แนะนําให้ผู้ป่วยกลั้วปากและคอก่อน และทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งก่อนและหลัง รับประทานอาหาร
แนะนําให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ บ่อยครั้ง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยง อาหารที่มีกลิ่นแรง รสจัด อาหารที่มีไขมันมาก
จัดบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้ดูสดชื่น สะอาด น่ารับประทาน และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ป่วย
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย เช่น สมุนไพรน้ำมะนาว จะช่วยให้การรับรสดีขึ้น
ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ หรือได้น้อยมาก ควรแนะนําให้รับประทาน อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสารอาหารครบถ้วนร่วมด้วย เช่น เวย์โปรตีน
แนะนำผู้ป่วยรับประทานโปรตีนเพิ่ม โดยเพิ่มอาหารประเภท เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ สลับกัน 1 ส่วน อย่างน้อย 1 มื้อใน 1 วันเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ให้รับประทานอาหารช้าๆ ไม่รีบร้อน รับประทานอาหารจำนวนพอดี เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ เช่น ถั่ว หัวผักกาด (หัวไชเท้า) น้ำอัดลม เครื่องเทศ อาหารรสจัด เป็นต้น อาหารที่ย่อยยากประเภทไขมันหรืออาหารทอด หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง อมทอฟฟี่ และสูบบุหรี่ เพราะกลืนลมมากขึ้นอีกทั้งไม่ดื่มน้ำขณะกำลังรับประทานอาหาร ควรดื่มน้ำหลังอาหาร
หลังจากรับประทานอาหารแนะนำให้ผู้ป่วยนั่งเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
ชั่งน้ำหนัก 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อติดตามว่ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการ ของร่างกาย โดยสัดส่วนของสารอาหารให้พลังงานที่เหมาะสมของผู้ป่วย คือประมาณ 1,350 กิโลแคลอรี่/วัน
สังเกตการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาดสารอาหาร เช่น การติดเชื้อในระบบหายใจ แผลหายช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง และจิตใจหดหู่ เศร้า ซึม เป็นต้น เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาได้แก่ ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา ได้แก่ Ensure (1:1) 300mL 0 เช้า, เที่ยง, เย็น เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่