Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพ การดูแลและช่วยเหลือมารดาและทารกในระยะคลอดปกติ…
การประเมินภาวะสุขภาพ การดูแลและช่วยเหลือมารดาและทารกในระยะคลอดปกติ ในระยะที่ 1ของการคลอด
บทบาทพยาบาลในระยะของการคลอดพยาบาลควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.มีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยารู้เทคนิคของการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะเจ็บครรภ์จนถึงสิ้นสุดของการคอด
มีความสามารถและชำนาญในเทคนิคต่างๆที่ทำให้
มีการตัดสินใจที่ดีและมีความพร้อมในการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น
มีความสามารถในการค้นหาความถูกต้องของหญิงที่อยู่ในระยะคลอดและดูแลตามความต้องการนั้น
มีสัมพันธ์ภาพที่ดีมีความเห็นอกเห็นใจหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในระยะของการคลอด
การรับใหม่ผู้คลอด
การให้การต้อนรับ
ผู้ที่รับผู้คลอดจะต้องต้อนรับด้วยไมตรีจิต สุภาพ อ่อนโยนมารยาทเรียบร้อย มีความว่องไว กระฉับกระเฉง มั่นใจในตัวเอง เพื่อให้ผู้คลอดได้รับความอบอุ่นมีความมั่นใจในตัวเราและมองเห็นว่าเราช่วยเหลือเขาได้จริงจังและจริงใจคำพูดถูกต้องหนักแน่นมีเหตุผลต่อผู้คลอดและญาติ
การซักประวัติ
ประวัติจากอาการนำที่ผู้คลอดมาโรงพยาบาล
การเจ็บครรภ์(Labor pain)
ควรซักประวัติแยกให้ได้ว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริงหรือเจ็บครรภ์เตือนโดยการซักถามจากลักษณะการเจ็บครรภ์ความถี่และความรุนแรงของการเจ็บครรภ์นอกจากนี้ควรถามถึงเวลาที่เริ่มเจ็บจริงว่าเกิดเวลาใด
มูก (Show)
ถามว่ามีอะไรออกมาทางช่องคลอดหรือไม่ สิ่งที่ออกมาลักษณะอย่างไร จะได้ทั้งประวัติการมีมูกและน้ำเดินโดยถามว่ามีมูกหรือน้ำเดินเวลาใด ลักษณะเป็นอย่างไร ถ้ามีน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์นานเท่าใด น้ำคร่ำเปียกผ้าถุงกี่ผืน
น้ำคร่ำเปียกผ้าถุงกี่ผืนมีน้ำเดินหรือถุงน้ำแตก(Rupture of membranes)ถามว่ามีหรือไม่มี ถ้ามีเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ลักษณะเป็นอย่างไรจำนวนเท่าไหร่
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต
ประวัติการแท้งการขูดมดลูกผู้คลอดที่มีประวัติการแท้งและได้รับการขูดมดลูกหลายครั้งอาจทำให้รกเกาะแน่นกว่าปกติรวมทั้งการซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติอื่นๆเช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูกการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกเป็นต้น
ประวัติภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์เช่น ความดันโลหิตสูง บวม ชัก ตกเลือด ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวอาจเกิดขึ้นอีกในการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
ประวัติการคลอด
ประวัติการคลอดได้แก่ จำนวนครั้งการคลอด อายุครรภ์ขณะคลอด ชนิดของการคลอด
ประวัติของทารกได้แก่ เพศ น้ำหนักแรกเกิด ความพิการแต่กำเนิด ภาวะสุขภาพทารกแรกเกิดและภาวะสุขภาพทารกปัจจุบันและจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่
ประวัติความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆในระยะคลอดและหลังคลอดเช่น รกค้าง ตกเลือดขณะคลอด ตกเลือดหลังคลอด ประวัติการขูดมดลูกหลังคลอดเป็นต้น
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบันลำดับของการตั้งครรภ์อายุครรภ์ภาวะแทรกซ้อนหรืออาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์
ประวัติความเจ็บป่วยทางอายุรกรรม และศัลยกรรม ทั้งปัจจุบันและอดีต
มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคใดบ้างเริ่มมีเมื่อไหร่ได้รับการรักษาหรือไม่อย่างไรประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์การรักษาได้แก่โรคเรื้อรังต่างๆ
ประวัติการแพ้ยาและสารอาหารต่างๆการผ่าตัด
ซึ่งมีผลต่อการคลอดในครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มที่มีการได้รับการคอดทางช่องคลอดแต่แพ้ยากลุ่ม penicillinเป็นต้น
ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว
โรคหรือความผิดปกติที่ถ่ายทอดทาง 1000 ทุกกรัมเช่นครรภ์แฝด โรคเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคจิตเภท ความพิการแต่กำเนิด
ประวัติด้านจิตสังคม
ประสบการณ์การตั้งครรภ์และการคลอด
การวางแผนการตั้งครรภ์และการคลอด
ความรู้และเจตคติต่อการคลอด
ความกลัวและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดและทารกในครรภ์
ความคาดหวังต่อการคลอดความคาดหวังต่อเพศของบุตรความคาดหวังต่อการบริการของบุคลากรพยาบาล
สัมพันธภาพในครอบครัวและการช่วยเหลือสนับสนุนทางสังคม
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายทั่วไป
ลักษณะรูปร่างหาความสูงน้อยกว่า 145 เซนติเมตรอาจมีปัญหาเชิงกรานแคบถ้าเดินที่ผิดปกติอาจบอกถึงความผิดปกติบริเวณสะโพกและกระดูกสันหลังอาจเสี่ยงต่อการคลอดผิดปกติ
ลักษณะทั่วไปประเมินสภาพของผู้คลอดเช่นอาการซีดจากภาวะโลหิตจาง สัญญาณชีพความดันโลหิตอยู่ระดับ110-120/70-80 mmHg. ถ้าสูงมากกว่าหรือเท่ากับ140/90 mmHg.อาจมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ควรรายงานแพทย์ทราบ
อาการบวม น้ำหนักเพื่อประเมินภาวะบวมจากความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์หรือภาวะอ้วน พฤติกรรมการแสดงออกถึงความเจ็บปวดเป็นพฤติกรรมทางกายที่แสดงออกถึงความเจ็บปวดในระยะคลอดได้แก่ การหายใจเร็ว การเก่งกล้ามเนื้อ ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ ผลการตรวจพิเศษอื่นๆในขณะตั้งครรภ์ผลการตรวจพิเศษอื่นๆเช่นผลการตรวจขึ้นเสียงความถี่สูง
การตรวจร่างกายเฉพาะที่ เพื่อประเมินลักษณะของสภาวะของทารกได้แก่ขณะทารกทารกส่วนนำและการคาดคะเนน้ำหนักในทารก
การดู
ขนาดของท้อง ถ้าหน้าท้องมีขนาดใหญ่อาจมีการตั้งครรภ์แฝด
ลักษณะมดลูก
การเคลื่อนไหวของทารก
ลักษณะทั่วไปของทารก
การคลำ
เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของระดับยอดมดลูกกับอายุครรภ์ ส่วนนำทารก ระดับของส่วนน ถ้าและส่งของทารกการเข้าสู่เชิงกรานของส่วนนำทารก
การฟัง
ฟังเสียงหัวใจทารก อัตราการเต้นของหัวใจปกติ ตำแหน่งของเสียงหัวใจทารกเพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์
กิจกรรมการพยาบาล
มารดา
1.สามี/ญาติดูแล
2.พยาบาลอยู่เป็นเพื่อนเข้าใจถึงความต้องการของผู้คลอดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอด ผล PV ความก้าวหน้าของการคลอด บรรเทาอาการเจ็บครรภ์
4.จัดสิ่งแวดล้อมบริเวณผู้ป่วยนอนพักในห้องคลอดให้สะอาดและสวยงาม มีรูปภาพวิวทิวทัศน์หรือรูปภาพเด็กน่ารัก ประดับบริเวณผนังห้อง เพื่อความสดชื่นและลดความเบื่อหน่ายที่ต้องถูกจำกัดกิจกรรมอยู่นาน
เบี่ยงเบนความสนใจลดอาการปวดเช่นระยะปากมดลูกเปิด 1-4เซนติเมตรแนะนำให้เดิน พูดคุย อ่านหนังสือ ระยะปากมดลูกเปิด4-8 เซนติเมตรแนะนำให้จิตใจจดจ่อนับลมหายใจ ระยะปากมดลูกเปิด8-10 เซนติเมตรแนะนำให้หายใจลึกๆ
ประเมินความต้องการของผู้ป่วยก่อนเป็นการกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ถูนวดกระเบนเหน็บรูปที่หน้าท้อง (Effleurage)
ประคบเย็นประคบร้อน
การกดจุดเป็นการปรับพลังงานให้กลับสู่สมดุล
การสะกดจิตต้องทำก่อนคอดตอนห้าถึงหกเดือนเพื่อคล้อยตามและผ่อนคลาย
10.การหายใจ(breathing techniques)เป็นเทคนิคที่จะช่วยเพิ่มจำนวนออกซิเจนส่งเสริมให้เกิดการผ่อนคลายทำให้ความเจ็บปวดและความเครียดลดลง โดยเมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้เริ่มต้นด้วยการหายใจล้างปอด 1 ครั้ง โดยการหายใจเข้าทางจมูกลึกๆช้าๆแล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆเปิดปากเล็กน้อย
ทารก
FHS ต้องอยู่ในช่วง 110_160ครั้งต่อนาทีและต้องฟังช่วงมดลูกคลายตัว
ทารกมีภาวะเครียด
1.นอนตะเเคง
2.ให้ออกซิเจน 5L/min
3.รายงานแพทย์
4.ฟัง FHS บ่อยๆ หรือ On fetal heart rate monitoring
5.ให้ยาตามแผนการรักษา
6.ดูแลใกล้ชิด
7.เตรียมช่วยเเพทย์ในการคลอดทั้ N/Dและ C/S
การเตรียมผู้คลอด
ด้านจิตใจ
อธิบายให้ทราบเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ผลการตรวจต่างๆการดำเนินการคลอดและกระบวนการคลอด
อธิบายเกี่ยวกับการรับไว้เพื่อรอคลอดการแนะนำสถานที่และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการรอคอดการเยี่ยมและการติดต่อกับสามีและญาติสิทธิของผู้คลอด
เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
ด้านร่ายกาย
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกและฝีเย็บ
การสวนอุจจาระ
การทำความสะอาดร่างกาย
จัดให้พักผ่อนในห้องรอคลอดและดูแลอย่างใกล้ชิด
การป้องกันอันตรายต่อสุขภาพหญิงในระยะที่ 1 ของการคลอด
ความก้าวหน้าของการคลอดล่าช้า
Latent phase : G1 > 20 ชม.Gหลัง>14 ชม.
Active phase : G1 ~ 1.2 ซม./ชม.,Gหลัง~1.5 ซม./ชม.
ทารกอยู่ในภาวะเครียด(Fetal distress)
: FHS < 120, >160ครั้ง/นาที
ผู้คลอดอยู่ในภาวะอันตราย
Hypertonicity : D > 75 sec. หน้าท้องเป็นลอนสูง
Maternal exhaustion/distress
Emotional distress
การตรวจภายใน
สภาพปากมดลูกมีลักษณะนุ่ม หรือ แข็ง ยืดขยายได้ง่ายหรือยาก บวม การเปิดขยายของปากมดลูก ตำแหน่งของปากมดลูก การตรวจหา (position)
ความบางของปากมดลูก(Cervical effacemant)
ถ้าความหนาเหลือเพียง 0.2 - 0.3 เซนติเมตรcervical effacemant = 100%
ถ้าความหนาเหลือเพียง 0.5 เซนติเมตร cervical effacemant = 75%
ถ้าความหนาเหลือเพียง 1 เซนติเมตร cervical effacemant= 50%
ตรวจหาส่วนนำ
ดูว่าส่วนไหนเป็นส่วนน้ำศรีษะกลม เรียบ แข็ง
ischial spines แบ่งเป็น 3 ระดับคือ
High plan หมายถึงส่วนนำอยู่เหนือระดับของischial spines
Mid plane หมายถึงส่วนนำอยู่พอดีกับระดับของischial spines
Low plane หมายถึงส่วนนำอยู่ต่ำกว่าระดับของischial spines
ตรวจหาท่าของทารก(Position) และขม่อม (Fontanel)
เป็นการคลำจากการตรวจดู sagittal suture ขม่อมหลัง (Posteriorfontanel) หรือขม่อมหน้า (Anterior fontanel) ตำแหน่งของมันอยู่หน้าหรือหลัง ซึ่งจะช่วยบอกท่าของทารก
การตรวจดูสภาพของน้ำ (back of fore water)
1.Membrane intact (MI)ตรวจพบถุงน้ำโปร่งแข็งตึงคำสวนน้ำได้ยาก
2.Membrane leakage (ML) ตรวจพบถุงน้ำไม่ค่อยแข็งตึงอาจ คลำได้ส่วนนำสังเกตุเห็นน้ำคร่ำไหลออกมาเรื่อยเรื่อยขณะตรวจครรภ์ หรือเมื่อมดลูกหดรัดตัวหรือมีประวัติมีน้ำข้ามเดินออกมาก่อน
3.Membranerupture(MR)คำสวนน้ำได้เช่นเดียวกันแต่พบส่วนนำชัดเจนและตรวจพบปากมดลูกเปิดขยายหมดเป็นส่วนมากอาจพบบางครั้งขณะที่ปากมดลูกขยายไม่เต็มที่ได้เช่นเดียวกัน
ข้อห้ามในการตรวจภายใน
ผู้คลอดที่มีประวัติเลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ หรือกำลังมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุหรือรกเกาะต่ำทุกราย
ส่วนนำทารกยังไม่เข้าช่องเชิงกราน (Head float) ร่วมกับอายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนดคลอด(ยกเว้นในรายที่แพทย์ให้ตรวจ)
เมื่อมองเห็นศีรษะของทารกในครรภ์แล้ว
ในระยะที่มีการอักเสบมากบริเวณทวารหนักเช่นhemorrhoid,diarrhea(ควรตรวจเท่าที่จำเป็น)
5.กรณีที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด(Premature rupture of membrane) ควรตรวจเท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดการติดเชื้อ
การเตรียมผู้คลอดในการตรวจภายใน
บอกให้ทราบและอธิบายให้เข้าใจเพื่อให้เกิดการยอมรับและให้ความร่วมมือ
ให้ผู้คลอดถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจ
ควรรูดม่านและปิดประตูก่อนทุกครั้ง
จัดถ้าผู้คลอดให้อยู่ในท่านอนหงายฉันเขาทั้งสองข้างdorsal recumbent โดยให้นอนชิดริมเตียงมากที่สุด
คลุมผ้าให้ผู้คลอดให้เรียบร้อยโดยเปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเพื่อไม่เปิดเผยผู้คลอดมากจนเกินไป
ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก
การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
1.การประเมินโดยใช้เครื่องอิเล็กโทรนิก คือการใช้เครื่องelectronicfeto monitoring (EFM) ใช้ประเมินได้ทั้งการหดรัดตัวของมดลูก(uterine activity) และประเมินอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์
การประเมินโดยการวางฝ่ามือบนยอดมดลูก
ระยะเวลาการหดรัดตัวของมดลูก(duration)
ระยะห่างของการหดรัดตัวแต่ละครั้งของมดลูก(interval)
ความถี่ของการหดรัดตัวของมดลูก(frequeancy)
ความแรงของการหดรัดตัว(intensity)
การสั้นบางและเปิดขยายของปากมดลูก
เมื่อการคลอดก้าวหน้าขึ้นมดลูกมีการหดรัดตัวดีจะทำให้ปากมดลูกบางและเปิดขยายมากขึ้นตามลำดับจนปากมดลูกเปิดหมดคือ 10 เซนติเมตรและบางหมด 100% การเปิดขยายของปากมดลูกเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าการคลอดมีความก้าวหน้าหรือไม่ถ้าปากมดลูกไม่เปิดตามเกณฑ์ปกติควรรายงานแพทย์และให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
ทารกจะเคลื่อนต่ำลงและมีการหมุนของศีรษะภายในตามกลไกการคลอดปกติในระยะ latent phase ควรตรวจทุก 4 ชั่วโมงและตรวจเมื่อผู้คลอดเจ็บครรภ์ถี่มากขึ้นการดำเนินการคลอดที่ปกติกระดูกท้ายทอยจะค่อยๆหมุนขึ้นตามทางด้านหน้า (Anterior)ของเชิงกรานและรอยต่อแสกกลางจะคอยหมุนมาอยู่ในแนวหน้า หลัง (Anterior-posterior)ซึ่งผู้คลอดรายนี้ทารกมีส่วนนำลงในอุ้งเชิงกราน
ตำแหน่งที่ฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารก
เมื่อการคลอดก้าวหน้าทารกจะเคลื่อนต่ำลงมาและมีการหมุนภายในไปพร้อมๆกันซึ่งจะทำให้ตำแหน่งที่ฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้เลื่อนต่ำลงมาและเคลื่อนเข้ามาแนวกึ่งกลางลำตัวเมื่อส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมาถึงช่องออกเชิงกรานตำแหน่งที่ฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารกจะอยู่ที่บริเวณรอยต่อกระดูกหัวเหน่า (Symphysis pubis) ซึ่งแสดงว่าใกล้คลอด ปกติอัตราการเต้นหัวใจทารกอยู่ที่ 110-160 ครั้งต่อนาที และสม่ำเสมอ
มูก ถุงน้ำคร่ำ อาการผู้คลอด
การมีมูกออกมากขึ้นและลักษณะของเมฆเปลี่ยนจากหมูเป็นมูกเลือดหรือเลือดมากขึ้นแสดงว่ามดลูกเปิดเพิ่มขึ้นโดยออกประมาณ 50 cc
การแตกของถุงน้ำคล่ำในรายที่ไม่ได้เจาะถุงน้ำ ถุงน้ำจะแตกเองเมื่อปากมดลูกใกล้จะเปิดหมด ดังนั้นการมีถุงน้ำแตกจึงพอที่จะบอกได้ว่าการคลอดก้าวหน้าขึ้น
อาการแสดงของผู้คลอดเมื่อปากมดลูกเปิดมากขึ้นผู้คลอดจะกระสับกระส่ายมากขึ้นควบคุมตนเองไม่ได้และเจ็บปวดมากอาการเหล่านี้มักพบเมื่อมีการคลอดดำเนินดำเนินมาถึงระยะTransitional phase (ปากมดลูกเปิด 8-10ซม.)
หลักการประเมินภาวะแทรกซ้อน
ถุงน้ำข้ามแตกก่อนเจ็บครรภ์
สายสะดือย้อย
การคลอดยาวนาน การคลอดยาก
ความผิดปกติในการหดรัดตัวของมดลูก เช่น มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป(tetanic uterine contraction)ส่งผลให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและมดลูกแตกได้
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น