Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อนามัยโรงเรียน, นางสาวจุรีภรณ์ วันสูงเนิน 62110248, ผ - Coggle Diagram
อนามัยโรงเรียน
ขอบเขต และเป้าหมายของการอนามัยโรงเรียน
1.ป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อภายในโรงเรียน
2.การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมถูกลักษณะ
3.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพโดยทั่วไปเด็กจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอยู่เสมอ
4.การควบคุมโรคติดต่อโดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโดยการให้ภูมิคุ้มกันแก่เด็กในโรงเรียน
เป้าหมายของการอนามัยโรงเรียน
คือการจัดโครงการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียนจะครอบคลุมกิจกรรมทางด้านการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพการที่ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการจะทำให้เด็กได้รับการดูแลต่อเนื่องครอบคลุมทั้งร่างกายจิตใจและสังคมทำให้เด็กมีสุขภาพที่ดี
การบริการอนามัยโรงเรียน
องค์ประกอบของการให้บริการอนามัยโรงเรียน
1) บริการอนามัยโรงเรียน (School Health Service)
2) สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (Healthful School Living)
3) สุขศึกษาในโรงเรียน (School Health Education)
4) ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนบ้านและชุมชน (School
and Home Relationship)
วัตถุประสงค์ของการให้บริการอนามัยโรงเรียน
1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยของเด็กนักเรียนครูตลอดจนบุคลากรทุกคนในโรงเรียน
2.เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดี และทักษะในการดูแลสุขภาพแก่นักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน
3.เพื่อจัดและดำเนินการโครงการอนามัยโรงเรียนที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศแผนงานของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน
4.เป็นการให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นปฐมพยาบาลการป้องกันอุบัติเหตุภายในโรงเรียนตลอดจนแก้ไขเบื้องต้นเพื่อป้องกันความพิการต่างๆ
5.เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
6.เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนตลอดจนดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆอย่างเหมาะสม
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและกลวิธีในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการเพื่อให้ประชาชนเพิ่มความสามารถในการควบคุมและสร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัดสินใจและควบคุมสถานะการณ์และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองและผู้อื่น
องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
องค์ประกอบที่1 นโยบายของโรงเรียน
ข้อความที่กำหนดทิศทาง การดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
1) การกำหนดนโยบายส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
2) การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ
องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการในโรงเรียน
การจัดองค์กรและระบบบริหารงานเพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1)การจัดทำแผน/โครงการส่งเสริมสุขภาพ
2)การจัดองค์กรรองรับแผนงาน/โครงการส่งเสริมสุขภาพ
3)การนิเทศ/ติดตามและประเมินผล
องค์ประกอบที่ 3 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน
โครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างโรงเรียนผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชนวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนได้มีการดำเนินโครงการ
1) ร่วมวิเคราะห์สภาพและสาเหตุของปัญหา
2)ร่วมวางแผนโรงเรียนควรกระตุ้นจูงใจให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
3) ร่วมดำเนินการโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในแผน
4) ร่วมตรวจสอบทบทวนพัฒนาและปรับปรุงโดยประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
องค์ประกอบที่ 4 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ
การจัดการควบคุมดูแลปรับปรุงภาวะต่างๆและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียนรู้ส่งเสริมสุขภาพกาย จิตและสังคม
องค์ประกอบที่ 5 บริการอนามัยโรงเรียน
การที่โรงเรียนจัดให้มีบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคน องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักที่ต้องดำเนินการ
1)การตรวจสุขภาพนักเรียน
2)การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ
3)การจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
องค์ประกอบที่ 6 สุขศึกษาในโรงเรียน
การที่โรงเรียนจัดกิจกรรมสุขศึกษาทั้งในหลักสูตรการศึกษาและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
1) เพื่อให้เด็กนักเรียนและเยาวชนมีทักษะสุขภาพ (Health Skills) และทักษะชีวิต
2)เพื่อให้เด็กวัยเรียนและเยาวชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมติดตัวไปสู่วัยผู้ใหญ่
องค์ประกอบที่ 7 โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย
1) เพื่อให้มีการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการ
2)เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
3)เพื่อให้มีสถานที่รับประทานอาหาร ปรุงอาหารและจำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
องค์ประกอบนี้ประกอบด้วยการดำเนินงานที่สำคัญสองเรื่องได้แก่
1) โภชนาการในโรงเรียน
2) การสุขาภิบาลอาหาร
องค์ประกอบที่ 8 การออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ
การส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
1)การจัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการออกกำลังกายกีฬาและนันทนาการสำหรับนักเรียนบุคลากรในโรงเรียน
2) การพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย
องค์ประกอบที่ 9 การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
ระบบบริการให้คำปรึกษา แนะแนว และช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพกายสุขภาพจิตและภาวะเสี่ยงเพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาได้รับการช่วยเหลือจากระบบบริการของโรงเรียน
องค์ประกอบที่ 10 การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเป็นคนดีแต่สุขภาพของตนเองและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนในโรงเรียน
ประโยชน์ของการเข้าร่วมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1)โรงเรียนได้รับแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของคู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
2)นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ
3)ครู ผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชนจะได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดทักษะการดูแลสุขภาพอนามัย
4)ตัวชี้วัดของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งด้านผลผลิตและด้านกระบวนการ
5)โรงเรียนมีโอกาสได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากชุมชนและองค์กรต่างๆเพิ่มขึ้น
กลวิธีในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1 การชี้แนะ (Advocacy) เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารแก่สาธารณะชนเพื่อให้เกิดความตระหนักในสังคมเกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ
2 การสร้างหุ้นส่วนและภาคี (Partnerships and Alliances) เป็นการประสานความคิดและความร่วมมือระหว่างทุกหน่วยงาน
3 การสร้างเสริมความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น (Strengthening local capacity) เป็นการดำเนินการเพื่อศักยภาพให้ประชาชน
4 การวิจัย ติดตาม และประเมินผล (Research, monitoring and evaluation) ทุกหน่วยงาน
ความหมายของการอนามัยโรงเรียน
กิจกรรมหรือการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจการป้องกันการรักสาการแก้ไขปรับปรุงและการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลทุกคนในโรงเรียนให้มีสุขภาพดี ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยการเน้นการจัดกิจกรรมร่วมกันในสามลักษณะคือ การบริการสุขภาพ การสอนสุขศึกษา และการจัดสิ่งแวดล้อม
บทบาทหน้าที่พยาบาลในการให้บริการอนามัยโรงเรียน
1)บทบาทการเป็นผู้ดูแลโดยตรง (Direct care) ใน 4 มิติ
2) บทบาทเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในภายนอก
3)บทบาทเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยหรือสุขศึกษา (Health educator)
4)บทบาทด้านการดูแลรายกรณี (Case manager)
5)บทบาทเป็นที่ปรึกษา (Consultant) และข้อมูลแก่ผู้บริการโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง
6) บทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) พยาบาลอนามัยโรงเรียนเป็นผู้ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพแก่นักเรียน
7)บทบาทเป็นผู้วิจัย (Researcher) วิจัยเพื่อประเมินผลหรือการวิจัยเพื่อพัฒนางานและต่อยอดความรู้และพัฒนาทักษะในการปฏิบัติ
การให้บริการอนามัยโรงเรียนในสถานการณ์ต่างๆ
กิจกรรมบริการสุขภาพในโรงเรียนในเอกสารประกอบการสอนนี้ได้กำหนดให้นักศึกษาเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ฝึกปฏิบัติงานในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
การสร้างผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การประเมินภาวะการเจริญเติบโตของร่างกาย
การทดสอบสายตา
การทดสอบการได้ยินอย่างง่าย
การตรวจสุขภาพร่างกาย 10 ท่า
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
การประเมินภาวะสุขภาพ
การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหาร
สุขศึกษาในโรงเรียน
การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน
การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ต้องใช้ทฤษฎีการพยาบาลและกระบวนการพยาบาลเข้ามาใช้เพื่อดูแลสุขภาพทั้งในบุคคลครอบครัวและชุมชน
ผู้เขียนได้นำเอาทฤษฎีการพยาบาลของในติ่งเกล (Nightingale’s Theory) มาอธิบายนอกจากสอดคล้องกับการพยาบาลในโรงเรียนหรือการอนามัยโรงเรียน
ดังนั้นการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีของไนติงเกล จึงต้องคำนึงถึง บุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล
กระบวนการพยาบาล ประกอบด้วย
1)การประเมิน (Assessment) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection data)
การประเมิการประเมินภาวะสุขภาพ (Health Assessment) ประกอบด้วย
1) การประเมินภาวะโภชนาการ (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปลผลภาวะโภชนาการ)
2) การทดสอบสายตา
3) การทดสอบการได้ยินอย่างง่าย
4) การตรวจร่างกาย 10 ท่า
ประเมินสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารประกอบด้วย 10 เรื่องและมาตรฐาน 47 ตัวชี้วัดผลการประเมิน ผ่าน และ ไม่ผ่าน
2) วิเคราะห์ข้อมูล และวินิจฉัยปัญหา (Analyzing data and Diagnosis)
เมื่อได้ข้อมูลข้างต้นจากแบบสำรวจและบัตรบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน
นำมารวบรวมจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูลหาข้อมูลสนับสนุนเพื่อนำไปวินิจฉัยปัญหาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา
3) การวางแผนงาน (Planning)
เมื่อได้ปัญหาและสาเหตุของปัญหา
แล้วนํามาวางแผนงาน/โครงการเขียนโครงการแบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
แก้ไขปัญหาให้ตรงจุดโดยใช้กรอบการพยาบาล 4 มิติการส่งเสริมสุข ภาพการป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพโดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาพยาบาล
4)การดำเนินงานตามแผนงาน
เมื่อวางแผนงานและกำหนดกิจกรรมดำเนินการตามแผนงาน /โครงการที่เขียนไว้
5) การประเมินผลงาน/โครงการ (Evaluation)
1 more item...
สํารวจข้อมูลทั่วไป
1.ข้อมูลประเภทของโรงเรียน
2.ข้อมูลบุคลากรในโรงเรียน
3.ข้อมูลนักเรียน
นางสาวจุรีภรณ์ วันสูงเนิน 62110248
ผ