหายเองได้ จะรักษาด้วยยา
Metronidazole
Amoxycillin
Tetracycline
การรักษาเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการปวดและรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบ โดยการให้ยาบรรเทอาการปวด ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร และยาปฏิชีวนะ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำส่วนมากเลือด
ภาวะโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กได้
แผลอาจกินลึกจนเป็นรูทะลุเรียกว่า แผลเพ็ปติกทะลุ (Peptic perforation)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.ติดเชื้อที่แผลผ่าตัดเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
ข้อมูลสนับสนุน
S:ผู้ป่วยบ่นปวดตึงแผลเวลาขยับตัวหลังผ่าตัดExplor lap and simple suture with omental graftวันที่ 11 เมษายน 2565ได้ 7 วัน
O:มีแผลเย็บจากการผ่าตัดเย็บแม็กบริเวณหน้าท้องยาว 10 เซนติเมตรแผลแห้งดี ไม่บวมแดง ไม่มีdischarge ซึมและแผลPanroes drainบริเวณท้องขวาด้านล่าง ยาว 3 เซนติเมตรแผลมีdischarge สีเหลืองใสซึมเล็กน้อย จากการผ่าตัด Explor lap and simple suture with omental graftวันที่ 11 เมษายน 2565
O:อุณหภูมิ 37.2 องศาเซลเซียส
จุดมุ่งหมาย
เพื่อลดการติดเชื้อของแผล
เกณฑ์การประเมิน
1.แผลไม่บวม แดง ไม่มีหนองและมีdischarge ซึมลดลง
2.อุณหภูมิอยู่ในช่วง 36.5ถึง37.4 องศาเซลเซียส
3.ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการมีค่าปกติ
การพยาบาล
2.ทำแผลโดยยึดหลักAseptic technique โดยทำแผลลแบบDry Dressingเช็ดทำความสะอาดแผลด้วย Normal saline แต่แผลPanroes drain ให้ใช้ถุงมือsterileในการshort drain และเช็ดทำความสะอาดแผลด้วย Normal saline จากนั้นปิดด้วยgauzeเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่บาดแผล
6.ดูแลให้ได้รับAmoxicillin 500mg 2cap หลังอาหาร เวลา 08.00น.และเวลา17.00นและClacina 500mg 1 tap หลังอาหาร เวลา 08.00น.และเวลา17.00นเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียนและป้องกันการติดเชื้อของแผล
3.วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงโดยเฉพาะอุณหภูมิและะดับความปวดของแผลเพื่อประเมินภาวะติดเชื้อของบาดแผล
5.จัดสิ่งแวดล้อมบริเวณเตียงและรอบๆเตียงรวมทั้งเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้สะอาดไม่ให้เปียกชื้นเพื่อป้องกันแผลโดนน้ำและป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
1.ประเมินบาดแผลและสังเกตบริเวณรอบแผลว่ามีการบวม แดง ร้อน รวมทั้งสีและปริมาณ Dischargeเพื่อเตรียมอุปกรณ์ในการทำแผลและประเมินชนิดของการทำแผล
4.สังเกตบาดแผลและDichargeเพื่อประเมินการติดเชื้อของบาดแผลและทำแผลใหม่เมื่อมีDichargeซึมมาก
การประเมินผล
แผลไม่บวมแดง ร้อน ไม่มีหนอง แผลมีDischargeสีเหลืองใสซึมเล็กน้อย อุณหภูมิ 36.5 องศาเซลเซียส
2.เกิดภาวะท้องอืดเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดจากข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัดของผู้ป่วย
ข้อมูลสนับสนุน
S:หลังจากรับประทานอาหารเหลวได้ผู้ป่วยบ่นว่า ยังไม่ถ่ายอุจจาระหลังรับประทานอาหารอ่อนได้ 2 วัน
O:ผู้ป่วยไม่ค่อยลุกเดิน นอนหรือนั่งข้างเตียง
O:Bowel sound 3ครั้ง/นาที
จุดมุ่งหมาย
เพื่อลดภาวะท้องอืด
เกณฑ์การประเมิน
2.Bowel sound อยู่ในช่วง4-5ครั้ง/นาที
3.ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะท้องอืด ได้แก่ท้องตึง คลื่นไส้อาเจียน เรอบ่อยๆ
1.ผู้ป่วยอุจจาระหลังได้รับประทานอาหารอ่อน
การพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับอาหารอ่อนตามแผนการรักษาหลังผ่าตัดได้ 7 วันเพื่อลดการทำงานของระบบทางเดินอาหารหลังผ่าตัด
5.ดูแลให้ได้รับยา omeprazole 20 mg 1capก่อนอาหาร เช้าและเย็นเวลา 07.00น.และ16.00น.เพื่อยับยั้งการหลั่งกรดเพิ่มในกระเพาะอาหาร
2.กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกเดินแทนการนั่งหรือนอนบนเตียงเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
3.ประเมินการทำงานของลำไส้โดนการฟัง Bowel sound ทุก4ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะท้องอืดและการทำงานของลำไส้
4.สังเกตอาการแสดงของภาวะท้องอืดได้แก่ ท้องตึง คลื่นไส้อาเจียน เรอบ่อยๆเพื่อประเมินอาการแสดงของภาวะท้องอืดและให้การพยาบาล
การประเมินผล
ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนได้ปกติ ไม่มีอาากรปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ขับถ่ายตามปกติวันละ 1 ครั้งหลังได้รับอาหารอ่อน ไม่ม่อาการแสดงของภาวะท้องอืด เช่น ท้องตึง คลื่นไส้อาเจียน เรอบ่อยๆ ฟัง Bowel sound 5 ครั้ง/นาที
3.ผู้ป่วยพร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวและดูแลตัวเองเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ยา และการดูแลรักษาแผลหลังกลับบ้าน
ข้อมูลสนับสนุน
S:ผู้ป่วยบอกว่ากลัวจะกลับมาเป็นซ้ำ ไม่รู้ว่าต้องรับประทานอาหารแบบไหน
S:ผู้ป่วยบอกว่าไม่รู้ว่าแผลห้ามโดนน้ำ
S:ผู้ป่วยบอกว่าไม่รู้ว่ายาที่กินคือยาอะไร
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเมื่อกลับไปบ้าน
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถบอกและปฏิบัติเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังกลับบ้านได้
การพยาบาล
D Diagnosis
แผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคกระเพาะอาหารคือการที่กรดและน้ำย่อย ที่หลั่งออกมาทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเผ็ด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์
อาการ
พบบ่อยที่สุดคือ ปวดท้อง หรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือท้องช่วงบน มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว หรือปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว
อาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
บางรายไม่ปวดท้อง แต่จะมีอาการอืดแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ ท้องอืดหลังกินอาหาร มีลมมาก ท้องร้องโครกคราก
อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยหลังอาหาร
M Medicine
Omeprazole คือยาในกลุ่ม PPIs หรือ Proton Pump Inhibitors ออกฤทธิ์ช่วยลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร นิยมใช้ในผู้ที่มีปัญหากรดเกิน มีการระคายเคืองหรือมีแผลในระบบทางเดินอาหาร เป็นยาที่ออกฤทธิ์นาน และให้ประสิทธิภาพทางการรักษาที่ดี1capก่อนอาหาร เช้าและเย็นเวลา 07.00น.และ16.00น. ผลข้างเคียง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน
Amoxicillin 500mg 2cap หลังอาหาร เวลา 08.00น.และเวลา17.00นและClacina 500mg 1 tap หลังอาหาร เวลา 08.00น.และเวลา17.00นเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียนและป้องกันการติดเชื้อของแผล ผลข้างเคียง
ปัสสาวะมีสีเข้ม
ปวดท้อง
ท้องเสียอย่างต่อเนื่อง
E Environment /Environment
พื้นที่ภายในบ้านควรสะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบเพื่อป้องการเกิดอุบัติเหตุขณะเดิน
T Treatment
กรณีที่แผลผ่าตัดยังไม่ตัดไหม หรือมีท่อระบายจากบาดแผลในช่วงแรก ระมัดระวังอย่าให้แผลถูกน้ำ ทำแผลตามแพทย์สั่งที่โรงพยาบาลหรือคลินิคใกล้บ้าน
กรณีที่แผลผ่าตัดปิดพลาสเตอร์กันน้ำ ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ แต่ไม่ควรฟอกสบู่หรือถูบริเวณบาดแผล เพราะจะทำให้พลาสเตอร์หลุด และน้ำซึมเข้าแผล
แผลผ่าตัดจะได้รับการตัดไหม หลังผ่าตัด 7-10 วัน และถูกน้ำได้หลังตัดไหม 2 วัน
กรณีแผลเปียกน้ำ ให้รีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือคลินิคใกล้บ้าน เพื่อทำความสะอาดบาดแผล และเปลี่ยนผ้าปิดแผลใหม่
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เมื่อยาหมด
H Health
รับประทานอาหารครบ 5 หมู่โดยเฉพาะโปรตีน ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ขับถ่ายให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะ ระวังอย่าให้ท้องผูก
เดินออกกำลังการแทนการนอนหรือนั่งอยู่กับที่เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง
ทำกิจวัตรประจาวันได้ตามปกติ ยกเว้นการยกของหนัก หลังผ่าตัด 1-3 เดือน
งดพฤติกรรมการสูบบุหรี่เพื่อลดการกลับมาเป็นซ้ำ
O Out patient
การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน
หากมีอาการผิดปกติต่อไปนี้ เช่น ปวดแผล มีไข้ แผลผ่าตัดบวมแดงร้อน มีน้ำเหลือง หรือหนองซึมจากแผล ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบมาพบแพทย์ก่อนนัด
โดยจะนัดมาตัดไหมหลังจากการผ่าตัด 7-10 วันและนัดมาตรวจหลังจากตัดไหมได้ 1 เดือน
D Diet
แบ่งรับประทานวันละ 4 – 6 มื้อ เพิ่มจำนวนมื้อ แต่ลดปริมาณในแต่ละมื้อลง ช่วยให้ย่อยอาหารได้สมบูรณ์ เพราะมีน้ำดีปริมาณจำกัด หลีกเลี่ยงอาหารมื้อดึก เพราะอาจทำให้จุกแน่นได้ อาหารเพื่อสุขภาพควรมีโปรตีนคุณภาพดีเพิ่มขึ้น เช่น ปลา ไข่ขาว เต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่ปราศจากไขมัน ควบคู่ไปกับผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟและชา อาหารที่มีรสเผ็ดมาก ๆ
รับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม แอปเปิ้ล ฝรั่ง องุ่น มะละกอ เพราะวิตามินซีเป็นตัวสร้างคอลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน
หลีกเลี่ยงการรบประทาน ของหมัก ของดองพราะของหมักดองนั้นมีเชื้อแบคทีเรีย จึงมีโอกาสทำให้แผลบริเวณที่ผ่าตัดเกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้อได้
การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการดูแลและการปฏิบัติตัวหลังกลับบ้านได้ถูกต้อง
สรุปกรณีศึกษา
ผู้ป่วยชายไทยวัยผู้ใหญ่ อายุ 50 ปีมาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดทั่วท้อง จุกใต้ลิ้นปี่ 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล แรกรับแพทย์วินิจฉัยเป็นhollow viscus organ perforation ได้รับการผ่าตัด Explor lap and simple suture with omental graftวันที่ 11 เมษายน 2565วินิจฉัยโรคปัจจุบันเป็นPrepyloric ulcerข้อวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยรายนี้มี3ข้อวินิจฉัยได้แก่
1.ติดเชื้อที่แผลผ่าตัดเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
2.เกิดภาวะท้องอืดเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดจากข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัดของผู้ป่วย
3.ผู้ป่วยพร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวและดูแลตัวเองเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ยา และการดูแลรักษาแผลหลังกลับบ้านหลังจากให้การพยาบาลแผลผู้ป่วยมีDischargeซึมลดลงและแผลไม่มีการติดเชื้อ ผู้ป่วยไม่มีภาวะท้องอืด และสมารถปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องหลังกลับบ้านได้